สามารถนำส่วนของพืชกระท่อมมาใช้เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์อาหารที่ผลิตเพื่อจำหน่าย ได้หรือไม่
27 มิถุนายน 2566

ตอบ ปัจจุบันกระท่อมทั้งต้นและสารสกัดจากกระท่อมยังคงเป็นอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย อยู่ในลำดับที่ 52 ของบัญชีท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 424) พ.ศ. 2564 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง กำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย และประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 430) พ.ศ. 2564 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 424) พ.ศ. 2564 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง กำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย ยกเว้นผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนของพืชหรือสารสกัดจากกระท่อมเป็นส่วนประกอบ ปฏิบัติตามกรณีดังต่อไปนี้สามารถผลิต นำเข้า หรือจำหน่ายได้

  1. เมื่อผ่านการประเมินความปลอดภัยของอาหาร และส่งมอบฉลากให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาตรวจอนุมัติก่อนนำไปใช้ ตามเงื่อนไขของประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 376) พ.ศ. 2559 เรื่อง อาหารใหม่ (Novel food) ก่อนการผลิต นำเข้า หรือจำหน่ายในประเทศ แล้ว ซึ่งชนิดอาหารและปริมาณสารสำคัญที่อนุญาต ขึ้นอยู่กับผลการประเมินความปลอดภัยจากหน่วยประเมินความปลอดภัยที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาให้การยอมรับ
  2. มีความประสงค์จะผลิตเพื่อการส่งออกเท่านั้น ให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบของประเทศคู่ค้า และดำเนินการยื่นขออนุญาตสถานที่ผลิตอาหารและผลิตภัณฑ์อาหารต่อผู้อนุญาต แล้วแต่กรณี

     หากผู้ใดฝ่าฝืนประกาศซึ่งออกตามมาตรา 6(8) ต้องระวางโทษตามมาตรา 50 จำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสองปีและปรับ  ตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองหมื่นบาท  

 

link.png  ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนประกอบของพืชกระท่อม