ประชาสัมพันธ์การบังคับใช้ประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ
19 กรกฎาคม 2567

             กองอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ขอเรียนประชาสัมพันธ์ว่าขณะนี้ว่าประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุและระเบียบสำนักงาน๕ณะกรรมการอาหารและยา ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเรียบร้อยแล้ว ได้แก่

right-arrow.pngวันที่ประกาศฯ มีผลบังคับใช้

           ประกาศกระทรวงสาธารณสุข  และระเบียบดังกล่าว  มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 19 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป 

right-arrow.pngระยะเวลาผ่อนผัน

          การแสดงฉลากของอาหารที่มีส่วนประกอบของหอย หมึกและผลิตภัณฑ์หอย หมึก ที่ได้รับเลขสารบบอาหาร ก่อนวันที่ 19 กรกฎาคม 2567 ให้ยังคงจำหน่ายต่อไปได้ ทั้งนี้ ต้องไม่เกินวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2569

 

right-arrow.pngสรุปหลักการและสาระสำคัญ    

NewlawP450.jpg

ดาวน์โหลด : สรุปหลักการและสาระสำคัญ  pdf.svg

 

  1. นิยาม ควรบริโภคก่อนให้สอดคล้องกับ codex โดยขยายความบางส่วนเพิ่มเติมให้ชัดเจนขึ้น
  2. ข้อยกเว้นการแสดงฉลาก ปรับข้อความให้ชัดเจน
  3. การแสดงฉลาก

    1)  กรณีที่แสดงข้อความอื่นเพิ่มเติมนอกจากข้อความที่กำหนด และไม่ทำให้เข้าใจผิดสาระสำคัญสามารถกระทำได้  เช่น การแสดงข้อมูลผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้แบ่งบรรจุ  การแสดงข้อมูลสำหรับผู้แพ้อาหาร

    2)  กรณีอาหารที่ไม่สามารถแสดงน้ำหนักสุทธิได้ให้แสดงเป็นหน่วยนับ เช่น ไข่สด ไข่เค็ม

    3)  การแสดงส่วนประกอบจากมากไปน้อย เป็นข้อแนะนำในการแสดงฉลาก

    4)  ข้อกำหนดการแสดงสารก่อภูมิแพ้ สามารถใช้ข้อความอื่นที่มีความหมายทำนองเดียวกันได้ และตำแหน่งการแสดงข้อมูลดังกล่าว 

    5)  กำหนดรายการสารก่อภูมิแพ้ที่ต้องแสดงข้อมูลสารก่อภูมิแพ้  ข้อ 5 (6) (6.10) หอย หมึก และผลิตภัณฑ์

    6)  การแสดงข้อมูลวัตถุเจือปนอาหาร กรณีสี ไม่ต้องระบุว่าเป็นสีธรรมชาติหรือสีสังเคราะห์  และเพิ่มนิยามสี

    7) การแสดงวันเดือนที่หมดอายุหรือควรบริโภคก่อนตามประกาศเฉพาะให้ชัดเจนขึ้น

    8) การแสดงคำเตือน กรณีที่มีประกาศฯ มากกว่าหนึ่งฉบับมีคำเตือนซ้ำซ้อนกันให้สามารถแสดงคำเตือนร่วมกันได้ โดยแสดงข้อความให้ครบถ้วนตามที่กำหนด

    9) กรณีการแสดงฉลากที่จำหน่ายให้กับผู้ผลิตอาหารปรับข้อความให้ชัดเจนขึ้น

  4. กำหนดการติดฉลากให้ชัดเจนขึ้น
  5. การกล่าวอ้างสารหรือส่วนประกอบของอาหาร

    5.1) ปรับข้อความให้สอดคล้องกับประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยวัตถุเจือปนอาหาร โดยไม่มีเงื่อนไขการใช้

    5.2) เพิ่มการยกเว้นให้สามารถแสดงข้อความกล่าวอ้างได้ กรณีการให้ข้อมูลในลักษณะอธิบาย หรือเน้นให้เห็นความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ที่เป็นการกล่าวอ้างส่วนประกอบของอาหารซึ่งเป็นข้อเท็จจริง และไม่เป็นการหลอกลวงผู้บริโภค ตลอดจนสามารถพิสูจน์ได้ว่าไม่เป็นเท็จ

  6. การแสดงฉลากที่มีเครื่องหมายการค้า หรือเครื่องหมายการค้าจดทะเบียน สามารถแสดงแสดงสัญลักษณ์ภาษาอังกฤษหรือข้อความเป็นภาษาอังกฤษแทนได้
  7. กำหนดเงื่อนไขการแสดงชื่ออาหาร โดยยกเลิกข้อกำหนดชื่ออาหารต้องต่อเนื่องเป็นแนวนอน 

right-arrow.png ตารางเปรียบเทียบประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 367) และ (ฉบับที่ 450) 

right-arrow.png สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

กลุ่มกำหนดมาตรฐาน กองอาหาร 

โทรศัพท์ 02 590 7179  ในวันและเวลาราชการ