กรณีอาหารควบคุมน้ำหนัก บางผลิตภัณฑ์มีหางนมผงเป็นส่วนประกอบ ประมาณ 25-45 เปอร์เซ็นต์ซึ่งวิธีการผลิตจะเป็นการนำธัญพืชมาอบ แล้วใส่ส่วนประกอบอื่น เช่น หางนมผงภายหลังการให้ความร้อน เกณฑ์ในการกำหนดในบัญชีหมายเลข 2 จะไม่วิเคราะห์ Listeria monocytogenes ซึ่งจะแตกต่างจากอาหารบางชนิดมีข้อกำหนดให้ต้องวิเคราะห์ กรณีมีนมเป็นส่วนประกอบ
26 มิถุนายน 2566
ตอบ เนื่องจากคุณลักษณะของเชื้อ Listeria monocytogenes สามารถเจริญได้ดีเมื่อมี aw มากกว่า 0.9 ดังนั้นอาหารที่มีลักษณะแห้งจึงไม่กำหนดให้ต้องตรวจ Listeria monocytogenes เช่น นมผง ผลิตภัณฑ์นม (ชนิดแห้ง) นมปรุงแต่ง (ชนิดแห้ง) เป็นต้น อย่างไรก็ตามเนื่องจาก ข้อ 2 ของประกาศฯ ที่กำหนดว่า “อาหารตามบัญชีหมายเลข 1 ท้ายประกาศนี้ที่ผลิตเพื่อจำหน่าย นำเข้าเพื่อจำหน่าย หรือที่จำหน่าย ต้องไม่มีจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค เว้นแต่จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคตามชนิดและปริมาณที่ระบุไว้ในบัญชีหมายเลข 2 ท้ายประกาศนี้” จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคอื่นจะต้องตรวจไม่พบ ดังนั้นเพื่อการทวนสอบ/ยืนยันความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ของตนเอง ผู้ประกอบการสามารถตรวจวิเคราะห์เพิ่มเติมได้
การตรวจวิเคราะห์จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค ตาม ปสธ. (ฉบับที่ 416)