ตอบ แบ่งเป็น 2 กรณี คือ
1) การตรวจเพื่อออกหนังสือรับรองอย่างเดียวให้ตรวจประเมินสถานที่ผลิตตามใบอนุญาต (อ.2) ต้องระบุข้อมูลอาหารที่ได้รับอนุญาตให้ครบถ้วน แต่การออกรายงานผลการตรวจประเมิน (Audit report) เพื่อออกให้การรับรองให้ระบุเฉพาะอาหารที่มีการผลิตในขณะตรวจประเมินเท่านั้นตามหลักกณฑ์การออกหนังสือรับรองของหน่วยตรวจสอบ หรือกรณีที่ผู้ประกอบการต้องการให้ใบรับรองระบุประเภทอาหารมากกว่าที่มีการผลิตในขณะตรวจประเมิน ก็ควรหลักเกณฑ์ ตามข้อ 2 ประกอบการพิจารณา (หากไม่ขัดกับหลักเกณฑ์การออกใบรับรองของหน่วยตรวจสอบ)
2) การตรวจเพื่อออกหนังสือรับรองและตรวจเพื่อประกอบการต่ออายุให้ตรวจประเมินสถานที่ผลิตตามใบอนุญาต (อ.2) ต้องระบุข้อมูลประเภทอาหารที่ได้รับอนุญาตให้ครบล้วน สำหรับประเภทอาหารที่ขณะตรวจไม่พบการผลิต หรือมีการผลิตบ้างเป็นบางช่วงเท่านั้น เช่น ผลิตตามคำสั่งซื้อ หรือผลิตตามฤดูกาลของวัตถุดิบที่ต้องใช้ หรือปัจจัยอื่น ๆ ให้ตรวจสอบกรรมวิธีการผลิต ความพร้อมของเครื่องมือ เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตว่ามีสภาพอย่างไร สอดคล้องกับกรรมวิธีการผลิตเพียงใด มีความพร้อมในการผลิตหรือไม่ และมีการบันทึกการผลิต หรือสายงานอื่นๆ เพื่อประกอบการพิจาณา ดังนี้
2.1) มีความพร้อมเพียงพอ ก็ระบุประเภทอาหาหารนั้นๆ ในรายงานผลการตรวจประเมิน(Audit Report ให้ครบถ้วนตามสลักหลังใบอนุญาตผลิตอาหารได้ เพราะจะได้ไม่กระทบต่อเลขสารบบอาหารที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแล้ว
2.2) ไม่มีความพร้อมและไม่พบหลักฐานการผลิตนานแล้ว เครื่องมือ เครื่องจักรอุปกรณ์การผลิตไม่ครบถ้วน หรือไม่อยู่ในสภาพใช้งานได้ตามกรรมวิธีการผลิตก็ไม่ต้องระบุประเภทอาหารให้ครบถ้วนตามสลักหลังใบอนุญาตผลิตอาหาร์ โดยใน Audit report ให้สรุปประเภทอาหารตามที่ได้ตรวจสอบรวมทั้งอาหารที่ไม่พบการผลิต แต่มีหลักฐานต่างๆ ที่กล่าวไว้ข้างต้น ในข้อ 2.1) เท่านั้น
ทั้งนี้ให้รวมถึงประเภทอาหารบางประเภทที่ผู้ประกอบการมีความประสงค์จะยกเลิก หรือไม่มีการผลิตเป็นเวลานานแล้ว โดยมีหลักฐานยืนยันชัดเจนจากผู้ประกอบการชัดเจน แล้วส่งหลักฐานนั้นไปให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาพิจารณาดำเนินการต่อไป
หน่วยตรวจสอบและหน่วยรับรองสถานประกอบการอาหาร