ค่า ML ใหม่ของสารปนเปื้อนของอาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (ประกาศฯ ฉ. 355) และเครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (ประกาศฯ ฉ. 356) ต่างจากค่าเก่าอย่างไร
25 กรกฎาคม 2566

ตอบ  ค่า ML ของสารปนเปื้อนแต่ละชนิดจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารหรือวัตถุดิบ ซึ่งแตกต่างจากการกำหนดค่าตามประกาศเดิม ดังนี้

(1)  อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (ป.สธ. ฉ. 355)

ชนิดสารปนเปื้อน ค่า ML เดิมตาม ป.สธ. ฉ. 355 ค่า ML ใหม่ตาม ป.สธ. ฉ. 414 หมายเหตุ
ดีบุก 250 mg/kg 50 - 250 mg/kg ขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารและภาชนะบรรจุ
สังกะสี 100 mg/kg ไม่กำหนด -
ทองแดง 20 mg/kg ไม่กำหนด -
ตะกั่ว
1 mg/kg 0.03-2 mg/kg ตามชนิดอาหารหรือวัตถุดิบ
สารหนู
2 mg/kg 0.1 - 2 mg/kg ตามชนิดอาหารหรือวัตถุดิบ
ปรอท
0.02 - 0.5 mg/kg 0.02-1.6 mg/kg ตามชนิดอาหารหรือวัตถุดิบ

* กรณีที่ไม่มีค่า ML กำหนดในวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์อาหารไว้เป็นการเฉพาะ สามารถอ้างอิงค่า ML ได้จากค่าที่กำหนดไว้สำหรับอาหารอื่น หากมีข้อมูลทางวิชาการสนับสนุนว่าอาหารนั้นมีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อน

(2)  เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (ป.สธ. ฉ. 356)

 

 

ชนิดสารปนเปื้อน

ค่า ML เดิม

ตามป.สธ. ฉ. 356

ค่า ML ใหม่

ตาม ป.สธ. ฉ. 414

หมายเหตุ

สารหนู

0.2 mg/kg

0.1 - 2 mg/kg

ตามชนิดอาหารหรือวัตถุดิบ

ตะกั่ว

0.5 mg/kg

0.03 - 2 mg/kg

ตามชนิดอาหารหรือวัตถุดิบ

ทองแดง

5 mg/kg

ไม่กำหนด

 -

สังกะสี

5 mg/kg

ไม่กำหนด

 -

เหล็ก

15 mg/kg

ไม่กำหนด

 -

ดีบุก

250 mg/kg

150 mg/kg

กรณีบรรจุในกระป๋อง

ซัลเฟอร์ไดออกไซด์

10 mg/kg

-

ดูข้อกำหนดเงื่อนไขการใช้ FA (ป.สธ. ฉ. 389)

* กรณีที่ไม่มีค่า ML กำหนดในวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์อาหารไว้เป็นการเฉพาะ สามารถอ้างอิงค่า ML ได้จากค่าที่กำหนดไว้สำหรับอาหารอื่น หากมีข้อมูลทางวิชาการสนับสนุนว่าอาหารนั้นมีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อน

 

link.png   มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน