อย
กองอาหาร

FOOD DIVISION
  • เว็บลิงก์
  • ติดต่อเรา
  • ร้องเรียน
  • คำถามที่พบบ่อย
EN
  • หน้าแรก
  • กฏหมายอาหาร
    • ข่าวสารด้านกฎหมายอาหาร
    • กฎหมายอาหารและกฎหมายลำดับรอง
      • พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522
      • กฎกระทรวงสาธารณสุข
      • ประกาศกระทรวงสาธารณสุข
      • ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
      • ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
      • คำสั่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
      • คำสั่งคณะกรรมการอาหาร
    • ผลิตภัณฑ์อาหาร
    • วัตถุเจือปนอาหาร
    • การใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติกในอาหาร
    • การแสดงฉลากอาหารและฉลากโภชนาการ
    • มาตรฐานอาหารด้านจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค
    • ภาชนะบรรจุ
    • มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน
    • มาตรฐานอาหารที่มีสารพิษ-ยาสัตว์ตกค้าง
    • อาหารจากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม
    • GMP (มาตรฐานระบบการผลิตอาหาร)
    • อาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย
    • เอกสารเผยแพร่ด้านกฎหมายอาหาร
  • บริการข้อมูลสำหรับผู้ประกอบการ
    • คู่มือสำหรับประชาชน
    • การยื่นขออนุญาตด้านอาหาร
    • หลักเกณฑ์ / ข้อกำหนด
    • ระบบ e-Submission
    • ระบบเลขเสมือน (FM,FG)
    • ระบบให้คำปรึกษาออนไลน์ (e-consult)
    • โปรแกรมสำหรับผู้ประกอบการ
    • หน่วยตรวจหรือหน่วยรับรองสถานที่ผลิตอาหาร
    • หน่วยตรวจวิเคราะห์อาหาร/ ภาชนะบรรจุอาหาร
    • หน่วยฝึกอบรมที่ขึ้นบัญชีกับ อย.
    • ข้อมูลการขออนุญาตผู้ประกอบการเศรษฐกิจฐานราก ให้ได้มาตรฐาน อย. และส่งออก
  • บริการข้อมูล
    • ตรวจสอบการอนุญาตผลิตภัณฑ์อาหาร
    • ข่าวสารด้านความปลอดภัยอาหาร
    • ผลิตภัณฑ์อาหารที่ผิดกฎหมาย และถูกถอนเลขสารบบ
    • ประกาศผลการตรวจพิสูจน์อาหาร
    • คู่มือ/สื่อเผยแพร่
    • คำถามที่พบบ่อย
    • ผู้เชี่ยวชาญ องค์กรผู้เชี่ยวชาญฯ ที่ขึ้นบัญชีกับ อย.
  • ประชาสัมพันธ์
    • ข่าวสารประชาสัมพันธ์
    • ข่าวสารด้านกฎหมายอาหาร
    • ข่าวสารด้านความปลอดภัยอาหาร
    • การอบรม / สัมมนา
    • รับสมัครงาน
    • ปฏิทินกิจกรรม
  • เกี่ยวกับกองอาหาร
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
    • โครงสร้างหน่วยงาน
    • สำหรับเจ้าหน้าที่
      • ความรู้ที่จำเป็นสำหรับพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ. อาหาร
      • ระบบ e-saraban
      • จองห้องประชุม
    • หน้าแรก
    • กฏหมายอาหาร
      • ข่าวสารด้านกฎหมายอาหาร
      • กฎหมายอาหารและกฎหมายลำดับรอง
        • พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522
        • กฎกระทรวงสาธารณสุข
        • ประกาศกระทรวงสาธารณสุข
        • ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
        • ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
        • คำสั่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
        • คำสั่งคณะกรรมการอาหาร
      • ผลิตภัณฑ์อาหาร
      • วัตถุเจือปนอาหาร
      • การใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติกในอาหาร
      • การแสดงฉลากอาหารและฉลากโภชนาการ
      • มาตรฐานอาหารด้านจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค
      • ภาชนะบรรจุ
      • มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน
      • มาตรฐานอาหารที่มีสารพิษ-ยาสัตว์ตกค้าง
      • อาหารจากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม
      • GMP (มาตรฐานระบบการผลิตอาหาร)
      • อาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย
      • เอกสารเผยแพร่ด้านกฎหมายอาหาร
    • บริการข้อมูลสำหรับผู้ประกอบการ
      • คู่มือสำหรับประชาชน
      • การยื่นขออนุญาตด้านอาหาร
      • หลักเกณฑ์ / ข้อกำหนด
      • ระบบ e-Submission
      • ระบบเลขเสมือน (FM,FG)
      • ระบบให้คำปรึกษาออนไลน์ (e-consult)
      • โปรแกรมสำหรับผู้ประกอบการ
      • หน่วยตรวจหรือหน่วยรับรองสถานที่ผลิตอาหาร
      • หน่วยตรวจวิเคราะห์อาหาร/ ภาชนะบรรจุอาหาร
      • หน่วยฝึกอบรมที่ขึ้นบัญชีกับ อย.
      • ข้อมูลการขออนุญาตผู้ประกอบการเศรษฐกิจฐานราก ให้ได้มาตรฐาน อย. และส่งออก
    • บริการข้อมูล
      • ตรวจสอบการอนุญาตผลิตภัณฑ์อาหาร
      • ข่าวสารด้านความปลอดภัยอาหาร
      • ผลิตภัณฑ์อาหารที่ผิดกฎหมาย และถูกถอนเลขสารบบ
      • ประกาศผลการตรวจพิสูจน์อาหาร
      • คู่มือ/สื่อเผยแพร่
      • คำถามที่พบบ่อย
      • ผู้เชี่ยวชาญ องค์กรผู้เชี่ยวชาญฯ ที่ขึ้นบัญชีกับ อย.
    • ประชาสัมพันธ์
      • ข่าวสารประชาสัมพันธ์
      • ข่าวสารด้านกฎหมายอาหาร
      • ข่าวสารด้านความปลอดภัยอาหาร
      • การอบรม / สัมมนา
      • รับสมัครงาน
      • ปฏิทินกิจกรรม
    • เกี่ยวกับกองอาหาร
      • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
      • โครงสร้างหน่วยงาน
      • สำหรับเจ้าหน้าที่
        • ความรู้ที่จำเป็นสำหรับพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ. อาหาร
        • ระบบ e-saraban
        • จองห้องประชุม
      • เว็บลิงก์
      • ติดต่อเรา
      • ร้องเรียน
      • คำถามที่พบบ่อย
      ภาษา
      EN
      image assembly
      การเข้าถึง
      close assembly
      • ขนาดตัวอักษร
        • ก
        • ก
        • ก
      • การเว้นระยะห่าง
        • icon space 1
        • icon space 2
        • icon space 3
      • ความตัดกันของสี
        • icon color 1สีปกติ
        • icon color 2ขาวดำ
        • icon color 3ดำ-เหลือง
      banner

      FAQs

      • หน้าแรก
      • คำถามที่พบบ่อย

      คำถามที่พบบ่อย


      คำถามที่พบบ่อย
      • การขออนุญาตด้านอาหาร
      • ระบบ e-submission
        • ระบบ e-Submission อาหาร (สำหรับผู้ประกอบการ)
      • การจัดประเภทอาหาร
      • กระบวนการผลิตอาหาร
        • หน่วยตรวจสอบและหน่วยรับรองสถานประกอบการอาหาร
        • การบังคับใช้ GMP กฎหมาย
        • GMP 420 สำหรับผู้ผลิตรายย่อยไม่ยากอย่างที่คิด
        • ผู้ควบคุมการผลิตน้ำฯ
      • ผลิตภัณฑ์อาหาร
        • ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนประกอบของกัญชา/กัญชง
          • สถานที่ผลิตอาหาร
          • ผลิตภัณฑ์อาหาร
          • โฆษณา
          • ฉบับประชาชน
        • ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนประกอบของพืชกระท่อม
        • เกลือบริโภคและผลิตภัณฑ์ปรุงรสที่เสริมไอโอดีน
        • ช็อกโกแลตและผลิตภัณฑ์ช็อกโกแลต
        • ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเมล็ดโกโก้
      • วัตถุเจือปนอาหาร
      • สารปนเปื้อน
        • มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน
      • จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค
        • การตรวจวิเคราะห์จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค ตาม ปสธ. (ฉบับที่ 416)
      • อาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย
        • ไขมันทรานส์ ตาม ปสธ. (ฉบับที่ 388)
      • อาหารที่ได้จากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม
        • อาหารที่ได้จากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมและการแสดงฉลาก
      • การแสดงฉลาก
        • การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ
        • การแสดงฉลาก GDA
        • ฉลากโภชนาการ
        • ทำฉลากอาหารอย่างไรไม่ให้ถูกดำเนินคดี
      • การโฆษณาอาหาร
        • โฆษณาอาหาร แต่ไม่อยากถูกจับ ทำอย่างไร
      • การยื่นประเมินความปลอดภัย
        • การยื่นประเมินความปลอดภัยอาหาร

      ตอบ  มีการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนด สรุปได้ดังตารางที่ 2

      ข้อกำหนดเดิม (GMP 298 และ GMP 349) ข้อกำหนดใหม่ (GMP 420)
      1. กำหนดวุฒิการศึกษาในกรณีผลิตนมพาสเจอไรซ์ แต่ไม่ได้กำหนดในกรณีผลิตอาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทชนิดที่มีความเป็นกรดต่ำ และชนิดที่ปรับกรด (LACF/AF) ไม่กำหนดวุฒิการศึกษา เพื่อให้ผู้ประกอบกิจการรายเล็กสามารถผลิตอาหารให้เป็นไปตามกฎหมาย
      2. ต้องผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรผู้ควบคุมการผลิตฯ กับ อย. หรือหน่วยฝึกอบรมที่ขึ้นบัญชีกับ อย. สำหรับกรณีผลิตอาหาร LACF/AF ขณะที่กรณีผลิตนมพาสเจอไรซ์จะผ่านการอบรมจากหน่วยงานใดก็ได้ กำหนดให้ต้องสอบผ่านและสำเร็จหลักสูตรผู้ควบคุมการผลิตฯ กับ อย. หรือหน่วยฝึกอบรมที่ขึ้นบัญชีกับ อย. ทุกกรณี
      3. มิได้ กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ กำหนดให้ต้องทำหน้าที่อย่างสม่ำเสมอ ควบคุมการผลิตอาหารทุกรุ่นการผลิต ให้ปลอดภัย และเป็นไปตามกฎหมาย รวมทั้งอยู่ประจำในสถานที่ผลิต
      4. มิได้ กำหนดให้ต้องมีการแต่งตั้งเป็นลายลักษณ์อักษร กำหนดให้ต้องมีการแต่งตั้งเป็นลายลักษณ์อักษร

       

      link.png   การบังคับใช้ GMP กฎหมาย

      ตอบ 

      • คุณสมบัติของผู้ควบคุมการผลิตมีเพียงข้อเดียว คือ ต้องมีความรู้ในการควบคุมการผลิต โดยมีหลักฐานการสอบผ่านและสำเร็จหลักสูตรผู้ควบคุมการผลิตอาหารตามข้อกำหนดเฉพาะ 1,2 หรือ 3 (แล้วแต่กรณี) จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือหน่วยฝึกอบรมที่ได้ขึ้นบัญชีไว้กับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดยประกาศนียบัตร สามารถใช้ได้ตลอดไป ไม่มีวันหมดอายุ
      • เงื่อนไขการปฏิบัติงาน ได้แก่
        • ผู้รับอนุญาตผลิตอาหาร ต้องแต่งตั้งบุคลากรในองค์กรอย่างน้อย 1 คน ทำหน้าที่เป็น "ผู้ควบคุมการผลิต" ประจำ ณ สถานที่ผลิต เป็นลายลักษณ์อักษร มีข้อมูล ชื่อสกุล ตำแหน่ง อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ
        • ทำหน้าที่อย่างสม่ำเสมอในการดูแล ควบคุมการผลิตทุกรุ่นให้ปลอดภัยและเป็นไปตามกฎหมาย รวมทั้งทวนสอบบันทึกการควบคุมกระบวนการผลิต
        • ผู้ควบคุมการผลิตอาหาร ต้องอยู่ประจำ ณ สถานที่ผลิต ได้เพียง 1 แห่งเท่านั้น โดยพิจารณาจากเลขที่ใบอนุญาตผลิตอาหาร หรือเลขสถานที่ผลิตอาหารที่ไม่เข้าข่ายโรงงาน
        • สถานที่ผลิต 1 แห่ง สามารถแต่งตั้งผู้ควบคุมการผลิตอาหารได้มากกว่า 1 คน

       

      link.png   การบังคับใช้ GMP กฎหมาย

      ตอบ 

        • หลักสูตรผู้ควบคุมการผลิตอาหารตามหลักเกณฑ์ GMP กฎหมาย มี 3 หลักสูตร ได้แก่
          1. หลักสูตรผู้ควบคุมการผลิตน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท น้ำแร่ธรรมชาติ และน้ำแข็งบริโภค ซึ่งเป็นหลักสูตรใหม่รองรับการปฏิบัติตามข้อกำหนดเฉพาะ 1 ของ GMP 420
          2. หลักสูตรผู้ควบคุมการผลิตผลิตภัณฑ์นมพร้อมบริโภคชนิดเหลว ที่ผ่านกรรมวิธีฆ่าเชื้อด้วยความร้อนโดยวิธีการพาสเจอไรซ์ เป็นหลักสูตรเดิมตามข้อกำหนด GMP 298 ซึ่งสอดคล้องตามข้อกำหนดเฉพาะ 2 ของ GMP 420
          3. หลักสูตรผู้ควบคุมการผลิตอาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทชนิดที่มีความเป็นกรดต่ำ และชนิดที่ปรับกรด เป็นหลักสูตรเดิมตามข้อกำหนด GMP 349 ซึ่งสอดคล้องตามข้อกำหนดเฉพาะ 3 ของ GMP 420
        • หลักสูตรผู้ควบคุมการผลิตน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท น้ำแร่ธรรมชาติ และน้ำแข็งบริโภค

           รูปแบบการอบรมและการสอบวัดความรู้ มี 2 รูปแบบ
          1. ศึกษาด้วยตนเองจากสื่อการเรียนรู้ของกองอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเผยแพร่ทางเว็บไซต์กองอาหาร หรือมูลนิธิ อย. และสมัครเข้ารับการสอบวัดความรู้ ณ ศูนย์สอบ 2 ราย ได้แก่ มูลนิธิ อย. และ สมาคมเภสัชสาธารณสุขแห่งประเภทไทย ซึ่งแจ้งกำหนดการจัดสอบไว้ที่เว็บไซด์ของหน่วยงานทั้งสอง ได้แก่ https://fdafoundation.org/ตารางสอบวัดความรู้-หลัก/ และ https://phpa-th.com/ ทั้งนี้ใบประกาศนียบัตรสอบผ่านและสำเร็จหลักสูตรเป็นแบบอิเล็กทรอนิกส์ สามารถพิมพ์ใบประกาศนียบัตรด้วยตนเองผ่านระบบ e-Certificate
          2. เข้ารับฟังการอบรม แบบบรรยายสด สอบวัดความรู้ และออกใบประกาศนียบัตรสอบผ่านและสำเร็จหลักสูตร จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ หน่วยฝึกอบรมที่ได้รับการขึ้นบัญชีกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

      การติดต่อ และอัตราค่าใช้จ่าย :

          1. สำหรับผู้ประสงค์จะศึกษาด้วยตนเอง และสมัครสอบวัดความรู้ สามารถติดตามประกาศแจ้งกำหนดการจัดสอบวัดความรู้ และรายชื่อศูนย์สอบได้ จากเว็บไซด์ของมูลนิธิ อย. และ สมาคมเภสัชสาธารณสุขแห่งประเภทไทยหน่วยงานทั้งสอง ได้แก่ https://fdafoundation.org/ตารางสอบวัดความรู้-หลัก/ และ https://phpa-th.com/ ตามลำดับ มีค่าธรรมเนียมการสมัครสอบเท่ากันทั่วประเทศในอัตรา 300 บาท/คน/ครั้ง
          2. สำหรับผู้ประสงค์จะเข้ารับฟังการอบรม สามารถติดต่อกำหนดการฝึกอบรม หรือแจ้งความต้องการล่วงหน้า ได้ที่มูลนิธิ อย. หรือ หน่วยฝึกอบรมที่ขึ้นบัญชีกับ อย. (ปัจจุบันมีหน่วยงานที่ขอขึ้นบัญชีเป็นหน่วยฝึกอบรม 1 หน่วยงาน ได้แก่ สมาคมเภสัชสาธารณสุขแห่งประเทศไทย อยู่ระหว่างการดำเนินการ) สามารถติดตามข้อมูลรายชื่อและข้อมูลการติดต่อหน่วยฝึกอบรมที่ขึ้นบัญชีกับ อย. ที่เป็นปัจจุบันได้ที่เว็บไซต์กองอาหาร เมนูไอคอน "หน่วยฝึกอบรมที่ขึ้นบัญชีกับ อย." หรือ URL : https://moph.cc/lXMO5nrST อัตราค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมให้เป็นไปตามที่หน่วยฝึกอบรมกำหนด

      เกณฑ์การสอบผ่านและสำเร็จหลักสูตร :
      มีคะแนนสอบรวมไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 จึงจะได้รับ "ใบประกาศนียบัตรสอบผ่านและสำเร็จหลักสูตร"

       

        • หลักสูตรผู้ควบคุมการผลิตผลิตภัณฑ์นมพร้อมบริโภคชนิดเหลว ที่ผ่านกรรมวิธีฆ่าเชื้อด้วยความร้อนโดยวิธีการพาสเจอไรซ์

          รูปแบบการอบรมและการสอบวัดความรู้
          มีรูปแบบเดียวคือ เข้ารับฟังการอบรม แบบบรรยายสด สอบวัดความรู้ และออกใบประกาศนียบัตรสอบผ่านและสำเร็จหลักสูตร จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ หน่วยฝึกอบรมที่ได้รับการขึ้นบัญชีกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

          การติดต่อ และอัตราค่าใช้จ่าย :
          สามารถติดตามกำหนดการฝึกอบรม หรือแจ้งความต้องการล่วงหน้า ได้ที่สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารแห่งประเทศไทย (FoSTAT) หรือ หน่วยฝึกอบรมที่ขึ้นบัญชีกับ อย. (ปัจจุบันมีผู้สนใจติดต่อขอขึ้นบัญชีเป็นหน่วยฝึกอบรม อยู่ระหว่างประสานงาน) อย่างไรก็ตามสามารถติดตามข้อมูลรายชื่อและข้อมูลการติดต่อหน่วยฝึกอบรมที่ขึ้นบัญชีกับ อย. ที่เป็นปัจจุบันได้ที่เว็บไซต์กองอาหาร เมนูไอคอน "หน่วยฝึกอบรมที่ขึ้นบัญชีกับ อย." หรือ URL : https://moph.cc/lXMO5nrST อัตราค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมให้เป็นไปตามที่หน่วยฝึกอบรมกำหนด

      เกณฑ์การสอบผ่านและสำเร็จหลักสูตร :
      มีคะแนนสอบรวมไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 จึงจะได้รับ "ใบประกาศนียบัตรสอบผ่านและสำเร็จหลักสูตร"

       

        • หลักสูตรผู้ควบคุมการผลิตอาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทชนิดที่มีความเป็นกรดต่ำ และชนิดที่ปรับกรด

          รูปแบบการอบรมและการสอบวัดความรู้
          มีรูปแบบเดียวคือ เข้ารับฟังการอบรม แบบบรรยายสด สอบวัดความรู้ และออกใบประกาศนียบัตรสอบผ่านและสำเร็จหลักสูตร จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ หน่วยฝึกอบรมที่ได้รับการขึ้นบัญชีกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

          การติดต่อ และอัตราค่าใช้จ่าย :
          สามารถติดตามกำหนดการฝึกอบรม หรือแจ้งความต้องการล่วงหน้า ได้ที่ หน่วยฝึกอบรมที่ขึ้นบัญชีกับ อย. ซึ่งปัจจุบันมี 6 หน่วยงาน ได้แก่
            1. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
            2. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
            3. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
            4. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
            5. สถาบันอาหาร
            6. บริษัท ฟู้ด เซอร์วิส แอนด์ คอนชัลแตนท์ จำกัด

      สามารถติดตามข้อมูลรายชื่อและข้อมูลการติดต่อหน่วยฝึกอบรมที่ขึ้นบัญชีกับ อย. ที่เป็นปัจจุบันได้ที่เว็บไซต์กองอาหาร เมนูไอคอน "หน่วยฝึกอบรมที่ขึ้นบัญชีกับ อย." หรือ URL : https://moph.cc/lXMO5nrST อัตราค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมให้เป็นไปตามที่หน่วยฝึกอบรมกำหนด

      เกณฑ์การสอบผ่านและสำเร็จหลักสูตร :
      มีคะแนนสอบรวมไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 จึงจะได้รับ "ใบประกาศนียบัตรสอบผ่านและสำเร็จหลักสูตร"

       

      link.png   การบังคับใช้ GMP กฎหมาย

      ตอบ 

      • สำหรับผู้ผลิตอาหารรายใหม่ คือ ผู้ที่ยังไม่มีใบอนุญาตผลิตอาหาร (แบบ อ.2) หรือใบสำคัญเลขสถานที่ผลิตอาหารกรณีไม่เข้าข่ายโรงงาน (แบบ สบ.1/1) หรือใบอนุญาตนำหรือสั่งอาหารเข้ามาในราชอาณาจักร (แบบ อ.7)  ที่ผลิตน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท น้ำแร่ธรรมชาติ และน้ำแข็งบริโภค จะต้องแต่งตั้งผู้ควบคุมการผลิตที่มีความรู้ได้รับประกาศนียบัติการสอบผ่านและสำเร็จหลักสูตรผู้ควบคุมการผลิตน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท น้ำแร่ธรรมชาติ และน้ำแข็งบริโภค เป็นลายลักษณ์อักษร ตั้งแต่ 11 เม.ย.2564 เป็นต้นไป
      • สำหรับผู้ผลิตอาหารรายเก่า(คือ ผู้รับใบอนุญาตผลิตอาหาร (แบบ อ.2) หรือ คําขอรับเลขสถานที่ผลิตอาหารที่ไม่เข้าข่ายโรงงาน (แบบ สบ.1) หรือใบสำคัญเลขสถานที่ผลิตอาหารกรณีไม่เข้าข่ายโรงงาน (แบบ สบ.1/1) หรือใบอนุญาตนำหรือสั่งอาหารเข้ามาในราชอาณาจักร (แบบ อ.7) ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ มีระยะเวลาผ่อนผันให้ โดยต้องแต่งตั้งผู้ที่ทำหน้าที่ควบคุมการผลิตของสถานประกอบการเป็นลายลักษณ์อักษร และต้องสอบผ่านและสำเร็จหลักสูตรผู้ควบคุมการผลิตน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท น้ำแร่ธรรมชาติ และน้ำแข็งบริโภค ภายในวันที่ 7 ต.ค.2564

       

      link.png   การบังคับใช้ GMP กฎหมาย

      ตอบ 

      • ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณสมบัติและหน้าที่ของผู้ควบคุมการผลิต เป็นข้อกำหนดที่ต้องประเมินขณะตรวจสถานที่ผลิตตามบันทึกการตรวจสถานที่ผลิตอาหาร ตามข้อกำหนดเฉพาะ 1, 2 หรือ 3 (แล้วแต่กรณี) หากผลการตรวจประเมินไม่ผ่านเกณฑ์ในข้อดังกล่าว ถือว่าไม่ผ่านเกณฑ์ GMP 420 ด้วยเช่นกัน
      • การพิจารณาอนุญาตสถานที่ผลิตอาหาร หรือการต่ออายุใบอนุญาตผลิตอาหาร จะออกหลักฐานการอนุญาตได้ต่อเมื่อผู้ประกอบการมีผลการตรวจประเมินผ่านตามข้อกำหนด GMP 420 เท่านั้น ดังนั้นจึงจำเป็นต้องพิจารณาหลักฐานเกี่ยวกับคุณสมบัติและหน้าที่ของผู้ควบคุมการผลิตก่อนการอนุญาต ทั้งนี้อาจกำหนดให้ต้องยื่นหลักฐานตั้งแต่รับคำขอ หรือกรณีมีข้อจำกัดไม่มีกำหนดการสอบวัดความรู้หรือจัดฝึกอบรมในช่วงของการยื่นคำขออนุญาต สามารถอนุโลมให้ยื่นได้หลังจากนั้น แต่ต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนก่อนได้รับอนุญาต

       

      link.png   การบังคับใช้ GMP กฎหมาย

      ตอบ  เจ้าของกิจการ ผู้รับอนุญาต ผู้ดำเนินกิจการ หรือผู้ได้รับมอบอำนาจจากบุคคลดังกล่าวให้ทำหน้าที่บริหารจัดการสถานประกอบการอาหาร เช่น ผู้จัดการโรงงาน เป็นต้น

       

      link.png   การบังคับใช้ GMP กฎหมาย

      ตอบ เนื่องจากการจัดสอบมีวัตถุประสงค์เพื่อวัดความรู้ที่จำเป็นสำหรับผู้ทำหน้าที่ควบคุมการผลิตอาหาร ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่บังคับใช้เป็นกฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาคุณภาพมาตรฐานและความไม่ปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อาหาร จึงจำเป็นต้องมีการยืนยันตัวตนกับเจ้าหน้าที่ผู้คุมสอบ ณ ศูนย์สอบ เพื่อให้แน่ใจว่าผู้สอบเป็นคนเดียวกันกับผู้ควบคุมการผลิตที่สมัครสอบ ไม่มีผู้ใดเข้าสอบแทน หรือมีการทุจริตการสอบในรูปแบบอื่น

       

      link.png   การบังคับใช้ GMP กฎหมาย

      ตอบ 

      • ผู้ควบคุมการผลิตอาหาร คือ ผู้ที่ทำหน้าที่อย่างสม่ำเสมอในการดูแลควบคุมการผลิตทุกรุ่นให้ปลอดภัยและเป็นไปตามกฎหมาย รวมทั้งทวนสอบบันทึกการควบคุมกระบวนการผลิต
      • ผู้ควบคุมการผลิตอาหาร ต้องมีความรู้ในการควบคุมการผลิต โดยมีหลักฐานการสอบผ่านและสำเร็จหลักสูตรผู้ควบคุมการผลิตอาหารตามข้อกำหนดเฉพาะ 1,2 หรือ 3 (แล้วแต่กรณี) จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือหน่วยฝึกอบรมที่ได้ขึ้นบัญชีไว้กับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
      • ผู้ควบคุมการผลิต จึงจะต้องเป็นบุคลากรในองค์กร และประจำสถานที่ผลิตอาหารได้เพียง 1 แห่งเท่านั้นเพื่อที่จะทำหน้าที่ที่ระบุข้างต้นได้อย่างสมบูรณ์ ทั้งนี้หากเจ้าของกิจการ เป็นผู้ทำหน้าที่ผู้ควบคุมการผลิตได้อย่างสมบูรณ์ และมีความรู้สอบผ่านและสำเร็จหลักสูตร ก็สามารถแต่งตั้งตนเองเป็นผู้ควบคุมการผลิตได้เช่นกัน

       

      link.png   การบังคับใช้ GMP กฎหมาย

      ตอบ 

      • ในกรณีนี้ต้องประเมินในส่วนมาตรการการจัดการของสถานที่ประกอบการอาหารนั้น ๆ ว่ามีมาตรการในการดำเนินการเพื่อให้มั่นใจในผลิตภัณฑ์อาหารอย่างไร หากไม่มีมาตรการควบคุมคุณภาพ และความปลอดภัย (มีหรือไม่มีผู้ควบคุมการผลิตอยู่ก็ตาม) ถือว่า "ไม่ผ่านเกณฑ์ตามข้อกำหนดเฉพาะของ GMP 420" และเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งออกตามความในมาตรา 6 (7) แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522  มีโทษตามมาตรา 49 ต้องระวางโทษ ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ดังนั้นผู้ตรวจประเมินจะต้องรายงานผลตรวจประเมินตามความเป็นจริง
      • ในส่วนของการแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าว ต้องให้สถานประกอบการทบทวนและกำหนดมาตรการในการดำเนินการควบคุมการผลิตของผู้ควบคุมการผลิตให้เหมาะสม โดยต้องมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์อาหารที่ผลิตจากสถานประกอบการทุกรุ่นการผลิตได้ผ่านการควบคุมและทวนสอบกระบวนการผลิต ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพมาตรฐานของเป็นไปตามกฎหมาย และมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค

       

      link.png   การบังคับใช้ GMP กฎหมาย

      ตอบ  ผู้ควบคุมการผลิตอาหาร ต้องทำหน้าที่อย่างสม่ำเสมอในการดูแลควบคุมการผลิตทุกรุ่น ให้ปลอดภัยและเป็นไปตามกฎหมาย รวมทั้งทวนสอบบันทึกการควบคุมกระบวนการผลิต จะต้องประจำ ณ สถานที่ผลิต ทั้งนี้กฎหมายมิได้กำหนดช่วงเวลา "ตลอดเวลาที่มีการผลิต" ผู้ควบคุมการผลิตอาหารสามารถบริหารจัดการภาระงานของตนเองได้ตามบริบทของสถานประกอบการแต่ละแห่ง ทั้งนี้ต้องมิให้มีความบกพร่องต่อหน้าที่ความรับผิดชอบตามที่ได้รับการแต่งตั้ง

       

      link.png   การบังคับใช้ GMP กฎหมาย

      7677787980
      แสดงผล รายการ
      อย
      กองอาหาร

      FOOD DIVISION

      สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา : 88/24 ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000

      จันทร์ – ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.30 น.

      • Website Policy
      • Privacy Policy
      • Disclaimer

      รองรับการทำงานบน Internet Explorer v9+, Firefox v.20+, Safari v.5+, Chrome v.25+, Opera v.10+

      Sitemap
      หน้าแรก
        กฎหมายอาหาร
        • ข่าวสารด้านกฎหมายอาหาร
        • กฎหมายอาหารและกฎหมายลำดับรอง
        • เอกสารเผยแพร่ด้านกฎหมายอาหาร
        คู่มือสำหรับประชาชน
        • สถานที่ติดต่อยื่นขออนุญาต
        • ระยะเวลาการพิจารณาอนุญาตแต่ละประเภทคำขอ
        บริการข้อมูล
        • ข้อมูลสำหรับผู้บริโภค
        • ข้อมูลสำหรับผู้ประกอบการ
        • คู่มือ / สื่อเผยแพร่
        • คำถามที่พบบ่อย
        ข่าวสารประชาสัมพันธ์
        • ข่าวสารการบริการ
        • ข่าวสารด้านกฎหมายอาหาร
        • ข่าวสารแจ้งเตือนผู้บริโภค
        • การอบรม / สัมมนา
        • รับสมัครงาน
        • ปฏิทินกิจกรรม
        เกี่ยวกับกองอาหาร
        • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
        • โครงสร้างหน่วยงาน
        สำหรับเจ้าหน้าที่
        • ความรู้ที่จำเป็นสำหรับพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ. อาหาร
        • ระบบ e-saraban
        • จองห้องประชุม

        ผู้ชมเว็บไซต์ :

        rss image ipv6 image w3c html image w3c css image
        • แบบสำรวจการให้บริการด้านข้อมูลเว็บไซต์
        • แบบสำรวจความพีงพอใจต่อเว็บไซต์
        Copyright 2020 | สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

        no-popup