ตอบ ผู้ผลิต นำเข้าหรือจำหน่ายอาหารที่ได้จากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมต้องจัดเก็บหลักฐานตามระบบตามสอบสินค้า (traceability) พร้อมแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วแต่กรณี ดังต่อไปนี้
2.1 ผลิตภัณฑ์อาหารจากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมที่ได้รับอนุญาตให้ผลิต นำเข้าหรือจำหน่ายก่อนวันที่ 4 ธันวาคม 2565 ไม่ต้องจัดเตรียมเอกสารหรือหลักฐานเพื่อการตรวจสอบ ณ ด่านอาหารและยา ทั้งนี้ด่านอาหารและยาจะมีการตรวจปล่อยตามแผนการปฏิบัติงานเดิม
2.2 ผลิตภัณฑ์อาหารจากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมที่ได้รับอนุญาตให้ผลิต นำเข้าหรือจำหน่ายหลังวันที่ 4 ธันวาคม 2565 แบ่งเป็นกรณี ดังนี้
(2.2.1) กรณีเป็นสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมซึ่งเป็นส่วนของพืช สัตว์หรือจุลินทรีย์ที่ผลิต นำเข้าหรือจำหน่ายเพื่อบริโภคโดยตรง หรือเป็นส่วนประกอบของอาหารพร้อมบริโภคหรืออาหารสำเร็จรูป (ผลิตภัณฑ์อาหาร) อาจจะมีเอกสารอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อประโยชน์ในการชี้แจงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เช่น
-
-
- รายงานผลการตรวจวิเคราะห์ (Analytical Report) จากห้องปฏิบัติการที่ได้รับการยอมรับ หรือห้องปฏิบัติการของหน่วยงานภาครัฐ
- หนังสือรับรองผลการตรวจวิเคราะห์ (COA for a specific Silo/batch) ซึ่งออกโดยหน่วยงานภาครัฐหรือจากห้องปฏิบัติการที่ได้รับการยอมรับ
- หนังสือรับรองสุขอนามัยพืช (Phytosanitary Certification) ที่ระบุลักษณะสายพันธุ์หรือรหัสสายพันธุ์ (event) ของพืชดัดแปรพันธุกรรม
- หนังสือรับรองสุขอนามัย หรือหนังสือรับรองความปลอดภัย (Health Certification) ที่ระบุลักษณะสายพันธุ์หรือรหัสสายพันธุ์ของสัตว์หรือพืชดัดแปรพันธุกรรม หรือระบุว่าไม่มีสายพันธุ์ดัดแปรพันธุกรรมที่ไม่อนุญาต (absence of any unauthorized GM)
- หนังสือรับรองการคัดแยกสินค้าตั้งแต่ต้นทาง (identify Preservation: IP)
- ใบกำกับสินค้า (Invoice) หรือ ใบแสดงรายละเอียดสินค้า (Packing List) ที่ระบุลักษณะสายพันธุ์หรือรหัสสายพันธุ์ (event) ของสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมที่เป็นอาหาร
- หนังสือคำแถลงของผู้ผลิตหรือผู้ส่งออกที่ระบุลักษณะสายพันธุ์ (event) หรือรหัสสายพันธุ์ (unique identifier) ของสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมที่เป็นอาหาร เช่น "This shipment of xxxxxx (name of plant or animal or microorganism) may contain genetically modified events as following……" หรือคำแถลงอื่นที่มีความหมายทำนองเดียวกัน และระบุข้อมูลสำหรับการติดต่อผู้ที่เกี่ยวข้องกับสินค้า
- หนังสือรับรองของผู้ผลิตหรือผู้ส่งออกที่ระบุว่าปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 431
-
(2.2.2) กรณีเป็นผลิตผลจากพืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์ดัดแปรพันธุกรรม (สารสกัด สารสำคัญ หรือสารอาหาร) ที่ใช้เป็นส่วนประกอบของอาหาร หรือที่ใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหาร ซึ่งตรวจไม่พบสารพันธุกรรม อาจจะมีเอกสารเพื่อประโยชน์ในการชี้แจงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ได้แก่
-
-
- รายงานผลการตรวจวิเคราะห์ (Analytical Report) จากห้องปฏิบัติการที่ได้รับการยอมรับ หรือห้องปฏิบัติการของหน่วยงานภาครัฐ หรือ
- หนังสือรับรองผลการตรวจวิเคราะห์ (COA for a specific Silo/batch) ซึ่งออกโดยหน่วยงานภาครัฐหรือจากห้องปฏิบัติการที่ได้รับการยอมรับ
-
สรุปแนวทางการจัดเตรียมเอกสารสำหรับอาหารจากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมกลุ่มต่างๆ