ค่าใช้จ่ายในการตรวจประเมินสถานที่ผลิตอาหาร กรณีผู้ผลิตอาหารยื่นคำขอรับการตรวจประเมินกับ อย.หรือ สสจ. ตามข้อกำหนด GMP 420 เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหรือไม่
26 มิถุนายน 2566

ตอบ อัตราการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายอ้างอิงตามตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ค่าใช้จ่ายที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นคำขอในกระบวนการพิจารณาอนุญาตผลิตภัณฑ์อาหาร โดยคิดอัตราค่าใช้จ่ายตามขนาดแรงม้าของเครื่องจักรที่ใช้ และจำนวนคนงาน จึงมีอัตราเรียกเก็บคงเดิมถึงแม้จะเปลี่ยนข้อกำหนดใหม่ก็ตาม รายละเอียดค่าใช้จ่าย สรุปได้ดังตารางอัตราค่าใช้จ่ายที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นคำขอในกระบวนการพิจารณาและตรวจสถานประกอบการด้านอาหาร

รายการ ​ หน่วยนับ

อัตราค่าใช้จ่ายที่จะจัดเก็บ (บาท)

(1)  ไม่เกิน 5 แรงม้า   และคนงาน 1-6 คน ​ ฉบับละ 3,000
          (กรณีตรวจติดตามการแก้ไขข้อบกพร่อง (Follow-up Audit)) ฉบับละ 1,500
(2)  มากกว่า 5 แรงม้าแต่ไม่เกิน 20 แรงม้า หรือคนงาน 7-50 คน ​ ฉบับละ 5,000
          (กรณีตรวจติดตามการแก้ไขข้อบกพร่อง (Follow-up Audit)) ฉบับละ 2,500
(3)  มากกว่า 20 แรงม้าแต่ไม่เกิน 50 แรงม้า หรือคนงาน 51-100 คน ​ ฉบับละ 10,000
          (กรณีตรวจติดตามการแก้ไขข้อบกพร่อง (Follow-up Audit)) ฉบับละ 5,000
(4)  มากกว่า 50 แรงม้าแต่ไม่เกิน 100 แรงม้า หรือคนงาน 101-200 คน ​ ฉบับละ 15,000
          (กรณีตรวจติดตามการแก้ไขข้อบกพร่อง (Follow-up Audit)) ฉบับละ 7,500
(5)  มากกว่า 100 แรงม้า หรือคนงานมากกว่า 200 คน ​ ฉบับละ 20,000
          (กรณีตรวจติดตามการแก้ไขข้อบกพร่อง (Follow-up Audit)) ฉบับละ 10,000

หมายเหตุ : 

  • เป็นอัตราค่าใช้จ่ายเฉพาะกรณีขอรับการพิจารณาและตรวจสถานประกอบการด้านอาหารจาก อย. หรือ สสจ. เท่านั้น
  • กรณีขอรับการพิจารณาและตรวจสถานประกอบการด้านอาหาร จากหน่วยตรวจและหน่วยรับรองสถานประกอบการอาหารที่ขึ้นบัญชีกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ให้อัตราค่าใช้จ่ายให้เป็นไปตามข้อตกลงระหว่างหน่วยตรวจและหน่วยรับรองสถานประกอบการอาหารกับผู้ยื่นคำขอ
  • กรณีตรวจครั้งแรก พบข้อบกพร่องที่จำเป็นต้องตรวจติดตามการแก้ไขข้อบกพร่อง (Follow-up Audit) ณ สถานประกอบการ ต้องชำระค่าตรวจประเมินฯ เพิ่มในอัตราร้อยละ 50 ของอัตราเรียกเก็บปกติ

 

link.png   การบังคับใช้ GMP กฎหมาย