อย
กองอาหาร

FOOD DIVISION
  • เว็บลิงก์
  • ติดต่อเรา
  • ร้องเรียน
  • คำถามที่พบบ่อย
EN
  • หน้าแรก
  • กฏหมายอาหาร
    • ข่าวสารด้านกฎหมายอาหาร
    • กฎหมายอาหารและกฎหมายลำดับรอง
      • พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522
      • กฎกระทรวงสาธารณสุข
      • ประกาศกระทรวงสาธารณสุข
      • ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
      • ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
      • คำสั่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
      • คำสั่งคณะกรรมการอาหาร
    • ผลิตภัณฑ์อาหาร
    • วัตถุเจือปนอาหาร
    • การใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติกในอาหาร
    • การแสดงฉลากอาหารและฉลากโภชนาการ
    • มาตรฐานอาหารด้านจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค
    • ภาชนะบรรจุ
    • มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน
    • มาตรฐานอาหารที่มีสารพิษ-ยาสัตว์ตกค้าง
    • อาหารจากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม
    • GMP (มาตรฐานระบบการผลิตอาหาร)
    • อาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย
    • เอกสารเผยแพร่ด้านกฎหมายอาหาร
  • บริการข้อมูลสำหรับผู้ประกอบการ
    • คู่มือสำหรับประชาชน
    • การยื่นขออนุญาตด้านอาหาร
    • หลักเกณฑ์ / ข้อกำหนด
    • ระบบ e-Submission
    • ระบบเลขเสมือน (FM,FG)
    • ระบบให้คำปรึกษาออนไลน์ (e-consult)
    • โปรแกรมสำหรับผู้ประกอบการ
    • หน่วยตรวจหรือหน่วยรับรองสถานที่ผลิตอาหาร
    • หน่วยตรวจวิเคราะห์อาหาร/ ภาชนะบรรจุอาหาร
    • หน่วยฝึกอบรมที่ขึ้นบัญชีกับ อย.
    • ข้อมูลการขออนุญาตผู้ประกอบการเศรษฐกิจฐานราก ให้ได้มาตรฐาน อย. และส่งออก
  • บริการข้อมูล
    • ตรวจสอบการอนุญาตผลิตภัณฑ์อาหาร
    • ข่าวสารด้านความปลอดภัยอาหาร
    • ผลิตภัณฑ์อาหารที่ผิดกฎหมาย และถูกถอนเลขสารบบ
    • ประกาศผลการตรวจพิสูจน์อาหาร
    • คู่มือ/สื่อเผยแพร่
    • คำถามที่พบบ่อย
    • ผู้เชี่ยวชาญ องค์กรผู้เชี่ยวชาญฯ ที่ขึ้นบัญชีกับ อย.
  • ประชาสัมพันธ์
    • ข่าวสารประชาสัมพันธ์
    • ข่าวสารด้านกฎหมายอาหาร
    • ข่าวสารด้านความปลอดภัยอาหาร
    • การอบรม / สัมมนา
    • รับสมัครงาน
    • ปฏิทินกิจกรรม
  • เกี่ยวกับกองอาหาร
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
    • โครงสร้างหน่วยงาน
    • สำหรับเจ้าหน้าที่
      • ความรู้ที่จำเป็นสำหรับพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ. อาหาร
      • ระบบ e-saraban
      • จองห้องประชุม
    • หน้าแรก
    • กฏหมายอาหาร
      • ข่าวสารด้านกฎหมายอาหาร
      • กฎหมายอาหารและกฎหมายลำดับรอง
        • พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522
        • กฎกระทรวงสาธารณสุข
        • ประกาศกระทรวงสาธารณสุข
        • ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
        • ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
        • คำสั่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
        • คำสั่งคณะกรรมการอาหาร
      • ผลิตภัณฑ์อาหาร
      • วัตถุเจือปนอาหาร
      • การใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติกในอาหาร
      • การแสดงฉลากอาหารและฉลากโภชนาการ
      • มาตรฐานอาหารด้านจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค
      • ภาชนะบรรจุ
      • มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน
      • มาตรฐานอาหารที่มีสารพิษ-ยาสัตว์ตกค้าง
      • อาหารจากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม
      • GMP (มาตรฐานระบบการผลิตอาหาร)
      • อาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย
      • เอกสารเผยแพร่ด้านกฎหมายอาหาร
    • บริการข้อมูลสำหรับผู้ประกอบการ
      • คู่มือสำหรับประชาชน
      • การยื่นขออนุญาตด้านอาหาร
      • หลักเกณฑ์ / ข้อกำหนด
      • ระบบ e-Submission
      • ระบบเลขเสมือน (FM,FG)
      • ระบบให้คำปรึกษาออนไลน์ (e-consult)
      • โปรแกรมสำหรับผู้ประกอบการ
      • หน่วยตรวจหรือหน่วยรับรองสถานที่ผลิตอาหาร
      • หน่วยตรวจวิเคราะห์อาหาร/ ภาชนะบรรจุอาหาร
      • หน่วยฝึกอบรมที่ขึ้นบัญชีกับ อย.
      • ข้อมูลการขออนุญาตผู้ประกอบการเศรษฐกิจฐานราก ให้ได้มาตรฐาน อย. และส่งออก
    • บริการข้อมูล
      • ตรวจสอบการอนุญาตผลิตภัณฑ์อาหาร
      • ข่าวสารด้านความปลอดภัยอาหาร
      • ผลิตภัณฑ์อาหารที่ผิดกฎหมาย และถูกถอนเลขสารบบ
      • ประกาศผลการตรวจพิสูจน์อาหาร
      • คู่มือ/สื่อเผยแพร่
      • คำถามที่พบบ่อย
      • ผู้เชี่ยวชาญ องค์กรผู้เชี่ยวชาญฯ ที่ขึ้นบัญชีกับ อย.
    • ประชาสัมพันธ์
      • ข่าวสารประชาสัมพันธ์
      • ข่าวสารด้านกฎหมายอาหาร
      • ข่าวสารด้านความปลอดภัยอาหาร
      • การอบรม / สัมมนา
      • รับสมัครงาน
      • ปฏิทินกิจกรรม
    • เกี่ยวกับกองอาหาร
      • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
      • โครงสร้างหน่วยงาน
      • สำหรับเจ้าหน้าที่
        • ความรู้ที่จำเป็นสำหรับพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ. อาหาร
        • ระบบ e-saraban
        • จองห้องประชุม
      • เว็บลิงก์
      • ติดต่อเรา
      • ร้องเรียน
      • คำถามที่พบบ่อย
      ภาษา
      EN
      image assembly
      การเข้าถึง
      close assembly
      • ขนาดตัวอักษร
        • ก
        • ก
        • ก
      • การเว้นระยะห่าง
        • icon space 1
        • icon space 2
        • icon space 3
      • ความตัดกันของสี
        • icon color 1สีปกติ
        • icon color 2ขาวดำ
        • icon color 3ดำ-เหลือง
      banner

      FAQs

      • หน้าแรก
      • คำถามที่พบบ่อย

      คำถามที่พบบ่อย


      คำถามที่พบบ่อย
      • การขออนุญาตด้านอาหาร
      • ระบบ e-submission
        • ระบบ e-Submission อาหาร (สำหรับผู้ประกอบการ)
      • การจัดประเภทอาหาร
      • กระบวนการผลิตอาหาร
        • หน่วยตรวจสอบและหน่วยรับรองสถานประกอบการอาหาร
        • การบังคับใช้ GMP กฎหมาย
        • GMP 420 สำหรับผู้ผลิตรายย่อยไม่ยากอย่างที่คิด
        • ผู้ควบคุมการผลิตน้ำฯ
      • ผลิตภัณฑ์อาหาร
        • ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนประกอบของกัญชา/กัญชง
          • สถานที่ผลิตอาหาร
          • ผลิตภัณฑ์อาหาร
          • โฆษณา
          • ฉบับประชาชน
        • ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนประกอบของพืชกระท่อม
        • เกลือบริโภคและผลิตภัณฑ์ปรุงรสที่เสริมไอโอดีน
        • ช็อกโกแลตและผลิตภัณฑ์ช็อกโกแลต
        • ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเมล็ดโกโก้
      • วัตถุเจือปนอาหาร
      • สารปนเปื้อน
        • มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน
      • จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค
        • การตรวจวิเคราะห์จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค ตาม ปสธ. (ฉบับที่ 416)
      • อาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย
        • ไขมันทรานส์ ตาม ปสธ. (ฉบับที่ 388)
      • อาหารที่ได้จากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม
        • อาหารที่ได้จากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมและการแสดงฉลาก
      • การแสดงฉลาก
        • การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ
        • การแสดงฉลาก GDA
        • ฉลากโภชนาการ
        • ทำฉลากอาหารอย่างไรไม่ให้ถูกดำเนินคดี
      • การโฆษณาอาหาร
        • โฆษณาอาหาร แต่ไม่อยากถูกจับ ทำอย่างไร
      • การยื่นประเมินความปลอดภัย
        • การยื่นประเมินความปลอดภัยอาหาร

      ตอบ ประกาศนี้ไม่ครอบคลุมถึงการกำหนดมาตรฐานเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคสำหรับภาชนะบรรจุอาหาร อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติขณะนี้การตรวจวิเคราะห์จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคสำหรับภาชนะบรรจุอาหารเพื่อประกอบการยื่นขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร/ขอรับเลขสารบบอาหาร ต้องวิเคราะห์จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค 4 ชนิด คือ Salmonella spp.  Stapylococcous aureus  Bacillus cereus และClostirdium perfringens โดยกำหนดว่า ต้องไม่พบการปนเปื้อน

       

      link.png    การตรวจวิเคราะห์จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค ตาม ปสธ. (ฉบับที่ 416)

          

       

      ตอบ การที่ อย. ได้นำหลักเกณฑ์ GMP Codex มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย และประกาศเป็นมาตรฐานบังคับใช้ตามกฎหมาย ให้ผู้ผลิตนำไปปฏิบัติและพัฒนาสถานที่ผลิตให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด มีเป้าหมายเพื่อยกระดับการคุ้มครองผู้บริโภคให้ทัดเทียมสากล โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 6(7) แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วย วิธีการผลิต เครื่องมือ เครื่องใช้ในการผลิตและการเก็บรักษาอาหาร เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2543 โดยบังคับใช้กับอาหาร 57 ประเภทที่มีความพร้อมก่อน และต่อมาได้มีการประกาศบังคับใช้เพิ่มเติมกับอาหารอีกหลายประเภทเพื่อยกระดับมาตรฐานการผลิตและแก้ไขปัญหาความไม่ปลอดภัยของอาหารอีกหลายฉบับ ทำให้สถานที่ผลิตที่มีการผลิตอาหารหลายประเภท ต้องปฏิบัติตามเกณฑ์การบังคับใช้ที่แตกต่างกันในบางประเด็นทั้งที่อยู่ในหมวดข้อกำหนดเดียวกัน นอกจากนี้การใช้บันทึกการตรวจประเมินหลายฉบับทำให้เจ้าหน้าที่มีข้อจำกัดในการจัดทำบันทึกการตรวจประเมิน ดังนั้น อย. จึงได้ปรับปรุงข้อกำหนดตามหลักเกณฑ์ GMP ให้เป็นฉบับเดียวที่สามารถใช้ประเมินอาหารได้ทุกประเภทตามความเสี่ยงของอาหารที่ผลิต เพื่อลดความซ้ำซ้อนของการใช้บันทึกการตรวจประเมิน พร้อมกับปรับปรุงและเพิ่มเติมข้อกำหนดเพื่อยกระดับมาตรฐานให้สามารถลดปัญหาด้านคุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อาหารที่ผลิต และยกระดับการกำกับดูแลอาหารเชิงระบบเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และทัดเทียมข้อกำหนดสากล

       

      link.png   การบังคับใช้ GMP กฎหมาย

      ตอบ 

      • GMP 420 ได้ปรับปรุงข้อกำหนด GMP อาหาร จำนวน 5 ฉบับ ได้แก่ GMP 193,  GMP 220, GMP 298, GMP 342 และ GMP 349 โดยจัดทำเป็นข้อกำหนด GMP ฉบับเดียวที่สามารถใช้ประเมินอาหารได้ทุกประเภทตามความเสี่ยงของอาหารที่ผลิต เพื่อลดความซ้ำซ้อนของการใช้บันทึกการตรวจ และปรับปรุงข้อกำหนดบางข้อให้มีความเท่าเทียมเป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยแบ่งข้อกำหนดออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 กำหนดเป็น"ข้อกำหนดพื้นฐาน" ซึ่งจะนำข้อกำหนดที่ผู้ผลิตอาหารทุกประเภทต้องนำไปปฏิบัติทุกแห่งไว้ด้วยกัน และส่วนที่ 2 กำหนดเป็น "ข้อกำหนดเฉพาะ" ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่ต้องนำไปปฏิบัติเฉพาะสำหรับการผลิตอาหารบางประเภทที่มีความเสี่ยงในระบบการผลิต โดยมีประเด็นที่ปรับเปลี่ยนสรุปในภาพรวมดังนี้
      ข้อกำหนดพื้นฐาน ข้อกำหนดเฉพาะ
      (ปรับปรุงจาก GMP193 และ GMP342) (ปรับปรุงมาจาก GMP 220, GMP 298, และ GMP 349)
      1. จัดหมวดข้อกำหนดให้กระชับ ชัดเจน แต่ยังคงมีข้อกำหนดครบถ้วนที่สำคัญไม่ต่างไปจากเดิม
      2. เพิ่มความชัดเจนของข้อกำหนด เพื่อลดปัญหาผลิตภัณฑ์ไม่ได้มาตรฐาน
      3. เพิ่มข้อกำหนด เพื่อยกระดับการกำกับดูแลอาหารเชิงระบบเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และทัดเทียมสากล สอดคล้องตามมาตรฐาน Codex ฉบับปัจจุบัน (CXC1-1969 Revised in 2020)
      4. ขยายขอบข่ายการบังคับใช้คลอบคลุมอาหารทั่วไปที่มิได้บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่าย
      1. กำหนดให้ต้องมีผู้ควบคุมการผลิตน้ำบริโภคฯ น้ำแร่ธรรมชาติ น้ำแข็งบริโภค เช่นเดียวกับผู้ควบคุมการผลิตนมพาสเจอไรซ์ และผู้ผลิตอาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทชนิดที่มีความเป็นกรดต่ำและชนิดปรับกรด
      2. ปรับวิธีตรวจประเมินเป็น 2 ระดับ คือ ผ่าน และไม่ผ่าน
      3. ปรับลดขอบข่ายการบังคับใช้ข้อกำหนดเฉพาะผลิตภัณฑ์นมพาสเจอไรซ์ ไม่บังคับใช้กับนมเปรี้ยว
      4. ปรับข้อกำหนดรองรับการผลิตอาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทชนิดที่มีความเป็นกรดต่ำ โดยใช้กรรมวิธีควบคุมค่าวอเตอร์แอคติวิตีเพื่อยับยั้งการงอกของสปอร์เชื้อคอสตริเดียม โบทูลินั่ม

       

      link.png   การบังคับใช้ GMP กฎหมาย

      ตอบ จากมติของคณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดคุณภาพ มาตรฐาน และหลักเกณฑ์วิธีการ เงื่อนไข และมาตรการในการกำกับดูแลอาหารตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 (อ.2) ครั้งที่ 6-2/2563 วันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม 2563  เห็นว่าประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 386 พ.ศ.2560 เรื่อง กำหนดวิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาผักหรือผลไม้สดบางชนิดและการแสดงฉลาก เพิ่งบังคับใช้เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2562 จึงเห็นควรคงประกาศนี้ไว้ก่อนโดยไม่นำมารวม หากมีข้อขัดข้องหรือแก้ไขในทางปฏิบัติ จะดำเนินการปรับปรุงในโอกาสต่อไป 

       

      link.png   การบังคับใช้ GMP กฎหมาย

      ตอบ

        • ข้อกำหนดพื้นฐาน ของ GMP 420 มีข้อกำหนดสำคัญที่ปรับปรุง ดังนี้

                       (1) จัดหมวดข้อกำหนดให้กระชับ และชัดเจน ในการตรวจประเมิน แต่ยังคงมีข้อกำหนดครบถ้วน ที่สำคัญไม่ต่างไปจากเดิม ดังนี้

               หมวดที่ 1 สถานที่ตั้ง อาคารผลิต การทำความสะอาด และการบำรุงรักษา

      หมวดที่ 2 เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์การผลิต การทำความสะอาดและการบำรุงรักษา

      หมวดที่ 3 การควบคุมกระบวนการผลิต

      หมวดที่ 4 การสุขาภิบาล

      หมวดที่ 5 สุขลักษณะส่วนบุคคล

                       โดยนำเนื้อหาของหมวดการบำรุงรักษาและการทำความสะอาด ไปรวมกับ หมวด 1 สถานที่ตั้งฯ และ หมวด 2 เครื่องมือฯ และนำเนื้อหาของข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดการสารเคมี และอุปกรณ์ในการบำรุงรักษา/ทำความสะอาด ไปรวมกับหมวด 4  การสุขาภิบาล

                       (2) เพิ่มความชัดเจนของข้อกำหนด เพื่อลดปัญหาผลิตภัณฑ์อาหารไม่ได้มาตรฐาน ได้แก่

      ข้อ 1.8 จัดให้มีห้องบรรจุ หรือมีมาตรการจัดการพื้นที่บรรจุ เพื่อป้องกันการปนเปื้อนซ้ำหลังการฆ่าเชื้อผลิตภัณฑ์แล้ว

      ข้อ 3.4 มีการควบคุมกระบวนการลดและขจัดอันตรายด้านจุลินทรีย์ให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่อการบริโภค มีการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ และบันทึกผล

      ข้อ 3.5 กรณีการผลิตที่ไม่มีกระบวนการลดและขจัดอันตรายด้านจุลินทรีย์ให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่อการบริโภค เช่น ผสม แบ่งบรรจุ ตัดแต่งอาหารสด ต้องมีมาตรการการควบคุมการปนเปื้อนตลอดกระบวนการผลิตอย่างเข้มงวด เช่น การคัดเลือกวัตถุดิบ มาตรการป้องกันการปนเปื้อนจากคน พื้นผิวสัมผัสอาหารสิ่งแวดล้อม ตามความเสี่ยงของอาหารนั้น ๆ

      ข้อ 3.9.2 มีการเก็บรักษาและขนส่งผลิตภัณฑ์สุดท้ายเพื่อจำหน่ายอย่างเหมาะสม มีอุปกรณ์หรือพาหนะขนส่งอาหารที่สามารถรักษาคุณภาพของอาหารได้ ทำความสะอาดหรือฆ่าเชื้อบริเวณหรือพื้นผิวในการจัดเก็บผลิตภัณฑ์สุดท้ายได้ง่าย ป้องกันการปนเปื้อนข้ามจากพาหนะขนส่ง ผู้ปฏิบัติงาน และสิ่งแวดล้อม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                       (3) เพิ่มข้อกำหนด เพื่อยกระดับการกำกับดูแลอาหารเชิงระบบเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและทัดเทียมข้อกำหนดสากล โดยสอดคล้องตามมาตรฐาน Codex ฉบับปัจจุบัน ได้แก่

      ข้อ 3.8   มีการบ่งชี้ข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการตามสอบย้อนกลับ เพื่อหาสาเหตุข้อบกพร่องหรือปัญหาการปนเปื้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ชนิด รุ่นการผลิตและแหล่งที่มา ของวัตถุดิบ ภาชนะบรรจุ ผลิตภัณฑ์สุดท้าย ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน

      ข้อ 3.10  มีบันทึกเกี่ยวกับชนิด ปริมาณการผลิต และข้อมูลการจัดจำหน่าย รวมทั้งมีวิธีการเรียกคืนสินค้า โดยเฉพาะกรณีการผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

      ข้อ 3.11 มีการจัดการผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐานอย่างเหมาะสม โดยการคัดแยกหรือทำลาย เพื่อป้องกันการนำผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐานไปใช้หรือบริโภค

      ข้อ 3.12 มีการเก็บรักษาบันทึกและรายงาน หลังจากพ้นระยะเวลาการวางจำหน่ายที่แสดงในฉลากผลิตภัณฑ์อย่างน้อย 1 ปี

      ข้อ 3.13 มีการตรวจประเมินตนเอง (Internal Quality Audit; IQA) โดยหน่วยงานภายในหรือภายนอก ตามประกาศฯ ฉบับใหม่นี้ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และดำเนินการโดยผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในระบบประกันคุณภาพอาหาร

       

      link.png   การบังคับใช้ GMP กฎหมาย

      ตอบ 

      • GMP 420 แบ่งข้อกำหนดเป็น 2 ส่วน คือ

                       ส่วนที่ 1 ข้อกำหนดพื้นฐาน บังคับใช้กับผู้ผลิตอาหารตามข้อ 2 ทุกประเภทต้องนำไปปฏิบัติ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ผู้ผลิตมีมาตรการป้องกันการปนเปื้อน หรือลด หรือขจัดอันตรายทั้งทางด้านกายภาพ เคมี และจุลินทรีย์ จากสิ่งแวดล้อม อาคารผลิต เครื่องมือเครื่องจักรหรืออุปกรณ์การผลิต ภาชนะบรรจุ ผู้ปฏิบัติงาน ในกระบวนการผลิตทุกขั้นตอน รวมทั้งการจัดการสุขาภิบาล และสุขลักษณะส่วนบุคคล

                       ส่วนที่ 2 ข้อกำหนดเฉพาะ เป็นข้อกำหนดเพิ่มเติมที่กำหนดไว้เป็นการเฉพาะสำหรับผู้ผลิตอาหารที่มีกรรมวิธีการผลิตเฉพาะและมีความเสี่ยงสูงหากควบคุมการผลิตไม่เหมาะสม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดแนวทางการควบคุมกระบวนการผลิตโดยเฉพาะจุดสำคัญที่ต้องควบคุมเป็นพิเศษเพื่อลดหรือขจัดอันตรายให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ และเกิดความปลอดภัย จำนวน 3 รายการ ดังนี้

      (1)  การผลิตน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท น้ำแร่ธรรมชาติ และน้ำแข็งบริโภค ที่ผ่านกรรมวิธีการกรอง

      (2)  การผลิตผลิตภัณฑ์นมพร้อมบริโภคชนิดเหลวที่ผ่านกรรมวิธีฆ่าเชื้อด้วยความร้อนโดยวิธีพาสเจอไรซ์

      (3)  การผลิตอาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทชนิดที่มีความเป็นกรดต่ำและชนิดที่ปรับกรด ที่ผ่านกรรมวิธีการฆ่าเชื้อด้วยความร้อนโดยทำให้ปลอดเชื้อเชิงการค้า

       

      link.png   การบังคับใช้ GMP กฎหมาย

      ตอบ 

      • ขยายขอบข่ายการบังคับใช้กับผลิตภัณฑ์ "น้ำแร่ธรรมชาติ" เนื่องจากผ่านกรรมวิธีการกรองที่ต้องควบคุมอย่างเข้มงวดเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค โดยใช้ข้อกำหนดเดียวกันกับ GMP น้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทเดิม เพียงแต่ปรับลดข้อกำหนดที่ได้มีการระบุไว้แล้วในข้อกำหนดพื้นฐานเพื่อลดความซ้ำซ้อน ดังนั้นจะเหลือเฉพาะข้อกำหนดที่เป็นจุดสำคัญที่ต้องควบคุมเป็นพิเศษ ได้แก่ คุณภาพน้ำดิบ การปรับคุณภาพน้ำ และการป้องกันการปนเปื้อนซ้ำ
      • เพิ่มข้อกำหนดกรณีผลิต "น้ำแข็งบริโภค" เน้นการป้องกันการปนเปื้อนซ้ำหลังการกรองและกำจัดเชื้อ (Post-contamination) จากภาชนะบรรจุ, พื้นผิวสัมผัสอาหาร, ผู้ปฏิบัติงาน และสิ่งแวดล้อม โดยแยกข้อกำหนดเป็นกรณีผลิต "น้ำแข็งซอง" และกรณีผลิต "น้ำแข็งยูนิต"
      • เพิ่มข้อกำหนดให้ผู้ผลิตอาหารต้องมีการแต่งตั้งผู้ควบคุมการผลิตที่มีความรู้ เช่นเดียวกับกรณีผู้ควบคุมการผลิตนมพาสเจอไรซ์ และผู้ควบคุมการผลิตอาหาร LACF/AF เนื่องจากพบปัญหาขาดความรู้ความเข้าใจและละเลยหน้าที่ในการควบคุมการผลิต

       

      link.png   การบังคับใช้ GMP กฎหมาย

      ตอบ 

      • มีข้อกำหนดเช่นเดียวกันกับ GMP 298 เพียงแต่ปรับลดข้อกำหนดที่ได้มีการระบุไว้แล้วในข้อกำหนดพื้นฐานเพื่อลดความซ้ำซ้อน ดังนั้นจะเหลือเฉพาะข้อกำหนดที่เป็นจุดสำคัญที่ต้องควบคุมเป็นพิเศษ ได้แก่ การรับน้ำนมดิบ การควบคุมกระบวนการพาสเจอไรซ์ และการป้องกันการปนเปื้อนซ้ำ
      • ปรับลดขอบข่ายการบังคับใช้ โดยไม่รวมกรณีผลิต "นมเปรี้ยวพร้อมดื่มพาสเจอไรซ์" เนื่องจากผลิตภัณฑ์มีค่าความเป็นกรด-ด่างไม่เกิน 4.6 สามารถยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ก่อโรคได้ จึงมีความเสี่ยงต่ำสามารถควบคุมได้โดยใช้ข้อกำหนดพื้นฐาน
      • ระบุขอบข่ายการบังคับใช้ โดยให้รวมถึงกรณีแช่เยือกแข็งหลังการพาสเจอไรซ์ เนื่องจากการแช่เยือกแข็งเป็นเพียงวิธีการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์สุดท้ายก่อนการจำหน่าย จำเป็นต้องผ่านการพาสเจอไรซ์เพื่อลดหรือขจัดจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคและที่ทำให้อาหารเน่าเสียมาก่อน การระบุขอบข่ายเพิ่มเติมนี้เพื่อให้เกิดความชัดเจน และลดปัญหาการตีความของข้อกำหนดที่ไม่ตรงกันของผู้ประกอบการและผู้บังคับใช้กฎหมาย
      • ยกเลิกประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง กำหนดคุณสมบัติและความรู้ของผู้ควบคุมการผลิตผลิตภัณฑ์นมพร้อมบริโภคชนิดเหลวที่ผ่านกรรมวิธีฆ่าเชื้อด้วยความร้อนโดยวิธีพาสเจอร์ไรส์ และกำหนดคุณสมบัติให้เท่าเทียมกับกรณีผลิตอาหารที่บังคับใช้ข้อกำหนดเฉพาะอื่น ๆ

       

      link.png   การบังคับใช้ GMP กฎหมาย

      ตอบ 

      • ปรับเพิ่มข้อกำหนด กรณีการผลิตอาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทชนิดที่มีความเป็นกรดต่ำ ที่ใช้วิธีการควบคุมค่าวอเตอร์แอคติวิตี้ (low-acid water activity control method) เพื่อยับยั้งการงอกของสปอร์คลอสตริเดียม โบทูลินั่ม (Clostridium botulinum) แทนการใช้วิธีการทำลายสปอร์ เพื่อรองรับการผลิตอาหารบางประเภทและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของอุตสาหกรรมอาหาร
      • ปรับปรุงข้อกำหนดโดยแบ่งหัวข้อตามกรรมวิธีการผลิต เพื่อความชัดเจนในการปฏิบัติ และง่ายต่อการตรวจประเมิน ได้แก่ 1) retorted method, 2) aseptic processing and aseptic packaging systems, 3) acidification, 4) water activity control method
      • สำหรับข้อกำหนดอื่นๆ ยังคงมีเนื้อหาเช่นเดียวกันกับ GMP 349 เพียงแต่ปรับลดข้อกำหนดที่ได้มีการระบุไว้แล้วในข้อกำหนดพื้นฐานเพื่อลดความซ้ำซ้อน ดังนั้นจะเหลือเฉพาะข้อกำหนดที่เป็นจุดสำคัญที่ต้องควบคุมเป็นพิเศษ ได้แก่ การยืนยันความถูกต้อง (Validation) ของกระบวนการฆ่าเชื้อด้วยความร้อน การควบคุมกระบวนการผลิต และกรรมวิธีการผลิตแบ่งเป็น 4 แบบ ตามที่ระบุข้างต้น
      • ขอบข่ายการบังคับใช้ยังคงเดิม คือ บังคับใช้กับอาหารที่เข้าข่ายเงื่อนไขครบทั้ง 5 ข้อต่อไปนี้
        1. เป็นอาหารที่ผ่านกรรมวิธีที่ใช้ทำลายหรือยังยั้งการขยายพันธุ์ของจุลินทรีย์ด้วยความร้อน ภายหลัง หรือก่อนบรรจุหรือปิดผนึก
        2. เป็นอาหารที่มีความเป็นกรดต่ำ (low acid food) คือ มีค่าความเป็นกรดด่าง มากกว่า 4.6 (pH >4.6) หรือเป็นอาหารที่มีการปรับสภาพให้เป็นกรด (acidified food) จนมีค่าความเป็นกรด-ด่าง ไม่เกิน 4.6 (pH ≤ 4.6)
        3. มีค่าวอเตอร์แอคติวิตี้ (water activity) มากกว่า 0.85 (aw > 0.85)
        4. เก็บรักษาไว้ในภาชนะบรรจุที่ปิดผนึกสนิท ที่เป็นโลหะหรือวัตถุอื่นที่คงรูปหรือไม่คงรูปที่สามารถป้องกันมิให้อากาศภายนอกเข้าไปในภาชนะบรรจุได้
        5. สามารถเก็บรักษาไว้ได้ในอุณหภูมิปกติ

       

      link.png   การบังคับใช้ GMP กฎหมาย

      ตอบ 

      • มีการปรับระดับการควบคุม GMP ของอาหาร 3 ประเภท ได้แก่

                     1)  น้ำแร่ธรรมชาติ

                     2)  น้ำแข็งบริโภค

                     อาหารตามข้อ 1) และ 2) ได้เพิ่มระดับการควบคุมที่เข้มงวดขึ้นจากการบังคับใช้ GMP 193 ซึ่งเป็น GMP ที่ว่าด้วยเรื่องสุขลักษณะการผลิตทั่วไป โดยมีการยกระดับบังคับใช้ GMP เฉพาะผลิตภัณฑ์ ในข้อกำหนดเฉพาะ 1 ของ GMP 420

                    3)  นมเปรี้ยวพร้อมดื่มพาสเจอไรซ์ ลดระดับการควบคุมจากการบังคับใช้ GMP 298 ซึ่งเป็น GMP เฉพาะผลิตภัณฑ์ มาบังคับใช้ ข้อกำหนดพื้นฐาน ของ GMP 420

                    4)  อาหารทั่วไปที่มิได้บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่าย จากเดิมไม่เข้าข่ายการบังคับใช้ GMP 342  ปัจจุบันต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดพื้นฐานของ GMP 420
       
       
      link.png   การบังคับใช้ GMP กฎหมาย
      7374757677
      แสดงผล รายการ
      อย
      กองอาหาร

      FOOD DIVISION

      สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา : 88/24 ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000

      จันทร์ – ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.30 น.

      • Website Policy
      • Privacy Policy
      • Disclaimer

      รองรับการทำงานบน Internet Explorer v9+, Firefox v.20+, Safari v.5+, Chrome v.25+, Opera v.10+

      Sitemap
      หน้าแรก
        กฎหมายอาหาร
        • ข่าวสารด้านกฎหมายอาหาร
        • กฎหมายอาหารและกฎหมายลำดับรอง
        • เอกสารเผยแพร่ด้านกฎหมายอาหาร
        คู่มือสำหรับประชาชน
        • สถานที่ติดต่อยื่นขออนุญาต
        • ระยะเวลาการพิจารณาอนุญาตแต่ละประเภทคำขอ
        บริการข้อมูล
        • ข้อมูลสำหรับผู้บริโภค
        • ข้อมูลสำหรับผู้ประกอบการ
        • คู่มือ / สื่อเผยแพร่
        • คำถามที่พบบ่อย
        ข่าวสารประชาสัมพันธ์
        • ข่าวสารการบริการ
        • ข่าวสารด้านกฎหมายอาหาร
        • ข่าวสารแจ้งเตือนผู้บริโภค
        • การอบรม / สัมมนา
        • รับสมัครงาน
        • ปฏิทินกิจกรรม
        เกี่ยวกับกองอาหาร
        • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
        • โครงสร้างหน่วยงาน
        สำหรับเจ้าหน้าที่
        • ความรู้ที่จำเป็นสำหรับพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ. อาหาร
        • ระบบ e-saraban
        • จองห้องประชุม

        ผู้ชมเว็บไซต์ :

        rss image ipv6 image w3c html image w3c css image
        • แบบสำรวจการให้บริการด้านข้อมูลเว็บไซต์
        • แบบสำรวจความพีงพอใจต่อเว็บไซต์
        Copyright 2020 | สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

        no-popup