ตอบ ตามมาตรา 6(2) และ 6(3) แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขมีอำนาจกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานของอาหาร ซึ่งรวมทั้งความหมายของอาหารแต่ละประเภท การพิจารณารายละเอียด หรือเจตนารมณ์ในการนำไปใช้ จึงต้องพิจารณาตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขเป็นกรณี ๆ ไป ดังนี้
1. วัตถุเจือปนอาหาร ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 281) พ.ศ. 2547 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร กำหนดนิยามตามข้อ 3 ระบุว่า “วัตถุเจือปนอาหาร หมายความว่า วัตถุที่ตามปกติมิได้ใช้เป็นอาหารหรือเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของอาหาร ไม่ว่าวัตถุนั้นจะมีคุณค่าทางอาหารหรือไม่ก็ตาม แต่ใช้เจือปนในอาหารเพื่อประโยชน์ทางเทคโนโลยีการผลิต การแต่งสีอาหาร การปรุงแต่งกลิ่นรสอาหาร การบรรจุ การเก็บรักษา หรือการขนส่ง ซึ่งมีผลต่อคุณภาพหรือมาตรฐานหรือลักษณะของอาหาร ทั้งนี้ให้หมายความรวมถึงวัตถุที่มิได้เจือปนในอาหาร แต่มีภาชนะบรรจุไว้เฉพาะแล้วใส่รวมอยู่กับอาหารเพื่อประโยชน์ดังกล่าวข้างต้นด้วย เช่น วัตถุกันชื้น วัตถุดูดออกซิเจน เป็นต้น
ความมุ่งหมายใช้เพื่อเป็นวัตถุเจือปนอาหาร จะต้องเป็นไปตามหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่งตามกลุ่มหน้าที่ทางด้านเทคโนโลยีการผลิตที่กำหนดไว้ในประกาศฯ
2. สีจัดเป็นวัตถุเจือปนอาหาร
3. เครื่องปรุงรส เจตนารมณ์หมายถึง วัตถุแต่งกลิ่นรส ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 223) พ.ศ. 2544 เรื่อง วัตถุแต่งกลิ่นรส กำหนดนิยามตามข้อ 3 ระบุว่า วัตถุแต่งกลิ่นรส หมายความว่า วัตถุที่นำมาใช้แต่งกลิ่นหรือรสของอาหาร ไม่ใช่ เครื่องปรุงรส ตามที่พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้ความหมายว่า หมายถึง สิ่งที่ใช้ปรุงแต่งรสอาหาร เช่น น้ำตาล น้ำปลา เกลือ
ความมุ่งหมายใช้เพื่อแต่งกลิ่นรส มิได้ใช้เป็นส่วนประกอบหลักในผลิตภัณฑ์ แต่เพื่อเติมแต่งให้มีกลิ่นรสเป็นไปตามความพอใจของผู้บริโภค
กรณีน้ำต้มใบกระท่อม ซึ่งมีส่วนประกอบหลักคือ ใบกระท่อม และน้ำ ควรมีข้อมูลประกอบการพิจารณาเพิ่มเติม เกี่ยวกับน้ำใบกระท่อม เช่น คุณสมบัติ ประโยชน์ในทางอาหาร สารสำคัญ
ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนประกอบของพืชกระท่อม