ขอความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบของการปรับแก้ไขค่ามาตรฐานสารปนเปื้อนสูงสุด (ML) ที่ไม่ใช่โละหนักตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยมาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน
16 พฤศจิกายน 2566

1700191039383.jpg

วามเป็นมา

           สารปนเปื้อน (contaminants) หมายความว่า สารที่ปนเปื้อนกับอาหารโดยไม่ได้ตั้งใจเติมลงไปใน อาหาร แต่ปนเปื้อนโดยเป็นผลเนื่องจากความไม่ตั้งใจนะหว่างการผลิต การเตรียม การแปรรูป การบรรจุ การขนส่ง หรือการเก็บรักษา รวมทั้งการปนเปื้อนจากสิ่งแวดล้อม ซึ่งตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 414) พ.ศ. 2563 ออกตามความในพระราชบัญญัติ อาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน ได้กำหนดค่าปริมาณสูงสุดของสารปนเปื้อน (Maximum Level; ML) สำหรับสารปนเปื้อนทั้งกลุ่มโลหะหนักและไม่ใช่โลหะหนัก ได้แก่ แคดเมียม ดีบุก ตะกั่ว ปรอทและเมธิลเมอร์คิวรี่ สารหนูและสารหนูอนินทรีย์ แอฟลาทอกซิน ดีออกซีนิวาลีนอล ฟูโมนิซิน โอคราทอกซิน เอ พาทูลิน กรดไฮโดรไซยานิก ไซโคลโพรพีนอยแฟตตี้แอซิด ไวนิลคลอไรด์มอนอเมอร์ อะคริโลไนไตรล์ และ 3-เอ็มซีพีดี (3-MCPDs) รวมทั้งสารกัมมันตรังสี (Radionuclide)

กองอาหาร โดยกลุ่มกำหนดมาตรฐานอยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลเพื่อปรับแก้ไขค่ามาตรฐานสารปนเปื้อนสูงสุด (ML) สำหรับสารปนเปื้อนบางชนิดที่ไม่ใช่โลหะหนัก ได้แก่ แอฟลาทอกซิน (Aflatoxins) โอคราทอกซิน เอ (Ochratoxin A) และไกลโคอัลคาลอยด์ (Glycoalkaloids) ให้เป็นไปตามหลักการกำหนดค่า ML ของสารปนเปื้อน ของมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ (Codex) โดยพิจารณากำหนดตามความเสี่ยงในอาหารแต่ละชนิด และค่า ML ที่กำหนดต้องเป็นปริมาณต่ำที่สุดที่สามารถปฏิบัติได้จริง (As Low as Reasonably Achievable: ALARA) ซึ่งสามารถลดปริมาณการได้รับสัมผัสของสารปนเปื้อนนั้นสู่ร่างกายได้ โดยไม่ส่งผลให้ต้องทำลายสินค้ามากจนเกินความจำเป็น

 

การขอความคิดเห็นนี้เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ผลกระทบของการปรับแก้ไขค่าปริมาณสารปนเปื้อนสูงสุด (Maximum Level; ML) ของสารปนเปื้อน ได้แก่ (1) แอฟลาทอกซิน ในพริกแห้งและพริกป่น (2) ออคราทอกซิน ในผลิตภัณฑ์กาแฟ (3) ไกลโออัลคาลอยด์ ในมันฝรั่ง ตามหลักแนวปฏิบัติที่ดีในการออกกฎหมาย (Good Regulatory Practice; GRP) ด้วยการวิเคราะห์แบบพหุหลักเกณฑ์ หรือ Multi-criteria analysis (MCA) เพื่อให้การกำหนดมาตรการควบคุมปริมาณการปนเปื้อนมีความเหมาะสม หลีกเลี่ยงหรือลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นทั้งกับภาครัฐ เอกชน เกษตรกร รวมถึงผู้ประกอบการนำเข้าและผู้จำหน่าย โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการปรับแก้ไขค่า ML เปรียบเทียบกับทางเลือกอื่นๆ

คำอธิบายแบบฟอร์มและการให้ข้อมูล

1. แบบฟอร์มสำหรับการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบของการปรับค่ามาตรฐานสารปนเปื้อนสูงสุด (ML) มี 3 แบบฟอร์ม ได้แก่ 

(1) แบบฟอร์มสำหรับการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบของการปรับค่ามาตรฐานสารปนเปื้อนสูงสุด (ML) สำหรับแอฟลาทอกซินในพริกแห้งและพริกป่น

(2) แบบฟอร์มสำหรับการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบของการปรับค่ามาตรฐานสารปนเปื้อนสูงสุด (ML) สำหรับออคราทอกซินในผลิตภัณฑ์กาแฟ

(3) แบบฟอร์มสำหรับการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบของการปรับค่ามาตรฐานสารปนเปื้อนสูงสุด (ML) สำหรับไกลโออัลคาลอยด์ในมันฝรั่ง

โดยแต่ละแบบฟอร์มจะมีจะแบ่งออกเป็น 3 ทางเลือก ได้แก่

ทางเลือกที่ 1: คงสถานการณ์เดิม

ทางเลือกที่ 2: กำหนดค่าแนะนำ (GL)

ทางเลือกที่ 3: กำหนดค่าปริมาณสารปนเปื้อนสูงสุด (ML) และบังคับใช้ตามกฎหมาย

2. การประเมินผลกระทบของแต่ละทางเลือกประกอบด้วยเกณฑ์ 5 ด้าน โดยให้ผลรวมน้ำหนักของทุกเกณฑ์รวมกันเท่ากับ 100 ดังนี้

(1) ผลกระทบต่อผู้บริโภค สังคม และสิ่งแวดล้อม มีน้ำหนักคะแนน ร้อยละ 30

(2) ผลกระทบต่อผู้ประกอบการ (ทั้งผู้ผลิตอาหาร เกษตรกร ผู้นำเข้า และผู้จำหน่าย) มีน้ำหนักคะแนน ร้อยละ 30

(3) ผลกระทบเชิงเศรษฐกิจ การค้าทั้งในและระหว่างประเทศ (Market Access) มีน้ำหนักคะแนน ร้อยละ 20

(4) ความเพียงพอของข้อมูลสนับสนุน มีน้ำหนักคะแนน ร้อยละ 10

(5) ความพร้อมในการปฏิบัติตามข้อกำหนด มีน้ำหนักคะแนน ร้อยละ 10

3. ดาวน์โหลดและให้ข้อมูลตามแบบฟอร์ม แล้วจัดส่งไฟล์ทางอีเมล: food.publichearing@gmail.com หรือผ่าน google from  "ภายในวันที่ 29 ธันวาคม 2566"

(1) แบบฟอร์มสำหรับการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบของการปรับค่ามาตรฐานสารปนเปื้อนสูงสุด (ML) สำหรับแอฟลาทอกซินในพริกแห้งและพริกป่น

  docx-B.png pdf-B.png google-forms.png

(2) แบบฟอร์มสำหรับการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบของการปรับค่ามาตรฐานสารปนเปื้อนสูงสุด (ML) สำหรับออคราทอกซินในผลิตภัณฑ์กาแฟ  

  docx-B.png pdf-B.png google-forms.png

(3) แบบฟอร์มสำหรับการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบของการปรับค่ามาตรฐานสารปนเปื้อนสูงสุด (ML) สำหรับไกลโออัลคาลอยด์ในมันฝรั่ง

  docx-B.png pdf-B.png google-forms.png

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

กลุ่มกำหนดมาตรฐาน กองอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

โทรศัพท์ 0 2590 7173