หากผู้ผลิตไม่มีข้อมูลอัตราการแปรรูป (extraction rate) หรือข้อมูลปริมาณน้ำที่เป็นองค์ประกอบในวัตถุดิบและในอาหาร สามารถสืบค้นข้อมูลอ้างอิงได้จากที่ไหน
25 กรกฎาคม 2566

คำตอบ สามารถสืบค้นข้อมูลได้จากวารสารที่น่าเชื่อถือ หรือฐานข้อมูลของหน่วยงานด้านการศึกษา เช่น ฐานข้อมูล Thai Food Composition Database 2015 สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล (https://inmu2. mahidol.ac.th/thaifcd/home.php) หรือฐานข้อมูลขององค์กรระหว่างประเทศ เช่น Technical Conversion Factors For Agricultural Commodities (http://www.fao.org/economic/the-statistics-divisioness/ methodology/methodology-systems/technical-conversion-factors-for-agricultural-commodities/en/)

ตัวอย่างการคำนวณค่า ML

1. เมล็ดข้าวสาลี-แป้งข้าวสาลี

         ค่า ML ของตะกั่ว สำหรับเมล็ดธัญพืชซึ่งรวมถึงเมล็ดข้าวสาลี เท่ากับ 0.2 มิลลิกรัม/ กิโลกรัม ทั้งนี้เมล็ดข้าวสาลีสามารถผลิตเป็นแป้งข้าวสาลีได้ ประมาณร้อยละ 70 จึงสามารถคำนวณปริมาณสูงสุดของตะกั่วในแป้งข้าวสาลีได้ดังนี้

- เมล็ดข้าวสาลี 1000 กรัม มีตะกั่วปนเปื้อนได้ปริมาณสูงสุดไม่เกิน 0.2 มิลลิกรัม

- แป้งข้าวสาลี 70 กรัมได้มาจากเมล็ดข้าวสาลี 100 กรัม

ดังนั้น เมล็ดข้าวสาลี 1000 กรัมจึงสามารถผลิตแป้งข้าวสาลีได้ 

เท่ากับ (1,000 x 70)/ 100 = 700 กรัม

- แป้งข้าวสาลี 700 กรัม ได้มาจากเมล็ดข้าวสาลี 1000 กรัม ซึ่งมีตะกั่วปนเปื้อนได้ปริมาณสูงสุดไม่เกิน 0.2 มิลลิกรัม 

ดังนั้นแป้งข้าวสาลี 1 กิโลกรัม จึงมีตะกั่วปนเปื้อนได้ในปริมาณสูงสุดไม่เกิน 

(0.2 x 1,000)/ 700 = 0.29 มิลลิกรัม/ กิโลกรัม

 

2. สาหร่ายแห้ง-สาหร่ายสด

         ค่า ML ของแคดเมียม สำหรับสาหร่ายแห้ง เท่ากับ 2 มิลลิกรัม/ กิโลกรัม  โดยสาหร่ายสดน้ำเป็นองค์ประกอบประมาณร้อยละ 89 และสาหร่ายแห้งมีน้ำเป้นองค์ประกอบประมาณร้อยละ 6 ดังนั้นสาหร่ายจึงมีน้ำหายไประหว่างการทำแห้งประมาณร้อยละ 83 จึงสามารถคำนวณปริมาณสูงสุดของแคดเมียมสำหรับสาหร่ายสดได้ดังนี้

 

- สาหน่ายแห้ง 17 กรัม มาจากสาหร่ายสด 100 กรัม

ดังนั้น สาหร่ายแห้ง 1000 กรัม จึงมาจากสาหร่ายสด 

(1,000 x 100)/ 17 = 5882.35 กรัม

- สาหร่ายแห้ง 1000 กรัม มีแคดเมียมปนเปื้อนได้ 2 มิลลิกรัม

- สาหร่ายแห้ง 1000 กรัม เท่ากับสาหร่ายสดน้ำหนัก 5882.35 กรัม และมีแคดเมียมปนเปื้อนได้ไม่เกิน 2 มิลลิกรัม ดังนั้นสาหร่ายสด 1 กิโลกรัม จึงมีแคดเมียมปนเปื้อนได้ในปริมาณสูงสุดไม่เกิน

(2 x 1,000)/ 5882.35 = 0.34 มิลลิกรัม/ กิโลกรัม

 

3.  ปลาหมึกสด – ปลาหมึกแห้ง

         ค่า ML ของแคดเมียม สำหรับปลาหมึกสด เท่ากับ 2 มิลลิกรัม/ กิโลกรัม โดยปลาหมึกสดมีน้ำเป็นองค์ประกอบประมาณร้อยละ 83 และปลาหมึกแห้งมีน้ำเป็นองค์ประกอบร้อยละ 24 ดังนั้นจึงมีน้ำหายไปในประมาณร้อยละ 59 โดยน้ำหนัก จึงสามารถคำนวณปริมาณสูงสุดของแคดเมียมสำหรับปลาหมึกแห้งได้ดังนี้

- ปลาหมึกสด 1000 กรัม จะได้ปลาหมึกแห้ง 410 กรัม 

- ปลาหมึกสด 1000 กรัม มีแคดเมียมปนเปื้อนได้ 2 มก.  

ดังนั้นปลาหมึกแห้ง 1,000 กรัม จึงมีแคดเมียมปนเปื้อนได้ไม่เกิน 

(2 x 1,000)/410 มก. = 4.88 มิลลิกรัม/ กิโลกรัม

 

link.png   มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน