อย
กองอาหาร

FOOD DIVISION
  • เว็บลิงก์
  • ติดต่อเรา
  • ร้องเรียน
  • คำถามที่พบบ่อย
EN
  • หน้าแรก
  • กฏหมายอาหาร
    • ข่าวสารด้านกฎหมายอาหาร
    • กฎหมายอาหารและกฎหมายลำดับรอง
      • พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522
      • กฎกระทรวงสาธารณสุข
      • ประกาศกระทรวงสาธารณสุข
      • ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
      • ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
      • คำสั่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
      • คำสั่งคณะกรรมการอาหาร
    • ผลิตภัณฑ์อาหาร
    • วัตถุเจือปนอาหาร
    • การใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติกในอาหาร
    • การแสดงฉลากอาหารและฉลากโภชนาการ
    • มาตรฐานอาหารด้านจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค
    • ภาชนะบรรจุ
    • มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน
    • มาตรฐานอาหารที่มีสารพิษ-ยาสัตว์ตกค้าง
    • อาหารจากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม
    • GMP (มาตรฐานระบบการผลิตอาหาร)
    • อาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย
    • เอกสารเผยแพร่ด้านกฎหมายอาหาร
  • บริการข้อมูลสำหรับผู้ประกอบการ
    • คู่มือสำหรับประชาชน
    • การยื่นขออนุญาตด้านอาหาร
    • หลักเกณฑ์ / ข้อกำหนด
    • ระบบ e-Submission
    • ระบบเลขเสมือน (FM,FG)
    • ระบบให้คำปรึกษาออนไลน์ (e-consult)
    • โปรแกรมสำหรับผู้ประกอบการ
    • หน่วยตรวจหรือหน่วยรับรองสถานที่ผลิตอาหาร
    • หน่วยตรวจวิเคราะห์อาหาร/ ภาชนะบรรจุอาหาร
    • หน่วยฝึกอบรมที่ขึ้นบัญชีกับ อย.
    • ข้อมูลการขออนุญาตผู้ประกอบการเศรษฐกิจฐานราก ให้ได้มาตรฐาน อย. และส่งออก
  • บริการข้อมูล
    • ตรวจสอบการอนุญาตผลิตภัณฑ์อาหาร
    • ข่าวสารด้านความปลอดภัยอาหาร
    • ผลิตภัณฑ์อาหารที่ผิดกฎหมาย และถูกถอนเลขสารบบ
    • ประกาศผลการตรวจพิสูจน์อาหาร
    • คู่มือ/สื่อเผยแพร่
    • คำถามที่พบบ่อย
    • ผู้เชี่ยวชาญ องค์กรผู้เชี่ยวชาญฯ ที่ขึ้นบัญชีกับ อย.
  • ประชาสัมพันธ์
    • ข่าวสารประชาสัมพันธ์
    • ข่าวสารด้านกฎหมายอาหาร
    • ข่าวสารด้านความปลอดภัยอาหาร
    • การอบรม / สัมมนา
    • รับสมัครงาน
    • ปฏิทินกิจกรรม
  • เกี่ยวกับกองอาหาร
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
    • โครงสร้างหน่วยงาน
    • สำหรับเจ้าหน้าที่
      • ความรู้ที่จำเป็นสำหรับพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ. อาหาร
      • ระบบ e-saraban
      • จองห้องประชุม
    • หน้าแรก
    • กฏหมายอาหาร
      • ข่าวสารด้านกฎหมายอาหาร
      • กฎหมายอาหารและกฎหมายลำดับรอง
        • พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522
        • กฎกระทรวงสาธารณสุข
        • ประกาศกระทรวงสาธารณสุข
        • ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
        • ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
        • คำสั่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
        • คำสั่งคณะกรรมการอาหาร
      • ผลิตภัณฑ์อาหาร
      • วัตถุเจือปนอาหาร
      • การใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติกในอาหาร
      • การแสดงฉลากอาหารและฉลากโภชนาการ
      • มาตรฐานอาหารด้านจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค
      • ภาชนะบรรจุ
      • มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน
      • มาตรฐานอาหารที่มีสารพิษ-ยาสัตว์ตกค้าง
      • อาหารจากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม
      • GMP (มาตรฐานระบบการผลิตอาหาร)
      • อาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย
      • เอกสารเผยแพร่ด้านกฎหมายอาหาร
    • บริการข้อมูลสำหรับผู้ประกอบการ
      • คู่มือสำหรับประชาชน
      • การยื่นขออนุญาตด้านอาหาร
      • หลักเกณฑ์ / ข้อกำหนด
      • ระบบ e-Submission
      • ระบบเลขเสมือน (FM,FG)
      • ระบบให้คำปรึกษาออนไลน์ (e-consult)
      • โปรแกรมสำหรับผู้ประกอบการ
      • หน่วยตรวจหรือหน่วยรับรองสถานที่ผลิตอาหาร
      • หน่วยตรวจวิเคราะห์อาหาร/ ภาชนะบรรจุอาหาร
      • หน่วยฝึกอบรมที่ขึ้นบัญชีกับ อย.
      • ข้อมูลการขออนุญาตผู้ประกอบการเศรษฐกิจฐานราก ให้ได้มาตรฐาน อย. และส่งออก
    • บริการข้อมูล
      • ตรวจสอบการอนุญาตผลิตภัณฑ์อาหาร
      • ข่าวสารด้านความปลอดภัยอาหาร
      • ผลิตภัณฑ์อาหารที่ผิดกฎหมาย และถูกถอนเลขสารบบ
      • ประกาศผลการตรวจพิสูจน์อาหาร
      • คู่มือ/สื่อเผยแพร่
      • คำถามที่พบบ่อย
      • ผู้เชี่ยวชาญ องค์กรผู้เชี่ยวชาญฯ ที่ขึ้นบัญชีกับ อย.
    • ประชาสัมพันธ์
      • ข่าวสารประชาสัมพันธ์
      • ข่าวสารด้านกฎหมายอาหาร
      • ข่าวสารด้านความปลอดภัยอาหาร
      • การอบรม / สัมมนา
      • รับสมัครงาน
      • ปฏิทินกิจกรรม
    • เกี่ยวกับกองอาหาร
      • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
      • โครงสร้างหน่วยงาน
      • สำหรับเจ้าหน้าที่
        • ความรู้ที่จำเป็นสำหรับพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ. อาหาร
        • ระบบ e-saraban
        • จองห้องประชุม
      • เว็บลิงก์
      • ติดต่อเรา
      • ร้องเรียน
      • คำถามที่พบบ่อย
      ภาษา
      EN
      image assembly
      การเข้าถึง
      close assembly
      • ขนาดตัวอักษร
        • ก
        • ก
        • ก
      • การเว้นระยะห่าง
        • icon space 1
        • icon space 2
        • icon space 3
      • ความตัดกันของสี
        • icon color 1สีปกติ
        • icon color 2ขาวดำ
        • icon color 3ดำ-เหลือง
      banner

      คำถามที่พบบ่อย

      • หน้าแรก
      • คำถามที่พบบ่อย
      • กระบวนการผลิตอาหาร
      • การบังคับใช้ GMP กฎหมาย

      คำถามที่พบบ่อย


      คำถามที่พบบ่อย
      • การขออนุญาตด้านอาหาร
      • ระบบ e-submission
        • ระบบ e-Submission อาหาร (สำหรับผู้ประกอบการ)
      • การจัดประเภทอาหาร
      • กระบวนการผลิตอาหาร
        • หน่วยตรวจสอบและหน่วยรับรองสถานประกอบการอาหาร
        • การบังคับใช้ GMP กฎหมาย
        • GMP 420 สำหรับผู้ผลิตรายย่อยไม่ยากอย่างที่คิด
        • ผู้ควบคุมการผลิตน้ำฯ
      • ผลิตภัณฑ์อาหาร
        • ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนประกอบของกัญชา/กัญชง
          • สถานที่ผลิตอาหาร
          • ผลิตภัณฑ์อาหาร
          • โฆษณา
          • ฉบับประชาชน
        • ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนประกอบของพืชกระท่อม
        • เกลือบริโภคและผลิตภัณฑ์ปรุงรสที่เสริมไอโอดีน
        • ช็อกโกแลตและผลิตภัณฑ์ช็อกโกแลต
        • ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเมล็ดโกโก้
      • วัตถุเจือปนอาหาร
      • สารปนเปื้อน
        • มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน
      • จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค
        • การตรวจวิเคราะห์จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค ตาม ปสธ. (ฉบับที่ 416)
      • อาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย
        • ไขมันทรานส์ ตาม ปสธ. (ฉบับที่ 388)
      • อาหารที่ได้จากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม
        • อาหารที่ได้จากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมและการแสดงฉลาก
      • การแสดงฉลาก
        • การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ
        • การแสดงฉลาก GDA
        • ฉลากโภชนาการ
        • ทำฉลากอาหารอย่างไรไม่ให้ถูกดำเนินคดี
      • การโฆษณาอาหาร
        • โฆษณาอาหาร แต่ไม่อยากถูกจับ ทำอย่างไร
      • การยื่นประเมินความปลอดภัย
        • การยื่นประเมินความปลอดภัยอาหาร

      ตอบ การที่ อย. ได้นำหลักเกณฑ์ GMP Codex มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย และประกาศเป็นมาตรฐานบังคับใช้ตามกฎหมาย ให้ผู้ผลิตนำไปปฏิบัติและพัฒนาสถานที่ผลิตให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด มีเป้าหมายเพื่อยกระดับการคุ้มครองผู้บริโภคให้ทัดเทียมสากล โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 6(7) แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วย วิธีการผลิต เครื่องมือ เครื่องใช้ในการผลิตและการเก็บรักษาอาหาร เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2543 โดยบังคับใช้กับอาหาร 57 ประเภทที่มีความพร้อมก่อน และต่อมาได้มีการประกาศบังคับใช้เพิ่มเติมกับอาหารอีกหลายประเภทเพื่อยกระดับมาตรฐานการผลิตและแก้ไขปัญหาความไม่ปลอดภัยของอาหารอีกหลายฉบับ ทำให้สถานที่ผลิตที่มีการผลิตอาหารหลายประเภท ต้องปฏิบัติตามเกณฑ์การบังคับใช้ที่แตกต่างกันในบางประเด็นทั้งที่อยู่ในหมวดข้อกำหนดเดียวกัน นอกจากนี้การใช้บันทึกการตรวจประเมินหลายฉบับทำให้เจ้าหน้าที่มีข้อจำกัดในการจัดทำบันทึกการตรวจประเมิน ดังนั้น อย. จึงได้ปรับปรุงข้อกำหนดตามหลักเกณฑ์ GMP ให้เป็นฉบับเดียวที่สามารถใช้ประเมินอาหารได้ทุกประเภทตามความเสี่ยงของอาหารที่ผลิต เพื่อลดความซ้ำซ้อนของการใช้บันทึกการตรวจประเมิน พร้อมกับปรับปรุงและเพิ่มเติมข้อกำหนดเพื่อยกระดับมาตรฐานให้สามารถลดปัญหาด้านคุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อาหารที่ผลิต และยกระดับการกำกับดูแลอาหารเชิงระบบเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และทัดเทียมข้อกำหนดสากล

       

      link.png   การบังคับใช้ GMP กฎหมาย

      ตอบ 

      • GMP 420 ได้ปรับปรุงข้อกำหนด GMP อาหาร จำนวน 5 ฉบับ ได้แก่ GMP 193,  GMP 220, GMP 298, GMP 342 และ GMP 349 โดยจัดทำเป็นข้อกำหนด GMP ฉบับเดียวที่สามารถใช้ประเมินอาหารได้ทุกประเภทตามความเสี่ยงของอาหารที่ผลิต เพื่อลดความซ้ำซ้อนของการใช้บันทึกการตรวจ และปรับปรุงข้อกำหนดบางข้อให้มีความเท่าเทียมเป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยแบ่งข้อกำหนดออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 กำหนดเป็น"ข้อกำหนดพื้นฐาน" ซึ่งจะนำข้อกำหนดที่ผู้ผลิตอาหารทุกประเภทต้องนำไปปฏิบัติทุกแห่งไว้ด้วยกัน และส่วนที่ 2 กำหนดเป็น "ข้อกำหนดเฉพาะ" ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่ต้องนำไปปฏิบัติเฉพาะสำหรับการผลิตอาหารบางประเภทที่มีความเสี่ยงในระบบการผลิต โดยมีประเด็นที่ปรับเปลี่ยนสรุปในภาพรวมดังนี้
      ข้อกำหนดพื้นฐาน ข้อกำหนดเฉพาะ
      (ปรับปรุงจาก GMP193 และ GMP342) (ปรับปรุงมาจาก GMP 220, GMP 298, และ GMP 349)
      1. จัดหมวดข้อกำหนดให้กระชับ ชัดเจน แต่ยังคงมีข้อกำหนดครบถ้วนที่สำคัญไม่ต่างไปจากเดิม
      2. เพิ่มความชัดเจนของข้อกำหนด เพื่อลดปัญหาผลิตภัณฑ์ไม่ได้มาตรฐาน
      3. เพิ่มข้อกำหนด เพื่อยกระดับการกำกับดูแลอาหารเชิงระบบเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และทัดเทียมสากล สอดคล้องตามมาตรฐาน Codex ฉบับปัจจุบัน (CXC1-1969 Revised in 2020)
      4. ขยายขอบข่ายการบังคับใช้คลอบคลุมอาหารทั่วไปที่มิได้บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่าย
      1. กำหนดให้ต้องมีผู้ควบคุมการผลิตน้ำบริโภคฯ น้ำแร่ธรรมชาติ น้ำแข็งบริโภค เช่นเดียวกับผู้ควบคุมการผลิตนมพาสเจอไรซ์ และผู้ผลิตอาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทชนิดที่มีความเป็นกรดต่ำและชนิดปรับกรด
      2. ปรับวิธีตรวจประเมินเป็น 2 ระดับ คือ ผ่าน และไม่ผ่าน
      3. ปรับลดขอบข่ายการบังคับใช้ข้อกำหนดเฉพาะผลิตภัณฑ์นมพาสเจอไรซ์ ไม่บังคับใช้กับนมเปรี้ยว
      4. ปรับข้อกำหนดรองรับการผลิตอาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทชนิดที่มีความเป็นกรดต่ำ โดยใช้กรรมวิธีควบคุมค่าวอเตอร์แอคติวิตีเพื่อยับยั้งการงอกของสปอร์เชื้อคอสตริเดียม โบทูลินั่ม

       

      link.png   การบังคับใช้ GMP กฎหมาย

      ตอบ จากมติของคณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดคุณภาพ มาตรฐาน และหลักเกณฑ์วิธีการ เงื่อนไข และมาตรการในการกำกับดูแลอาหารตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 (อ.2) ครั้งที่ 6-2/2563 วันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม 2563  เห็นว่าประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 386 พ.ศ.2560 เรื่อง กำหนดวิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาผักหรือผลไม้สดบางชนิดและการแสดงฉลาก เพิ่งบังคับใช้เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2562 จึงเห็นควรคงประกาศนี้ไว้ก่อนโดยไม่นำมารวม หากมีข้อขัดข้องหรือแก้ไขในทางปฏิบัติ จะดำเนินการปรับปรุงในโอกาสต่อไป 

       

      link.png   การบังคับใช้ GMP กฎหมาย

      ตอบ

        • ข้อกำหนดพื้นฐาน ของ GMP 420 มีข้อกำหนดสำคัญที่ปรับปรุง ดังนี้

                       (1) จัดหมวดข้อกำหนดให้กระชับ และชัดเจน ในการตรวจประเมิน แต่ยังคงมีข้อกำหนดครบถ้วน ที่สำคัญไม่ต่างไปจากเดิม ดังนี้

               หมวดที่ 1 สถานที่ตั้ง อาคารผลิต การทำความสะอาด และการบำรุงรักษา

      หมวดที่ 2 เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์การผลิต การทำความสะอาดและการบำรุงรักษา

      หมวดที่ 3 การควบคุมกระบวนการผลิต

      หมวดที่ 4 การสุขาภิบาล

      หมวดที่ 5 สุขลักษณะส่วนบุคคล

                       โดยนำเนื้อหาของหมวดการบำรุงรักษาและการทำความสะอาด ไปรวมกับ หมวด 1 สถานที่ตั้งฯ และ หมวด 2 เครื่องมือฯ และนำเนื้อหาของข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดการสารเคมี และอุปกรณ์ในการบำรุงรักษา/ทำความสะอาด ไปรวมกับหมวด 4  การสุขาภิบาล

                       (2) เพิ่มความชัดเจนของข้อกำหนด เพื่อลดปัญหาผลิตภัณฑ์อาหารไม่ได้มาตรฐาน ได้แก่

      ข้อ 1.8 จัดให้มีห้องบรรจุ หรือมีมาตรการจัดการพื้นที่บรรจุ เพื่อป้องกันการปนเปื้อนซ้ำหลังการฆ่าเชื้อผลิตภัณฑ์แล้ว

      ข้อ 3.4 มีการควบคุมกระบวนการลดและขจัดอันตรายด้านจุลินทรีย์ให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่อการบริโภค มีการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ และบันทึกผล

      ข้อ 3.5 กรณีการผลิตที่ไม่มีกระบวนการลดและขจัดอันตรายด้านจุลินทรีย์ให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่อการบริโภค เช่น ผสม แบ่งบรรจุ ตัดแต่งอาหารสด ต้องมีมาตรการการควบคุมการปนเปื้อนตลอดกระบวนการผลิตอย่างเข้มงวด เช่น การคัดเลือกวัตถุดิบ มาตรการป้องกันการปนเปื้อนจากคน พื้นผิวสัมผัสอาหารสิ่งแวดล้อม ตามความเสี่ยงของอาหารนั้น ๆ

      ข้อ 3.9.2 มีการเก็บรักษาและขนส่งผลิตภัณฑ์สุดท้ายเพื่อจำหน่ายอย่างเหมาะสม มีอุปกรณ์หรือพาหนะขนส่งอาหารที่สามารถรักษาคุณภาพของอาหารได้ ทำความสะอาดหรือฆ่าเชื้อบริเวณหรือพื้นผิวในการจัดเก็บผลิตภัณฑ์สุดท้ายได้ง่าย ป้องกันการปนเปื้อนข้ามจากพาหนะขนส่ง ผู้ปฏิบัติงาน และสิ่งแวดล้อม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                       (3) เพิ่มข้อกำหนด เพื่อยกระดับการกำกับดูแลอาหารเชิงระบบเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและทัดเทียมข้อกำหนดสากล โดยสอดคล้องตามมาตรฐาน Codex ฉบับปัจจุบัน ได้แก่

      ข้อ 3.8   มีการบ่งชี้ข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการตามสอบย้อนกลับ เพื่อหาสาเหตุข้อบกพร่องหรือปัญหาการปนเปื้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ชนิด รุ่นการผลิตและแหล่งที่มา ของวัตถุดิบ ภาชนะบรรจุ ผลิตภัณฑ์สุดท้าย ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน

      ข้อ 3.10  มีบันทึกเกี่ยวกับชนิด ปริมาณการผลิต และข้อมูลการจัดจำหน่าย รวมทั้งมีวิธีการเรียกคืนสินค้า โดยเฉพาะกรณีการผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

      ข้อ 3.11 มีการจัดการผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐานอย่างเหมาะสม โดยการคัดแยกหรือทำลาย เพื่อป้องกันการนำผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐานไปใช้หรือบริโภค

      ข้อ 3.12 มีการเก็บรักษาบันทึกและรายงาน หลังจากพ้นระยะเวลาการวางจำหน่ายที่แสดงในฉลากผลิตภัณฑ์อย่างน้อย 1 ปี

      ข้อ 3.13 มีการตรวจประเมินตนเอง (Internal Quality Audit; IQA) โดยหน่วยงานภายในหรือภายนอก ตามประกาศฯ ฉบับใหม่นี้ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และดำเนินการโดยผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในระบบประกันคุณภาพอาหาร

       

      link.png   การบังคับใช้ GMP กฎหมาย

      ตอบ 

      • GMP 420 แบ่งข้อกำหนดเป็น 2 ส่วน คือ

                       ส่วนที่ 1 ข้อกำหนดพื้นฐาน บังคับใช้กับผู้ผลิตอาหารตามข้อ 2 ทุกประเภทต้องนำไปปฏิบัติ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ผู้ผลิตมีมาตรการป้องกันการปนเปื้อน หรือลด หรือขจัดอันตรายทั้งทางด้านกายภาพ เคมี และจุลินทรีย์ จากสิ่งแวดล้อม อาคารผลิต เครื่องมือเครื่องจักรหรืออุปกรณ์การผลิต ภาชนะบรรจุ ผู้ปฏิบัติงาน ในกระบวนการผลิตทุกขั้นตอน รวมทั้งการจัดการสุขาภิบาล และสุขลักษณะส่วนบุคคล

                       ส่วนที่ 2 ข้อกำหนดเฉพาะ เป็นข้อกำหนดเพิ่มเติมที่กำหนดไว้เป็นการเฉพาะสำหรับผู้ผลิตอาหารที่มีกรรมวิธีการผลิตเฉพาะและมีความเสี่ยงสูงหากควบคุมการผลิตไม่เหมาะสม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดแนวทางการควบคุมกระบวนการผลิตโดยเฉพาะจุดสำคัญที่ต้องควบคุมเป็นพิเศษเพื่อลดหรือขจัดอันตรายให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ และเกิดความปลอดภัย จำนวน 3 รายการ ดังนี้

      (1)  การผลิตน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท น้ำแร่ธรรมชาติ และน้ำแข็งบริโภค ที่ผ่านกรรมวิธีการกรอง

      (2)  การผลิตผลิตภัณฑ์นมพร้อมบริโภคชนิดเหลวที่ผ่านกรรมวิธีฆ่าเชื้อด้วยความร้อนโดยวิธีพาสเจอไรซ์

      (3)  การผลิตอาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทชนิดที่มีความเป็นกรดต่ำและชนิดที่ปรับกรด ที่ผ่านกรรมวิธีการฆ่าเชื้อด้วยความร้อนโดยทำให้ปลอดเชื้อเชิงการค้า

       

      link.png   การบังคับใช้ GMP กฎหมาย

      ตอบ 

      • ขยายขอบข่ายการบังคับใช้กับผลิตภัณฑ์ "น้ำแร่ธรรมชาติ" เนื่องจากผ่านกรรมวิธีการกรองที่ต้องควบคุมอย่างเข้มงวดเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค โดยใช้ข้อกำหนดเดียวกันกับ GMP น้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทเดิม เพียงแต่ปรับลดข้อกำหนดที่ได้มีการระบุไว้แล้วในข้อกำหนดพื้นฐานเพื่อลดความซ้ำซ้อน ดังนั้นจะเหลือเฉพาะข้อกำหนดที่เป็นจุดสำคัญที่ต้องควบคุมเป็นพิเศษ ได้แก่ คุณภาพน้ำดิบ การปรับคุณภาพน้ำ และการป้องกันการปนเปื้อนซ้ำ
      • เพิ่มข้อกำหนดกรณีผลิต "น้ำแข็งบริโภค" เน้นการป้องกันการปนเปื้อนซ้ำหลังการกรองและกำจัดเชื้อ (Post-contamination) จากภาชนะบรรจุ, พื้นผิวสัมผัสอาหาร, ผู้ปฏิบัติงาน และสิ่งแวดล้อม โดยแยกข้อกำหนดเป็นกรณีผลิต "น้ำแข็งซอง" และกรณีผลิต "น้ำแข็งยูนิต"
      • เพิ่มข้อกำหนดให้ผู้ผลิตอาหารต้องมีการแต่งตั้งผู้ควบคุมการผลิตที่มีความรู้ เช่นเดียวกับกรณีผู้ควบคุมการผลิตนมพาสเจอไรซ์ และผู้ควบคุมการผลิตอาหาร LACF/AF เนื่องจากพบปัญหาขาดความรู้ความเข้าใจและละเลยหน้าที่ในการควบคุมการผลิต

       

      link.png   การบังคับใช้ GMP กฎหมาย

      ตอบ 

      • มีข้อกำหนดเช่นเดียวกันกับ GMP 298 เพียงแต่ปรับลดข้อกำหนดที่ได้มีการระบุไว้แล้วในข้อกำหนดพื้นฐานเพื่อลดความซ้ำซ้อน ดังนั้นจะเหลือเฉพาะข้อกำหนดที่เป็นจุดสำคัญที่ต้องควบคุมเป็นพิเศษ ได้แก่ การรับน้ำนมดิบ การควบคุมกระบวนการพาสเจอไรซ์ และการป้องกันการปนเปื้อนซ้ำ
      • ปรับลดขอบข่ายการบังคับใช้ โดยไม่รวมกรณีผลิต "นมเปรี้ยวพร้อมดื่มพาสเจอไรซ์" เนื่องจากผลิตภัณฑ์มีค่าความเป็นกรด-ด่างไม่เกิน 4.6 สามารถยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ก่อโรคได้ จึงมีความเสี่ยงต่ำสามารถควบคุมได้โดยใช้ข้อกำหนดพื้นฐาน
      • ระบุขอบข่ายการบังคับใช้ โดยให้รวมถึงกรณีแช่เยือกแข็งหลังการพาสเจอไรซ์ เนื่องจากการแช่เยือกแข็งเป็นเพียงวิธีการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์สุดท้ายก่อนการจำหน่าย จำเป็นต้องผ่านการพาสเจอไรซ์เพื่อลดหรือขจัดจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคและที่ทำให้อาหารเน่าเสียมาก่อน การระบุขอบข่ายเพิ่มเติมนี้เพื่อให้เกิดความชัดเจน และลดปัญหาการตีความของข้อกำหนดที่ไม่ตรงกันของผู้ประกอบการและผู้บังคับใช้กฎหมาย
      • ยกเลิกประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง กำหนดคุณสมบัติและความรู้ของผู้ควบคุมการผลิตผลิตภัณฑ์นมพร้อมบริโภคชนิดเหลวที่ผ่านกรรมวิธีฆ่าเชื้อด้วยความร้อนโดยวิธีพาสเจอร์ไรส์ และกำหนดคุณสมบัติให้เท่าเทียมกับกรณีผลิตอาหารที่บังคับใช้ข้อกำหนดเฉพาะอื่น ๆ

       

      link.png   การบังคับใช้ GMP กฎหมาย

      ตอบ 

      • ปรับเพิ่มข้อกำหนด กรณีการผลิตอาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทชนิดที่มีความเป็นกรดต่ำ ที่ใช้วิธีการควบคุมค่าวอเตอร์แอคติวิตี้ (low-acid water activity control method) เพื่อยับยั้งการงอกของสปอร์คลอสตริเดียม โบทูลินั่ม (Clostridium botulinum) แทนการใช้วิธีการทำลายสปอร์ เพื่อรองรับการผลิตอาหารบางประเภทและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของอุตสาหกรรมอาหาร
      • ปรับปรุงข้อกำหนดโดยแบ่งหัวข้อตามกรรมวิธีการผลิต เพื่อความชัดเจนในการปฏิบัติ และง่ายต่อการตรวจประเมิน ได้แก่ 1) retorted method, 2) aseptic processing and aseptic packaging systems, 3) acidification, 4) water activity control method
      • สำหรับข้อกำหนดอื่นๆ ยังคงมีเนื้อหาเช่นเดียวกันกับ GMP 349 เพียงแต่ปรับลดข้อกำหนดที่ได้มีการระบุไว้แล้วในข้อกำหนดพื้นฐานเพื่อลดความซ้ำซ้อน ดังนั้นจะเหลือเฉพาะข้อกำหนดที่เป็นจุดสำคัญที่ต้องควบคุมเป็นพิเศษ ได้แก่ การยืนยันความถูกต้อง (Validation) ของกระบวนการฆ่าเชื้อด้วยความร้อน การควบคุมกระบวนการผลิต และกรรมวิธีการผลิตแบ่งเป็น 4 แบบ ตามที่ระบุข้างต้น
      • ขอบข่ายการบังคับใช้ยังคงเดิม คือ บังคับใช้กับอาหารที่เข้าข่ายเงื่อนไขครบทั้ง 5 ข้อต่อไปนี้
        1. เป็นอาหารที่ผ่านกรรมวิธีที่ใช้ทำลายหรือยังยั้งการขยายพันธุ์ของจุลินทรีย์ด้วยความร้อน ภายหลัง หรือก่อนบรรจุหรือปิดผนึก
        2. เป็นอาหารที่มีความเป็นกรดต่ำ (low acid food) คือ มีค่าความเป็นกรดด่าง มากกว่า 4.6 (pH >4.6) หรือเป็นอาหารที่มีการปรับสภาพให้เป็นกรด (acidified food) จนมีค่าความเป็นกรด-ด่าง ไม่เกิน 4.6 (pH ≤ 4.6)
        3. มีค่าวอเตอร์แอคติวิตี้ (water activity) มากกว่า 0.85 (aw > 0.85)
        4. เก็บรักษาไว้ในภาชนะบรรจุที่ปิดผนึกสนิท ที่เป็นโลหะหรือวัตถุอื่นที่คงรูปหรือไม่คงรูปที่สามารถป้องกันมิให้อากาศภายนอกเข้าไปในภาชนะบรรจุได้
        5. สามารถเก็บรักษาไว้ได้ในอุณหภูมิปกติ

       

      link.png   การบังคับใช้ GMP กฎหมาย

      ตอบ 

      • มีการปรับระดับการควบคุม GMP ของอาหาร 3 ประเภท ได้แก่

                     1)  น้ำแร่ธรรมชาติ

                     2)  น้ำแข็งบริโภค

                     อาหารตามข้อ 1) และ 2) ได้เพิ่มระดับการควบคุมที่เข้มงวดขึ้นจากการบังคับใช้ GMP 193 ซึ่งเป็น GMP ที่ว่าด้วยเรื่องสุขลักษณะการผลิตทั่วไป โดยมีการยกระดับบังคับใช้ GMP เฉพาะผลิตภัณฑ์ ในข้อกำหนดเฉพาะ 1 ของ GMP 420

                    3)  นมเปรี้ยวพร้อมดื่มพาสเจอไรซ์ ลดระดับการควบคุมจากการบังคับใช้ GMP 298 ซึ่งเป็น GMP เฉพาะผลิตภัณฑ์ มาบังคับใช้ ข้อกำหนดพื้นฐาน ของ GMP 420

                    4)  อาหารทั่วไปที่มิได้บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่าย จากเดิมไม่เข้าข่ายการบังคับใช้ GMP 342  ปัจจุบันต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดพื้นฐานของ GMP 420
       
       
      link.png   การบังคับใช้ GMP กฎหมาย

      ตอบ 

      • การบังคับใช้ครอบคลุมสถานที่ผลิตอาหารเพื่อจำหน่ายทุกแห่ง ยกเว้น
        1. สถานที่ปรุงจำหน่ายอาหาร เช่น ร้านอาหาร ภัตตาคาร ห้องอาหาร สวนอาหาร โรงอาหาร ร้านปรุงจำหน่ายในตลาด โรงเรียน โรงพยาบาล เว้นแต่สถานที่ผลิตดังกล่าวจะผลิตอาหารควบคุมเฉพาะ อาหารกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานอาหาร หรืออาหารที่ต้องมีฉลาก ที่มีการใช้เครื่องจักรตั้งแต่ 5 แรงม้าขึ้นไป หรือใช้คนงานตั้งแต่ 7 คนขึ้นไป กรณีนี้ยังคงต้องปฏิบัติประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 420) พ.ศ. 2563 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง วิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหาร
        2. สถานที่จำหน่ายอาหาร ณ ที่หรือทางสาธารณะ เช่น หาบเร่ รถเร่ แผงลอยจำหน่ายอาหาร
        3. สถานที่ผลิตเกลือบริโภค ให้ปฏิบัติตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 1 เรื่อง การขอรับใบอนุญาตตั้งโรงงานผลิตอาหาร เพื่อจำหน่าย และประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วย เกลือบริโภค
        4. สถานที่คัดและบรรจุผักและผลไม้สดบางชนิด ที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 386 พ.ศ. 2560 เรื่อง กำหนดวิธีการผลิต เครื่องมือ เครื่องใช้ในการผลิตและการเก็บรักษาผักหรือผลไม้สดบางชนิด และการแสดงฉลาก ให้ปฏิบัติตามประกาศฉบับดังกล่าว
      • ทั้งนี้เนื่องด้วยข้อ ยกเว้นข้อแรก มักมีการตีความคลาดเคลื่อน อย. จึงได้จัดทำแนวทางการพิจารณาลักษณะของสถานประกอบการที่มีกิจกรรมการปรุงจำหน่ายและผลิตอาหารซึ่งอยู่ในข่ายได้รับการยกเว้นไม่ต้องถูกบังคับตามเงื่อนไข GMP  420 ดังภาพแนวทางพิจารณาสถานที่ปรุงจำหน่ายและผลิตอาหาร ที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 420) พ.ศ. 2563 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง วิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหาร เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างถูกต้องตรงตามเจตนารมณ์ของการออกกฎหมาย 

      gmp-10.jpg

      ภาพที่ 1 แนวทางพิจารณาสถานที่ปรุงจำหน่ายและผลิตอาหาร ที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 420) พ.ศ. 2563 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง วิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหาร

       

      link.png   การบังคับใช้ GMP กฎหมาย

      12345
      แสดงผล รายการ
      อย
      กองอาหาร

      FOOD DIVISION

      สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา : 88/24 ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000

      จันทร์ – ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.30 น.

      • Website Policy
      • Privacy Policy
      • Disclaimer

      รองรับการทำงานบน Internet Explorer v9+, Firefox v.20+, Safari v.5+, Chrome v.25+, Opera v.10+

      Sitemap
      หน้าแรก
        กฎหมายอาหาร
        • ข่าวสารด้านกฎหมายอาหาร
        • กฎหมายอาหารและกฎหมายลำดับรอง
        • เอกสารเผยแพร่ด้านกฎหมายอาหาร
        คู่มือสำหรับประชาชน
        • สถานที่ติดต่อยื่นขออนุญาต
        • ระยะเวลาการพิจารณาอนุญาตแต่ละประเภทคำขอ
        บริการข้อมูล
        • ข้อมูลสำหรับผู้บริโภค
        • ข้อมูลสำหรับผู้ประกอบการ
        • คู่มือ / สื่อเผยแพร่
        • คำถามที่พบบ่อย
        ข่าวสารประชาสัมพันธ์
        • ข่าวสารการบริการ
        • ข่าวสารด้านกฎหมายอาหาร
        • ข่าวสารแจ้งเตือนผู้บริโภค
        • การอบรม / สัมมนา
        • รับสมัครงาน
        • ปฏิทินกิจกรรม
        เกี่ยวกับกองอาหาร
        • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
        • โครงสร้างหน่วยงาน
        สำหรับเจ้าหน้าที่
        • ความรู้ที่จำเป็นสำหรับพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ. อาหาร
        • ระบบ e-saraban
        • จองห้องประชุม

        ผู้ชมเว็บไซต์ :

        rss image ipv6 image w3c html image w3c css image
        • แบบสำรวจการให้บริการด้านข้อมูลเว็บไซต์
        • แบบสำรวจความพีงพอใจต่อเว็บไซต์
        Copyright 2020 | สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

        no-popup