ทราบได้อย่างไร วัตถุเจือปนอาหารที่ติดมากับวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตอาหาร เป็นส่วนประกอบของอาหารอยู่ในปริมาณที่เกิดผลตามวัตถุประสงค์ของการใช้วัตถุเจือปนอาหาร
29 มิถุนายน 2566

ตอบ 1. เข้านิยามของวัตถุเจือปนอาหารที่ตกค้างหรือติดมากับอาหาร (Carry Over of Food Additives into Foods) หรือไม่ โดยมีเงื่อนไข ดังนี้

1.1 เป็นวัตถุเจือปนอาหารที่อนุญาตให้ใช้ในวัตถุดิบหรือส่วนประกอบอื่นของอาหาร ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าเรื่องวัตถุเจือปนอาหาร

1.2 เมื่อนำวัตถุดิบหรือส่วนประกอบตามข้อ 1.1 มาใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารปริมาณของวัตถุเจือปนอาหารที่ใช้ในวัตถุดิบหรือส่วนประกอบของอาหาร ต้องไม่เกินค่าปริมาณการใช้สูงสุดของวัตถุเจือปนอาหารที่อนุญาตให้ใช้ตามประกาศกระทรวงสาธารณาสุขว่าเรื่องวัตถุเจือปนอาหาร ตามข้อ 2

1.3 เมื่อนำวัตถุดิบหรือส่วนประกอบตามข้อ 1.1 มาใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารปริมาณวัตถุเจือปนอาหารที่ตกค้างมาจากวัตถุดิบหรือส่วนประกอบของอาหาร จะต้องไม่เกินปริมาณการใช้สูงสุดของวัตถุเจือปนอาหารที่อนุญาตให้ใช้ในวัตถุดิบหรือส่วนประกอบนั้นๆ และเป็นไปตามหลักการของความเหมาะสมทางด้านเทคโนโลยีการผลิตและหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิต รวมทั้งต้องสอดคล้องตามประกาศกระทรวงสาธารณาสุขว่าเรื่องวัตถุเจือปนอาหาร

      2.  กำหนดวิธีการคำนวณปริมาณวัตถุเจือปนอาหารที่ตกค้างมาจากวัตถุดิบหรือส่วนประกอบขอองหาร จะคำนวณตามสัดส่วนที่มีการใช้จริง และตรวจสอบปริมาณที่คำนวณได้เป็นไปตามเกณฑ์ในข้อ 1.2 และต้องพิสูจน์ว่าปริมาณวัตถุเจือปนอาหารที่คำนวณจากสัดส่วนวัตถุดิบที่ใช้ไม่มีผลทางเทคโนโลยี หรือมีผลต่อคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์สุดท้าย โดยอาจมีพิจารณาดังนี้

2.1 ปริมาณวัตถุเจือปนอาหารที่คำนวณต่ำกว่าปริมาณสูงสุดที่ใช้ในกฎหมายของสารนั้น (ตัวเลขที่ได้ต้องไม่เกินปริมาณต่ำสุดของวัตถุเจือปนอาหารที่อนุญาตให้ใช้ในอาหาร เช่น Benzoate อนุญาตให้ใช้ในอาหารหลายชนิด  โดยกำหนดช่วงระหว่างไม่เกิน 200 ppm  ถึง ไม่เกิน 5000 ppm อาจสรุปได้ว่าปริมาณที่คำนวณได้ต่ำกว่า 200 ppm แสดงว่าไม่มีผลทางด้านเทคโนโลยี)  และ

2.2 มีข้อมูลทางวิชาการที่บ่งชี้ว่าปริมาณที่คำนวณได้ต่ำกว่าระดับที่ให้ใช้ผลทางเทคโนโลยีในอาหารนั้น โดยอ้างอิงข้อมูลวิชาการเกี่ยวกับวัตถุเจือปนอาหาร เช่น รายงานการวิจัย Text book วารสาร บทความทางวิชาการที่ศึกษาผลทางเทคโนโลยีของวัตถุเจือปนอาหารชนิดนั้นๆ หรือผลทดสอบทางประสาทสัมผัส (sensory evaluation) กรณีวัตถุเจือปนอาหารที่มีผลต่อลักษณะทางกายภาพของอาหาร เช่น สี รสชาติ เป็นต้น

 

link.png   การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ