ตอบ 1. ส่วนของพืชกัญชา กัญชง (แห้ง หรือสด) ที่อยู่นอกสถานที่ผลิตอาหาร ไม่อยู่ภายใต้การกำกับดูแล ตามพระราชบัญญัติอาหาร เนื่องจากสามารถใช้เป็นวัตถุดิบในผลิตภัณฑ์สุขภาพที่หลากหลาย เช่น ผลิตภัณฑ์สมุนไพร เครื่องสำอาง หรืออาหาร พระราชบัญญัติอาหารจะตรวจส่วนของพืชกัญชา กัญชง ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการ ผลิตอาหาร ในสถานที่ผลิตอาหารเท่านั้น โดยผู้ประกอบการต้องมีหลักฐานการได้มาของส่วนของพืชกัญชา กัญชง จากแหล่งวัตถุดิบที่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องตามพระราชบัญญัติยาเสพติด โดยผู้ประกอบการที่ผลิต ผลิตภัณฑ์อาหารดังกล่าว ต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 427) พ.ศ.2564 ออกตาม ความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนประกอบของส่วนของกัญชาหรือ กัญชง
2. ส่วนของพืชกัญชาหรือกัญชงอบแห้งที่มีวัตถุประสงค์ใช้เพื่อการชงดื่มในลักษณะเดียวกับชาชง เช่น ชาใบกัญชา ผลิตภัณฑ์นี้อาจจัดเป็นอาหารตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 427) พ.ศ.2564 ออก ตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนประกอบของส่วนของกัญชาหรือ กัญชง โดยผลิตภัณฑ์ต้องมีคุณภาพหรือมาตรฐานเป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 427) และไม่กล่าว อ้างสรรพคุณใดๆ เช่น relax ผ่อนคลาย นอนหลับ อย่างไรก็ตามหากผลิตภัณฑ์ชาใบกัญชามีการกล่าวอ้าง สรรพคุณรักษาโรค หรือมีผลต่อสุขภาพ อาจจัดเป็น "ผลิตภัณฑ์สมุนไพร" ซึ่งสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่เว็บไซต์กองผลิตภัณฑ์สมุนไพร