ความเป็นมา
1. ประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเรื่อง การใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติกในอาหาร กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติกในอาหาร รวมถึงการกล่าวอ้างทางสุขภาพสำหรับจุลินทรีย์โพรไบโอติกในอาหาร โดยปัจจุบันมีประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติกในอาหาร ลงวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554 และประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 346) พ.ศ. 2555 เรื่อง การใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติกในอาหาร (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ซึ่งมีข้อกำหนดโดยสรุป ดังนี้
1.1 กำหนดนิยามและขอบเขตสำหรับจุลินทรีย์โพรไบโอติกในอาหาร
1.2 กำหนดเงื่อนไขการใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติกในอาหาร โดยอาหารที่มีจุลินทรีย์โพรไบโอติกต้องได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
1.3 กำหนดให้ใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติกตามรายชื่อที่กำหนดไว้ในบัญชีแนบท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุขฯ โดยกรณีการใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติกอื่นนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าต้องส่งมอบหลักฐานแสดงผลการประเมินความปลอดภัย และคุณสมบัติการเป็นจุลินทรีย์โพรไบโอติก
1.4 กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกล่าวอ้างทางสุขภาพสำหรับจุลินทรีย์โพรไบโอติกในอาหาร
1.5 กำหนดการแสดงฉลากของอาหารที่มีจุลินทรีย์โพรไบโอติก
2. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เห็นควรปรับปรุงแก้ไขประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเรื่อง การใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติกในอาหาร เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการสากลและยกระดับมาตรการควบคุมความปลอดภัยของอาหารที่มีจุลินทรีย์โพรไบโอติก โดยมีหลักการพิจารณาการใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติกเป็นรายสายพันธุ์ (strain)
ในการนี้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดยกองอาหาร เห็นสมควรสอบถามข้อมูลเชิงเทคนิคจากผู้ผลิตและผู้นำเข้าอาหารเกี่ยวกับรายชื่อสายพันธุ์ (strain) จุลินทรีย์โพรไบโอติกเพื่อนำมาประกอบการทบทวนและเพิ่มเติมบัญชีแนบท้าย (ร่าง) ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฯ ให้มีความเหมาะสม ลดปัญหาที่เกิดขึ้นในทางปฏิบัติ ให้สามารถปฏิบัติได้บนพื้นฐานข้อมูลและข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ และครอบคลุมการใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติกในอาหารที่ยอมรับในปัจจุบัน
ขั้นตอนดำเนินการ
หมายเหตุ รายชื่อจุลินทรีย์โพรไบโอติกที่ผ่านการพิจารณาจะยังไม่มีผลในการอนุญาตจนกว่าประกาศกระทรวงสาธารณสุขฯจะมีการปรับแก้ไขแล้วเสร็จ
คำอธิบายแบบฟอร์มและการให้ข้อมูล
1. แบบฟอร์มการให้ข้อมูลรายชื่อจุลินทรีย์โพรไบโอติก ประกอบไปด้วย 2 ส่วน ได้แก่
-
-
- ส่วนที่ 1: ข้อมูลทั่วไปของจุลินทรีย์
- ส่วนที่ 2: ข้อมูลด้านความปลอดภัยและคุณสมบัติความเป็นโพรไบโอติก
-
โดยแบบฟอร์มจะแบ่งเป็น 2 กรณี ดังนี้
กรณีที่ 1 จุลินทรีย์ที่ต้องการให้ข้อมูล มี รายชื่อในบัญชี QPS (EFSA) ฉบับล่าสุด
|
กรณีที่ 2 จุลินทรีย์ที่ต้องการให้ข้อมูล ไม่มี รายชื่อในบัญชี QPS (EFSA) ฉบับล่าสุด
|
ตรวจสอบรายชื่อจุลินทรีย์ในบัญชี QPS (EFSA) ฉบับล่าสุด
แนวทางการจัดเตรียมข้อมูลประกอบการพิจารณาในแต่ละหัวข้อตามแบบฟอร์ม
2. ดาวน์โหลดและให้ข้อมูลตามแบบฟอร์ม (กรณีที่ 1 / กรณีที่ 2) ทั้งนี้ 1 แบบฟอร์มต่อรายชื่อจุลินทรีย์ 1 สายพันธุ์ (strain) เท่านั้น แล้วจัดทำสรุปข้อมูลทุกหัวข้อในแบบฟอร์มเป็นภาษาไทย พร้อมจัดส่งไฟล์เอกสารสนับสนุนทางอีเมล : food.publichearing@gmail.com
3. สามารถตรวจสอบสถานะของจุลินทรีย์ที่ให้ข้อมูล ดังนี้
คำอธิบายสถานะ :
-
- Accepted หมายถึง จุลินทรีย์โพรไบโอติกสายพันธุ์ (strain) นั้น มีข้อมูลครบถ้วนตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงสาธารณสุขฯ ซึ่งจะมีการนำเสนอเข้าสู่ขั้นตอนต่อไปของกระบวนการพิจารณา โดยสถานะ accepted นี้ ไม่มีผลในการอนุญาตและห้ามนำไปใช้อ้างอิง
- Awaiting evidence หมายถึง จุลินทรีย์โพรไบโอติกสายพันธุ์ (strain) นั้น รอเอกสารหลักฐานเพิ่มเติม
- Withdrawn หมายถึง ยกเลิกจุลินทรีย์โพรไบโอติกสายพันธุ์ (strain) นั้น ออกจากบัญชี หากไม่มีเอกสารหลักฐานด้านความปลอดภัยที่ครบถ้วนเพียงพอสำหรับนำเข้าสู่ขั้นตอนต่อไปของกระบวนการพิจารณา
ติดต่อสอบถาม
กลุ่มกำหนดมาตรฐาน กองอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
โทรศัพท์ 0 2590 7185, 0 2590 7179