สิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมนอกเหนือจากรายการที่ระบุไว้ในบัญชีหมายเลข 1 ต้องดำเนินการอย่างไรเพื่อให้สามารถผลิต นำเข้าหรือจำหน่ายอาหารจากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมนั้นๆ ได้โดยไม่ผิดกฎหมาย
27 มิถุนายน 2566

ตอบ กรณีเป็นสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมตามรายการที่ระบุไว้ในบัญชีหมายเลข 6 แนบท้ายประกาศฯ  ซึ่งได้แก่ ถั่วเหลืองดัดแปรพันธุกรรม 42 สายพันธุ์ และข้าวโพดดัดแปรพันธุกรรม 7 สายพันธุ์ ได้รับการผ่อนผันให้ผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย เป็นระยะเวลา 5 ปี เมื่อครบกำหนดคือตั้งแต่วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2570 โดยในระหว่างนี้ต้องจัดเตรียมเอกสารหรือหลักฐานตามที่กำหนดในบัญชีแนบท้ายหมายเลข 2 เพื่อประเมินความปลอดภัยกับศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค; BIOTEC) และส่งมอบวัสดุอ้างอิงหรือรายละเอียดวิธีการตรวจวิเคราะห์แก่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ หากครบกำหนด 5 ปีแล้ว พืชดัดแปรพันธุกรรม ตามบัญชีหมายเลข 6 นี้ ไม่ผ่านการประเมินความปลอดภัยทางชีวภาพด้านอาหาร ถือว่าการอนุญาตสิ้นสุด ให้ห้ามผลิต นำเข้าหรือจำหน่าย

       กรณีเป็นสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมที่อยู่นอกเหนือจากบัญชีหมาย 6 แนบท้ายประกาศกระทรวงฯ ผู้ประกอบการต้องจัดเตรียมเอกสารหรือหลักฐานตามที่กำหนดในบัญชีแนบท้ายหมายเลข 2 หมายเลข 3 หรือหมายเลข 4 เพื่อยื่นประเมินความปลอดภัยกับศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) และส่งมอบวัสดุอ้างอิงหรือรายละเอียดวิธีการตรวจวิเคราะห์แก่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ให้แล้วเสร็จ ก่อนนำเอกสารหลักฐานมายื่นต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเพื่อประกอบการพิจารณาอนุญาตก่อนการผลิตหรือนำเข้าเพื่อจำหน่าย

รูปที่ 1 แสดงแนวทางการยื่นเอกสารเพื่อประเมินความปลอดภัยทางชีวภาพด้านอาหารสำหรับอาหารจากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมตามรายชื่อในบัญชีแนบท้ายหมายเลข 6 และนอกเหนือจากบัญชีแบท้ายหมายเลข 6

Slide1.jpg

 

link.png   อาหารที่ได้จากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมและการแสดงฉลาก