อย
กองอาหาร

FOOD DIVISION
  • เว็บลิงก์
  • ติดต่อเรา
  • ร้องเรียน
  • คำถามที่พบบ่อย
EN
  • หน้าแรก
  • กฏหมายอาหาร
    • ข่าวสารด้านกฎหมายอาหาร
    • กฎหมายอาหารและกฎหมายลำดับรอง
      • พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522
      • กฎกระทรวงสาธารณสุข
      • ประกาศกระทรวงสาธารณสุข
      • ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
      • ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
      • คำสั่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
      • คำสั่งคณะกรรมการอาหาร
    • ผลิตภัณฑ์อาหาร
    • วัตถุเจือปนอาหาร
    • การใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติกในอาหาร
    • การแสดงฉลากอาหารและฉลากโภชนาการ
    • มาตรฐานอาหารด้านจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค
    • ภาชนะบรรจุ
    • มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน
    • มาตรฐานอาหารที่มีสารพิษ-ยาสัตว์ตกค้าง
    • อาหารจากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม
    • GMP (มาตรฐานระบบการผลิตอาหาร)
    • อาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย
    • เอกสารเผยแพร่ด้านกฎหมายอาหาร
  • บริการข้อมูลสำหรับผู้ประกอบการ
    • คู่มือสำหรับประชาชน
    • การยื่นขออนุญาตด้านอาหาร
    • หลักเกณฑ์ / ข้อกำหนด
    • ระบบ e-Submission
    • ระบบเลขเสมือน (FM,FG)
    • ระบบให้คำปรึกษาออนไลน์ (e-consult)
    • โปรแกรมสำหรับผู้ประกอบการ
    • หน่วยตรวจหรือหน่วยรับรองสถานที่ผลิตอาหาร
    • หน่วยตรวจวิเคราะห์อาหาร/ ภาชนะบรรจุอาหาร
    • หน่วยฝึกอบรมที่ขึ้นบัญชีกับ อย.
    • ข้อมูลการขออนุญาตผู้ประกอบการเศรษฐกิจฐานราก ให้ได้มาตรฐาน อย. และส่งออก
  • บริการข้อมูล
    • ตรวจสอบการอนุญาตผลิตภัณฑ์อาหาร
    • ข่าวสารด้านความปลอดภัยอาหาร
    • ผลิตภัณฑ์อาหารที่ผิดกฎหมาย และถูกถอนเลขสารบบ
    • ประกาศผลการตรวจพิสูจน์อาหาร
    • คู่มือ/สื่อเผยแพร่
    • คำถามที่พบบ่อย
    • ผู้เชี่ยวชาญ องค์กรผู้เชี่ยวชาญฯ ที่ขึ้นบัญชีกับ อย.
  • ประชาสัมพันธ์
    • ข่าวสารประชาสัมพันธ์
    • ข่าวสารด้านกฎหมายอาหาร
    • ข่าวสารด้านความปลอดภัยอาหาร
    • การอบรม / สัมมนา
    • รับสมัครงาน
    • ปฏิทินกิจกรรม
  • เกี่ยวกับกองอาหาร
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
    • โครงสร้างหน่วยงาน
    • สำหรับเจ้าหน้าที่
      • ความรู้ที่จำเป็นสำหรับพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ. อาหาร
      • ระบบ e-saraban
      • จองห้องประชุม
    • หน้าแรก
    • กฏหมายอาหาร
      • ข่าวสารด้านกฎหมายอาหาร
      • กฎหมายอาหารและกฎหมายลำดับรอง
        • พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522
        • กฎกระทรวงสาธารณสุข
        • ประกาศกระทรวงสาธารณสุข
        • ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
        • ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
        • คำสั่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
        • คำสั่งคณะกรรมการอาหาร
      • ผลิตภัณฑ์อาหาร
      • วัตถุเจือปนอาหาร
      • การใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติกในอาหาร
      • การแสดงฉลากอาหารและฉลากโภชนาการ
      • มาตรฐานอาหารด้านจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค
      • ภาชนะบรรจุ
      • มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน
      • มาตรฐานอาหารที่มีสารพิษ-ยาสัตว์ตกค้าง
      • อาหารจากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม
      • GMP (มาตรฐานระบบการผลิตอาหาร)
      • อาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย
      • เอกสารเผยแพร่ด้านกฎหมายอาหาร
    • บริการข้อมูลสำหรับผู้ประกอบการ
      • คู่มือสำหรับประชาชน
      • การยื่นขออนุญาตด้านอาหาร
      • หลักเกณฑ์ / ข้อกำหนด
      • ระบบ e-Submission
      • ระบบเลขเสมือน (FM,FG)
      • ระบบให้คำปรึกษาออนไลน์ (e-consult)
      • โปรแกรมสำหรับผู้ประกอบการ
      • หน่วยตรวจหรือหน่วยรับรองสถานที่ผลิตอาหาร
      • หน่วยตรวจวิเคราะห์อาหาร/ ภาชนะบรรจุอาหาร
      • หน่วยฝึกอบรมที่ขึ้นบัญชีกับ อย.
      • ข้อมูลการขออนุญาตผู้ประกอบการเศรษฐกิจฐานราก ให้ได้มาตรฐาน อย. และส่งออก
    • บริการข้อมูล
      • ตรวจสอบการอนุญาตผลิตภัณฑ์อาหาร
      • ข่าวสารด้านความปลอดภัยอาหาร
      • ผลิตภัณฑ์อาหารที่ผิดกฎหมาย และถูกถอนเลขสารบบ
      • ประกาศผลการตรวจพิสูจน์อาหาร
      • คู่มือ/สื่อเผยแพร่
      • คำถามที่พบบ่อย
      • ผู้เชี่ยวชาญ องค์กรผู้เชี่ยวชาญฯ ที่ขึ้นบัญชีกับ อย.
    • ประชาสัมพันธ์
      • ข่าวสารประชาสัมพันธ์
      • ข่าวสารด้านกฎหมายอาหาร
      • ข่าวสารด้านความปลอดภัยอาหาร
      • การอบรม / สัมมนา
      • รับสมัครงาน
      • ปฏิทินกิจกรรม
    • เกี่ยวกับกองอาหาร
      • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
      • โครงสร้างหน่วยงาน
      • สำหรับเจ้าหน้าที่
        • ความรู้ที่จำเป็นสำหรับพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ. อาหาร
        • ระบบ e-saraban
        • จองห้องประชุม
      • เว็บลิงก์
      • ติดต่อเรา
      • ร้องเรียน
      • คำถามที่พบบ่อย
      ภาษา
      EN
      image assembly
      การเข้าถึง
      close assembly
      • ขนาดตัวอักษร
        • ก
        • ก
        • ก
      • การเว้นระยะห่าง
        • icon space 1
        • icon space 2
        • icon space 3
      • ความตัดกันของสี
        • icon color 1สีปกติ
        • icon color 2ขาวดำ
        • icon color 3ดำ-เหลือง
      • หน้าแรก
      • Biosafety Clearing House
      • หน้าหลัก

      Biosafety Clearing House


      Biosafety Clearing House
      • หน้าหลัก
      • กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
      • ข้อตกลงและความตกลง
      • การขออนุญาตด้านอาหาร
      • หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
      • ประเด็นถาม - ตอบ

                   พิธีสารคาร์ตาเฮนาฯ มาตรา 20 ให้มีการจัดตั้งศูนย์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety Clearing House - BCH) เพื่อเป็นการช่วยเหลือประเทศภาคีในการดำเนินงานตามพิธีสารคาร์ตาเฮนาฯ และเอื้ออำนวย/เป็นกลไกในการเข้าถึงและการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารความปลอดภัยทางชีวภาพ (ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ วิชาการ สิ่งแวดล้อมกฎหมาย และประสบการณ์เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม) และการดำเนินการเกี่ยวกับ สิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม (Living Modified Organism; LMO) ระหว่างประเทศภาคีสมาชิก โดยประเทศไทยมีสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายใต้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นหน่วยประสานงานกลางแห่งชาติของพิธีสารคาร์ตาเฮนาฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมและการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารความปลอดภัยทางชีวภาพ และการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับ LMOs รวมทั้งสนับสนุนการสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนเผยแพร่ข้อมูลทั้งระหว่างหน่วยงานชำนาญการระดับประเทศ (Competent National Authorities) หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องภายในประเทศ ได้แก่ กรมวิชาการเกษตร กรมประมง กรมปศุสัตว์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเป็นศูนย์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารความปลอดภัยทางชีวภาพด้านอาหาร        
                 กลไกการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารความปลอดภัยทางชีวภาพ คือกลไกการแบ่งปันและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านความปลอดภัยทางชีวภาพซึ่งจัดทำขึ้นภายใต้พิธีสารคาร์ตาเฮนาว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ (Cartagena Protocol on Biosafety to Convention on Biological. Diversity) เพื่อเป็นการช่วยเหลือประเทศภาคีในการดำเนินงานและเอื้ออำนวยการแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (LMOs or GMOs)

         อาหารที่ได้จากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม (Genetically Modified Food) หมายความว่า
            (1) พืชสัตว์จุลินทรีย์ที่มีการตัดต่อตัดแต่งดัดแปรหรือเปลี่ยนแปลงสารพันธุกรรมหรือผสมผสานสารพันธุกรรมใหม่จากวิธีการใช้เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่และใช้บริโภคเป็นอาหาร
            (2) ผลิตภัณฑ์อาหารที่ใช้สิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมเป็นส่วนประกอบของอาหาร หรือผลิตจากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม
            (3) ผลิตผลจากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมที่ใช้เป็นส่วนประกอบของอาหาร หรือที่ใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหาร หรือที่ใช้เป็นสารอาหาร

         สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (Living Modified Oganisms: LMOs or Genetically Modified Organism: GMO)” หมายความว่า สิ่งมีชีวิตที่มีการปรับเปลี่ยนสารพันธุกรรมซึ่งได้จากการใช้เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่

         ความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety) หมายความว่า ความปลอดภัยต่อสุขภาพมนุษย์และต่อความหลากหลายทางชีวภาพอันอาจเกิดในการวิจัยและพัฒนา การเคลื่อนย้าย การจัดการและการใช้ประโยชน์สิ่งมีชีวิตที่ได้รับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงพันธุ์ โดยใช้เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรม (อ้างอิงจากระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. 2563)

         เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ (Modern Biotechnology) หมายความว่า
            (1) กระบวนการใช้เทคนิคกรดนิวคลีอิกในหลอดทดลอง (in vitro) หรือในสภาพของห้องปฏิบัติการ รวมถึงการตัดต่อสารพันธุกรรม หรือการใช้สารพันธุกรรมลูกผสม หรือการใส่กรดนิวคลีอิกเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของสารพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต ซึ่งข้ามขอบเขตของการผสมพันธุ์ตามธรรมชาติ และไม่ได้ใช้เทคนิคในการขยายพันธุ์หรือคัดเลือกพันธุ์แบบดั้งเดิม (ธรรมชาติ) หรือ
            (2) การรวมตัวกันของเซลล์ (fusion of cells) นอกวงศ์ (family) ทางอนุกรมวิธานซึ่งข้ามขอบเขตของการผสมพันธุ์ตามธรรมชาติ และไม่ได้ใช้เทคนิคในการขยายพันธุ์หรือคัดเลือกพันธุ์แบบดั้งเดิม (ธรรมชาติ)

         การประเมินความปลอดภัยทางชีวภาพด้านอาหาร” หมายถึง กระบวนการทบทวนเอกสาร (scientific peer review) เพื่อประเมินโอกาสที่จะเกิดความเป็นพิษต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์จากการบริโภคอาหารที่ผลิตโดยใช้เทคนิคทางเทคโนโลยีชีวภาพ ทั้งที่เข้าข่ายและไม่เข้าข่ายเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ (modern biotechnology)

         ความเป็นมา
            มาตรา 19 ของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (Convention on Biological Diversity: CBD) ขอให้พิจารณาถึงความจำเป็นที่จะต้องมีพิธีสารเพื่อกำหนดระเบียบวิธีการที่เหมาะสมในการขนย้าย การควบคุมดูแล และการใช้ประโยชน์จากสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม  (Living Modified Organisms: LMOs) ที่เป็นผลมาจากเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ หลังจากการเจรจาต่อรองเป็นเวลาหลายปี พิธีสารคาร์ตาเฮนาฯ ได้รับการรับรอง และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2546
            พิธีสารคาร์ตาเฮนาว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ เป็นเครื่องมือระหว่างประเทศที่มีพันธะผูกพัน (binding international instrument) มีลักษณะที่แยกส่วนแต่สัมพันธ์กับความตกลง อนุสัญญา และสนธิสัญญาระหว่างประเทศ ซึ่งลักษณะของการแยกส่วนนี้ ทำให้มีภาคีสิทธิ และข้อกำหนดเป็นของตัวเอง และต้องมีการเจรจา
      ลงนามให้สัตยาบันหรือภาคยานุวัติและมีผลบังคับใช้โดยเฉพาะในตัวเองเช่นกันโดยมีผลผูกพันเฉพาะกับประเทศที่เป็นภาคีเท่านั้น อย่างไรก็ตาม หากประเทศที่ไม่ได้เป็นภาคีมีการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับประเทศภาคี จะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในพิธีสารด้วย
            กลไกที่สนับสนุนการดำเนินงานตามพิธีสาร ได้แก่ การประชุมสมัชชาภาคีพิธีสารคาร์ตาเฮนาว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพตามอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (COP-MOP) โดยปกติจัดขึ้นทุกๆ 2 ปี คู่ขนานไปพร้อมกันกับการประชุมสมัชชาภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ

         วัตถุประสงค์
             กำหนดตามแนวทางระมัดระวังล่วงหน้า (precautionary approach) ตามที่ระบุไว้ในหลักการข้อ 15 ของปฏิญญาริโอ เดอจาเนโร สาธารณรัฐบราซิล ปี พ.ศ. 2535 ดังนี้

      • ให้มีระดับการป้องกันที่เพียงพอในการเคลื่อนย้าย ดูแล และใช้ประโยชน์สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมอันเนื่องมาจากเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ที่อาจมีผลกระทบต่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพที่ยั่งยืนให้เป็นไปอย่างปลอดภัย
      • คำนึงถึงความเสี่ยงต่อสุขอนามัยของมนุษย์
      • ให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับการเคลื่อนย้ายข้ามแดน (transboundary movement)

         สาระสำคัญ
            
      พิธีสารคาร์ตาเฮนาว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตที่ได้รับการดัดแปลงพันธุกรรม ประกอบด้วย 40 มาตรา แบ่งออกเป็นส่วนหลักๆ ได้ 9 ส่วน คือ วัตถุประสงค์ (objective), ขอบเขต (scope), วิธีการดำเนินการ, การประเมินความเสี่ยง (risk assessment) และการจัดการความเสี่ยง (risk management), ข้อมูลและสิ่งพึงปฏิบัติต่าง ๆ, การเสริมสร้างขีดความสามารถ, เรื่องทั่ว ๆ ไป,การกำหนดการบริหารต่าง ๆ และมาตราขมวดท้าย (final clause) รวมถึงข้อมูลที่ต้องระบุในการแจ้งภายใต้มาตรา 8,10 และ 13, ข้อมูลสำหรับสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่ได้รับการดัดแปลงทางพันธุกรรม ซึ่งมีเจตนาเพื่อนำมาใช้โดยตรงเป็นอาหาร อาหารสัตว์หรือในขบวนการผลิตภายใต้ มาตรา 11 และการประเมินความเสี่ยงภายใต้มาตรา 15
            พิธีสารให้ความสำคัญกับการควบคุมดูแลและการใช้ประโยชน์จากสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมที่อาจมีผลกระทบเสียหายต่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงความเสี่ยงต่อสุขภาพของมนุษย์และให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับการเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดน โดยพิธีสารอ้างอิง แนวทางระมัดระวังล่วงหน้า นอกจากนี้ ยังได้กำหนดระเบียบวิธีการสำหรับความตกลงที่ได้แจ้งล่วงหน้า (advance informed agreement – AIA) เพื่อให้หลักประกันว่าประเทศต่าง ๆ จะได้รับแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร และได้รับข้อมูลข่าวสารเพียงพอที่จะตัดสินใจก่อนให้ความเห็นชอบกับการนำเข้าสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม การนำสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมข้ามเขตแดนเพื่อใช้เป็นอาหาร อาหารสัตว์ หรือการผลิต/การแปรรูปใด ๆ นอกจากนี้ พิธีสารยังระบุถึงกลไกในการวิเคราะห์ประเมินความเสี่ยงและการจัดการความเสี่ยงจากสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม และกำหนดกรอบกฎหมายระหว่างประเทศที่รวมถึงมาตรการในการดูแลให้มีการตัดสินใจที่ได้รับแจ้งข้อมูล (informed decision) ก่อนที่จะมีการนำเข้าสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม

      ดาวน์โหลดพิธีสารคาร์ตาเฮนาว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ     icon-th.png   icon-en.png

      1
      แสดงผล รายการ
      อย
      กองอาหาร

      FOOD DIVISION

      สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา : 88/24 ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000

      จันทร์ – ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.30 น.

      • Website Policy
      • Privacy Policy
      • Disclaimer

      รองรับการทำงานบน Internet Explorer v9+, Firefox v.20+, Safari v.5+, Chrome v.25+, Opera v.10+

      Sitemap
      หน้าแรก
        กฎหมายอาหาร
        • ข่าวสารด้านกฎหมายอาหาร
        • กฎหมายอาหารและกฎหมายลำดับรอง
        • เอกสารเผยแพร่ด้านกฎหมายอาหาร
        คู่มือสำหรับประชาชน
        • สถานที่ติดต่อยื่นขออนุญาต
        • ระยะเวลาการพิจารณาอนุญาตแต่ละประเภทคำขอ
        บริการข้อมูล
        • ข้อมูลสำหรับผู้บริโภค
        • ข้อมูลสำหรับผู้ประกอบการ
        • คู่มือ / สื่อเผยแพร่
        • คำถามที่พบบ่อย
        ข่าวสารประชาสัมพันธ์
        • ข่าวสารการบริการ
        • ข่าวสารด้านกฎหมายอาหาร
        • ข่าวสารแจ้งเตือนผู้บริโภค
        • การอบรม / สัมมนา
        • รับสมัครงาน
        • ปฏิทินกิจกรรม
        เกี่ยวกับกองอาหาร
        • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
        • โครงสร้างหน่วยงาน
        สำหรับเจ้าหน้าที่
        • ความรู้ที่จำเป็นสำหรับพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ. อาหาร
        • ระบบ e-saraban
        • จองห้องประชุม

        ผู้ชมเว็บไซต์ :

        rss image ipv6 image w3c html image w3c css image
        • แบบสำรวจการให้บริการด้านข้อมูลเว็บไซต์
        • แบบสำรวจความพีงพอใจต่อเว็บไซต์
        Copyright 2020 | สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

        no-popup