ตอบ 1. ห้ามแสดงชื่อว่า “ช็อกโกแลต” ไว้ที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของฉลาก สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารที่ไม่ใช่หรือไม่มีส่วนประกอบของช็อกโกแลตหรือผลิตภัณฑ์ช็อกโกแลต ที่มีคุณภาพหรือมาตรฐานเป็นไปตามที่ได้กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 441) พ.ศ. 2566
2. กรณีผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนประกอบของผงโกโก้และน้ำตาล โดยอาจมีนมเป็นส่วนประกอบหรือไม่ก็ได้ และมีความประสงค์จะใช้คำว่า “ช็อกโกแลต” ในชื่อของผลิตภัณฑ์เพื่อสื่อถึงรสชาติ เช่น ไอศกรีมช็อกโกแลต จะสามารถแสดงคำว่า “ช็อกโกแลต” ได้ในกรณีที่องค์ประกอบเข้าข่ายตามนิยาม รวมถึงสัดส่วนและปริมาณของไขมันโกโก้ (Cocoa Butter), โกโก้ปราศจากไขมัน (Fat-free Cocoa Solids), โกโก้ทั้งหมด (Total Cocoa Solid), ไขมันนมหรือมันเนย (Milk Fat), เนื้อนม (Total Milk Solids) และไขมันทั้งหมด (Total fat) เป็นไปตามที่กำหนดในประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยช็อกโกแลตและผลิตภัณฑ์ช็อกโกแลต
สำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของโกโก้ผงหรือคาเคาผงและน้ำตาล โดยอาจมีส่วนประกอบอื่นหรือไม่ก็ได้ หากมีความประสงค์จะใช้คำว่า “เครื่องดื่มช็อกโกแลต” จะต้องมีปริมาณของโกโก้ผงหรือคาเคาผงไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 เมื่อคำนวณในสัดส่วนของโกโก้ผงหรือคาเคาผงและน้ำตาล ทั้งนี้จะต้องระบุชนิดของโกโก้ผงหรือคาเคาผง ได้แก่ โกโก้ผง โกโก้ผงไขมันต่ำ โกโก้ผงไขมันต่ำมาก คาเคาผง คาเคาผงไขมันต่ำ คาเคาผงไขมันต่ำมาก ในสูตรส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ให้ชัดเจน (อ้างอิงตาม Standard for Cocoa Powders (Cocoas) and Dry Mixtures of Cocoa and Sugars (CODEX STAN 105-1981))
3. กรณีผลิตภัณฑ์อาหารที่มีองค์ประกอบไม่เข้าข่ายตามนิยาม รวมถึงสัดส่วนและปริมาณของไขมันโกโก้ (Cocoa Butter), โกโก้ปราศจากไขมัน (Fat-free Cocoa Solids), โกโก้ทั้งหมด (Total Cocoa Solid), ไขมันนมหรือมันเนย (Milk Fat), เนื้อนม (Total Milk Solids) และไขมันทั้งหมด (Total fat) ไม่เป็นไปตามที่กำหนดในประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยช็อกโกแลตและผลิตภัณฑ์ช็อกโกแลต อาจใช้คำอื่นสำหรับชื่อผลิตภัณฑ์ เพื่อไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในผลิตภัณฑ์ เช่น ไอศกรีมรสช็อกโกแลต
ช็อกโกแลตและผลิตภัณฑ์ช็อกโกแลต