กรณี "น้ำผึ้ง" และ "น้ำนมถั่วเหลืองในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท" ที่ผลิตเพื่อจำหน่ายโดยสถานที่ผลิตที่ไม่เข้าลักษณะเป็นโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน ซึ่งได้รับยกเว้นตามข้อ 8 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 211) พ.ศ.2543 เรื่อง น้ำผึ้ง และ ตามข้อ 11 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 198) พ.ศ.2543 เรื่อง น้ำนมถั่วเหลืองในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ตามลำดับ จึงไม่จัดเป็นอาหารกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน ในกรณีนี้ต้องขอรับเลขสารบบอาหารหรือไม่ และต้องปฏิบัติตามข้อกำหนด GMP 420 หรือไม่
26 มิถุนายน 2566

ตอบ 

  • ข้อให้พิจารณาเงื่อนไขการบังคับใช้ GMP กฎหมาย และเงื่อนไขการขอรับเลขสารบบอาหาร แยกจากกันเนื่องจากอ้างอิงประกาศและระเบียบคนละฉบับ และมีแนวทางการพิจารณาด้วยเงื่อนไขที่แตกต่างกัน เพื่อลดความสับสนของการบังคับใช้กฎหมาย
  • สำหรับการพิจารณากรณี "น้ำผึ้ง" และ "น้ำนมถั่วเหลืองในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท" ต้องขอรับเลขสารบบอาหารหรือไม่ ให้พิจารณาตามประกาศที่เกี่ยวข้อง สรุปได้ดังผังตัดสินใจตามภาพที่ 2

    gmp-18.jpg

ภาพที่ 2 ผังการตัดสินใจประเภทอาหาร ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องและเงื่อนไขการขอรับเลขสารบบอาหารของ "น้ำผึ้ง" และ "น้ำนมถั่วเหลืองในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท"

  • สำหรับการพิจารณากรณี "น้ำผึ้ง" และ "น้ำนมถั่วเหลืองในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท" ต้องปฏิบัติตาม GMP 420 ให้พิจารณาตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 420) พ.ศ. 2563 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 โดยใช้แนวทางการพิจารณาดังภาพที่ 1

 

link.png   การบังคับใช้ GMP กฎหมาย