ตอบ
- ข้อกำหนดพื้นฐาน ของ GMP 420 มีข้อกำหนดสำคัญที่ปรับปรุง ดังนี้
(1) จัดหมวดข้อกำหนดให้กระชับ และชัดเจน ในการตรวจประเมิน แต่ยังคงมีข้อกำหนดครบถ้วน ที่สำคัญไม่ต่างไปจากเดิม ดังนี้
หมวดที่ 1 สถานที่ตั้ง อาคารผลิต การทำความสะอาด และการบำรุงรักษา
หมวดที่ 2 เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์การผลิต การทำความสะอาดและการบำรุงรักษา
หมวดที่ 3 การควบคุมกระบวนการผลิต
หมวดที่ 5 สุขลักษณะส่วนบุคคล
โดยนำเนื้อหาของหมวดการบำรุงรักษาและการทำความสะอาด ไปรวมกับ หมวด 1 สถานที่ตั้งฯ และ หมวด 2 เครื่องมือฯ และนำเนื้อหาของข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดการสารเคมี และอุปกรณ์ในการบำรุงรักษา/ทำความสะอาด ไปรวมกับหมวด 4 การสุขาภิบาล
(2) เพิ่มความชัดเจนของข้อกำหนด เพื่อลดปัญหาผลิตภัณฑ์อาหารไม่ได้มาตรฐาน ได้แก่
ข้อ 1.8 จัดให้มีห้องบรรจุ หรือมีมาตรการจัดการพื้นที่บรรจุ เพื่อป้องกันการปนเปื้อนซ้ำหลังการฆ่าเชื้อผลิตภัณฑ์แล้ว
ข้อ 3.4 มีการควบคุมกระบวนการลดและขจัดอันตรายด้านจุลินทรีย์ให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่อการบริโภค มีการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ และบันทึกผล
ข้อ 3.5 กรณีการผลิตที่ไม่มีกระบวนการลดและขจัดอันตรายด้านจุลินทรีย์ให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่อการบริโภค เช่น ผสม แบ่งบรรจุ ตัดแต่งอาหารสด ต้องมีมาตรการการควบคุมการปนเปื้อนตลอดกระบวนการผลิตอย่างเข้มงวด เช่น การคัดเลือกวัตถุดิบ มาตรการป้องกันการปนเปื้อนจากคน พื้นผิวสัมผัสอาหารสิ่งแวดล้อม ตามความเสี่ยงของอาหารนั้น ๆ
ข้อ 3.9.2 มีการเก็บรักษาและขนส่งผลิตภัณฑ์สุดท้ายเพื่อจำหน่ายอย่างเหมาะสม มีอุปกรณ์หรือพาหนะขนส่งอาหารที่สามารถรักษาคุณภาพของอาหารได้ ทำความสะอาดหรือฆ่าเชื้อบริเวณหรือพื้นผิวในการจัดเก็บผลิตภัณฑ์สุดท้ายได้ง่าย ป้องกันการปนเปื้อนข้ามจากพาหนะขนส่ง ผู้ปฏิบัติงาน และสิ่งแวดล้อม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(3) เพิ่มข้อกำหนด เพื่อยกระดับการกำกับดูแลอาหารเชิงระบบเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและทัดเทียมข้อกำหนดสากล โดยสอดคล้องตามมาตรฐาน Codex ฉบับปัจจุบัน ได้แก่
ข้อ 3.8 มีการบ่งชี้ข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการตามสอบย้อนกลับ เพื่อหาสาเหตุข้อบกพร่องหรือปัญหาการปนเปื้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ชนิด รุ่นการผลิตและแหล่งที่มา ของวัตถุดิบ ภาชนะบรรจุ ผลิตภัณฑ์สุดท้าย ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน
ข้อ 3.10 มีบันทึกเกี่ยวกับชนิด ปริมาณการผลิต และข้อมูลการจัดจำหน่าย รวมทั้งมีวิธีการเรียกคืนสินค้า โดยเฉพาะกรณีการผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
ข้อ 3.11 มีการจัดการผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐานอย่างเหมาะสม โดยการคัดแยกหรือทำลาย เพื่อป้องกันการนำผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐานไปใช้หรือบริโภค
ข้อ 3.12 มีการเก็บรักษาบันทึกและรายงาน หลังจากพ้นระยะเวลาการวางจำหน่ายที่แสดงในฉลากผลิตภัณฑ์อย่างน้อย 1 ปี
ข้อ 3.13 มีการตรวจประเมินตนเอง (Internal Quality Audit; IQA) โดยหน่วยงานภายในหรือภายนอก ตามประกาศฯ ฉบับใหม่นี้ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และดำเนินการโดยผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในระบบประกันคุณภาพอาหาร
การบังคับใช้ GMP กฎหมาย