ประชาสัมพันธ์การบังคับใช้ประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยอาหารที่มีสารพิษตกค้าง (ฉบับที่ 4)
12 มิถุนายน 2567

           กองอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ขอเรียนประชาสัมพันธ์ว่า ขณะนี้ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 449) พ.ศ.2567 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 เรื่อง อาหารที่มีสารพิษตกค้าง (ฉบับที่ 4) ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเรียบร้อยแล้ว

arrow-1.png  วันที่ประกาศฯ มีผลบังคับใช้

           ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับดังกล่าวลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2567 ส่งผลให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน 2567 เป็นต้นไป 

arrow-1.png  สรุปหลักการและสาระสำคัญ

  1. เพิ่มเติมแนวทางการพิจารณาปริมาณสารพิษตกค้าง (MRL หรือ EMRL) ในอาหารแปรรูป ในกรณีที่ไม่มีค่ากำหนดของอาหารแปรรูปนั้นไว้เป็นการเฉพาะ
  2. เพิ่มเติมบทอาศัยอำนาจ ตามมาตรา 6(8) แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ให้อาหารที่มีวัตถุอันตรายทางการเกษตรชนิดที่ 4 เป็นอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย
  3. ปรับค่า MRL 1 รายการ และเพิ่มเติมค่า MRLs 8 รายการ เพื่อให้มีความสอดคล้องกับประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร : สารพิษตกค้าง:ปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุดตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2563
  4. ปรับแนวทางพิจารณาค่า EMRL โดยเพิ่มกรณีไม่มีค่ากำหนดตามบัญชีหมายเลข 4 ให้พบได้ไม่เกินค่า Codex EMRL
  5. ปรับแก้ไขรายละเอียดหัวตารางของบัญชีหมายเลข 5 แนบท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 419) พ.ศ. 2563 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง อาหารที่มีสารพิษตกค้าง (ฉบับที่ 3)

arrow-1.png  หลักการและสาระสำคัญของ ปสธ. (ฉบับที่ 449) อาหารที่มีสารพิษตกค้าง (ฉบับที่ 4) 

arrow-1.png  ตารางเปรียบเทียบ ปสธ. (ฉบับที่ 449) อาหารที่มีสารพิษตกค้าง (ฉบับที่ 4) ที่ปรับแก้ไข 

arrow-1.png  สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

กลุ่มกำหนดมาตรฐาน กองอาหาร 

โทรศัพท์ 02 590 7178 ในวันและเวลาราชการ

แท็กที่เกี่ยวข้อง