อย
กองอาหาร

FOOD DIVISION
  • เว็บลิงก์
  • ติดต่อเรา
  • ร้องเรียน
  • คำถามที่พบบ่อย
EN
  • หน้าแรก
  • กฏหมายอาหาร
    • ข่าวสารด้านกฎหมายอาหาร
    • กฎหมายอาหารและกฎหมายลำดับรอง
      • พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522
      • กฎกระทรวงสาธารณสุข
      • ประกาศกระทรวงสาธารณสุข
      • ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
      • ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
      • คำสั่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
      • คำสั่งคณะกรรมการอาหาร
    • ผลิตภัณฑ์อาหาร
    • วัตถุเจือปนอาหาร
    • การใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติกในอาหาร
    • การแสดงฉลากอาหารและฉลากโภชนาการ
    • มาตรฐานอาหารด้านจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค
    • ภาชนะบรรจุ
    • มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน
    • มาตรฐานอาหารที่มีสารพิษ-ยาสัตว์ตกค้าง
    • อาหารจากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม
    • GMP (มาตรฐานระบบการผลิตอาหาร)
    • อาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย
    • เอกสารเผยแพร่ด้านกฎหมายอาหาร
  • บริการข้อมูลสำหรับผู้ประกอบการ
    • คู่มือสำหรับประชาชน
    • การยื่นขออนุญาตด้านอาหาร
    • หลักเกณฑ์ / ข้อกำหนด
    • ระบบ e-Submission
    • ระบบเลขเสมือน (FM,FG)
    • ระบบให้คำปรึกษาออนไลน์ (e-consult)
    • โปรแกรมสำหรับผู้ประกอบการ
    • หน่วยตรวจหรือหน่วยรับรองสถานที่ผลิตอาหาร
    • หน่วยตรวจวิเคราะห์อาหาร/ ภาชนะบรรจุอาหาร
    • หน่วยฝึกอบรมที่ขึ้นบัญชีกับ อย.
    • ข้อมูลการขออนุญาตผู้ประกอบการเศรษฐกิจฐานราก ให้ได้มาตรฐาน อย. และส่งออก
  • บริการข้อมูล
    • ตรวจสอบการอนุญาตผลิตภัณฑ์อาหาร
    • ข่าวสารด้านความปลอดภัยอาหาร
    • ผลิตภัณฑ์อาหารที่ผิดกฎหมาย และถูกถอนเลขสารบบ
    • ประกาศผลการตรวจพิสูจน์อาหาร
    • คู่มือ/สื่อเผยแพร่
    • คำถามที่พบบ่อย
    • ผู้เชี่ยวชาญ องค์กรผู้เชี่ยวชาญฯ ที่ขึ้นบัญชีกับ อย.
  • ประชาสัมพันธ์
    • ข่าวสารประชาสัมพันธ์
    • ข่าวสารด้านกฎหมายอาหาร
    • ข่าวสารด้านความปลอดภัยอาหาร
    • การอบรม / สัมมนา
    • รับสมัครงาน
    • ปฏิทินกิจกรรม
  • เกี่ยวกับกองอาหาร
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
    • โครงสร้างหน่วยงาน
    • สำหรับเจ้าหน้าที่
      • ความรู้ที่จำเป็นสำหรับพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ. อาหาร
      • ระบบ e-saraban
      • จองห้องประชุม
    • หน้าแรก
    • กฏหมายอาหาร
      • ข่าวสารด้านกฎหมายอาหาร
      • กฎหมายอาหารและกฎหมายลำดับรอง
        • พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522
        • กฎกระทรวงสาธารณสุข
        • ประกาศกระทรวงสาธารณสุข
        • ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
        • ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
        • คำสั่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
        • คำสั่งคณะกรรมการอาหาร
      • ผลิตภัณฑ์อาหาร
      • วัตถุเจือปนอาหาร
      • การใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติกในอาหาร
      • การแสดงฉลากอาหารและฉลากโภชนาการ
      • มาตรฐานอาหารด้านจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค
      • ภาชนะบรรจุ
      • มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน
      • มาตรฐานอาหารที่มีสารพิษ-ยาสัตว์ตกค้าง
      • อาหารจากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม
      • GMP (มาตรฐานระบบการผลิตอาหาร)
      • อาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย
      • เอกสารเผยแพร่ด้านกฎหมายอาหาร
    • บริการข้อมูลสำหรับผู้ประกอบการ
      • คู่มือสำหรับประชาชน
      • การยื่นขออนุญาตด้านอาหาร
      • หลักเกณฑ์ / ข้อกำหนด
      • ระบบ e-Submission
      • ระบบเลขเสมือน (FM,FG)
      • ระบบให้คำปรึกษาออนไลน์ (e-consult)
      • โปรแกรมสำหรับผู้ประกอบการ
      • หน่วยตรวจหรือหน่วยรับรองสถานที่ผลิตอาหาร
      • หน่วยตรวจวิเคราะห์อาหาร/ ภาชนะบรรจุอาหาร
      • หน่วยฝึกอบรมที่ขึ้นบัญชีกับ อย.
      • ข้อมูลการขออนุญาตผู้ประกอบการเศรษฐกิจฐานราก ให้ได้มาตรฐาน อย. และส่งออก
    • บริการข้อมูล
      • ตรวจสอบการอนุญาตผลิตภัณฑ์อาหาร
      • ข่าวสารด้านความปลอดภัยอาหาร
      • ผลิตภัณฑ์อาหารที่ผิดกฎหมาย และถูกถอนเลขสารบบ
      • ประกาศผลการตรวจพิสูจน์อาหาร
      • คู่มือ/สื่อเผยแพร่
      • คำถามที่พบบ่อย
      • ผู้เชี่ยวชาญ องค์กรผู้เชี่ยวชาญฯ ที่ขึ้นบัญชีกับ อย.
    • ประชาสัมพันธ์
      • ข่าวสารประชาสัมพันธ์
      • ข่าวสารด้านกฎหมายอาหาร
      • ข่าวสารด้านความปลอดภัยอาหาร
      • การอบรม / สัมมนา
      • รับสมัครงาน
      • ปฏิทินกิจกรรม
    • เกี่ยวกับกองอาหาร
      • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
      • โครงสร้างหน่วยงาน
      • สำหรับเจ้าหน้าที่
        • ความรู้ที่จำเป็นสำหรับพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ. อาหาร
        • ระบบ e-saraban
        • จองห้องประชุม
      • เว็บลิงก์
      • ติดต่อเรา
      • ร้องเรียน
      • คำถามที่พบบ่อย
      ภาษา
      EN
      image assembly
      การเข้าถึง
      close assembly
      • ขนาดตัวอักษร
        • ก
        • ก
        • ก
      • การเว้นระยะห่าง
        • icon space 1
        • icon space 2
        • icon space 3
      • ความตัดกันของสี
        • icon color 1สีปกติ
        • icon color 2ขาวดำ
        • icon color 3ดำ-เหลือง
      banner

      FAQs

      • หน้าแรก
      • คำถามที่พบบ่อย

      คำถามที่พบบ่อย


      คำถามที่พบบ่อย
      • การขออนุญาตด้านอาหาร
      • ระบบ e-submission
        • ระบบ e-Submission อาหาร (สำหรับผู้ประกอบการ)
      • การจัดประเภทอาหาร
      • กระบวนการผลิตอาหาร
        • หน่วยตรวจสอบและหน่วยรับรองสถานประกอบการอาหาร
        • การบังคับใช้ GMP กฎหมาย
        • GMP 420 สำหรับผู้ผลิตรายย่อยไม่ยากอย่างที่คิด
        • ผู้ควบคุมการผลิตน้ำฯ
      • ผลิตภัณฑ์อาหาร
        • ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนประกอบของกัญชา/กัญชง
          • สถานที่ผลิตอาหาร
          • ผลิตภัณฑ์อาหาร
          • โฆษณา
          • ฉบับประชาชน
        • ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนประกอบของพืชกระท่อม
        • เกลือบริโภคและผลิตภัณฑ์ปรุงรสที่เสริมไอโอดีน
        • ช็อกโกแลตและผลิตภัณฑ์ช็อกโกแลต
        • ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเมล็ดโกโก้
      • วัตถุเจือปนอาหาร
      • สารปนเปื้อน
        • มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน
      • จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค
        • การตรวจวิเคราะห์จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค ตาม ปสธ. (ฉบับที่ 416)
      • อาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย
        • ไขมันทรานส์ ตาม ปสธ. (ฉบับที่ 388)
      • อาหารที่ได้จากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม
        • อาหารที่ได้จากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมและการแสดงฉลาก
      • การแสดงฉลาก
        • การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ
        • การแสดงฉลาก GDA
        • ฉลากโภชนาการ
        • ทำฉลากอาหารอย่างไรไม่ให้ถูกดำเนินคดี
      • การโฆษณาอาหาร
        • โฆษณาอาหาร แต่ไม่อยากถูกจับ ทำอย่างไร
      • การยื่นประเมินความปลอดภัย
        • การยื่นประเมินความปลอดภัยอาหาร

      คำตอบ  อาหารทุกชนิดไม่จำเป็นต้องตรวจวิเคราะห์หา ดีบุก ตะกั่ว สารหนู ปรอท และแอฟลาทอกซิน  หากไม่ได้มีค่า ML กำหนดไว้สำหรับอาหารหรือวัตถุดิบไว้เป็นการเฉพาะ และหากผู้ผลิตพิจารณาจากข้อมูลวิชาการตามหลักการวิเคราะห์อันตรายแล้วเห็นว่าผลิตภัณฑ์หรือวัตถุดิบนั้นๆ ไม่มีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนสารเหล่านี้ก็ไม่จำเป็นต้องตรวจวิเคราะห์

       

      link.png   มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน

      คำตอบ หากผลิตภัณฑ์อาหารไม่มีค่า ML กำหนดไว้เป็นการเฉพาะ แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายวัตถุดิบแล้วมีค่า ML กำหนดสำหรับวัตถุดิบ ผู้ผลิตอาหารต้องควบคุมคุณภาพมาตรฐานตั้งแต่การคัดเลือกวัตถุดิบตามหลักเกณฑ์ GMPs โดยวัตถุดิบที่ใช้ต้องมีสารปนเปื้อนไม่เกินค่า ML ที่กำหนดไว้

       

      link.png   มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน

      ตอบ  ประกาศฯ ฉบับเก่า เป็นประกาศฯ ที่เริ่มบังคับใช้มาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2529 ซึ่งค่า ML ของสารปนเปื้อนแต่ละชนิดจะมีค่าเท่ากันในอาหารทุกประเภท โดยพิจารณาจากข้อมูลเกี่ยวกับอันตรายของสารที่มีได้ในขณะนั้น ทั้งนี้เมื่อมีข้อมูลเกี่ยวกับการเกิดพิษของสารที่ชัดเจนมากขึ้น รวมทั้งเทคโนโลยีในการตรวจวิเคราะห์ที่มี

               ความแม่นยำขึ้น ทำให้ค่า ML ที่กำหนดไว้เดิมนั้นไม่สามารถคุ้มครองสุขภาพของผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากข้อกำหนดปริมาณการปนเปื้อนมีค่าสูงเกินไปสำหรับอาหารบางชนิดที่ถูกบริโภคครั้งละมากๆ และอาจเป็นอุปสรรคทางการค้าสำหรับอาหารบางชนิดซึ่งถูกบริโภคครั้งละปริมาณน้อยๆ และไม่สามารถหลีกเลี่ยงการปนเปื้อนได้

              ดังนั้นเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ประกาศกระทรวงฯ ฉบับที่ 414 จึงได้มีการปรับค่า ML ของสารปนเปื้อนแต่ละชนิดให้แตกต่างกันตามชนิดของอาหาร สอดคล้องตามหลักการขององค์การมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ เรื่อง มาตรฐานทั่วไปสำหรับสารปนเปื้อนและสารพิษในอาหารและอาหารสัตว์ (Codex General Standard for Contaminants and Toxins in Food and Feed; CODEX STAN 193-1995) ดังนี้

      (1)  กำหนดค่า ML ของสารปนเปื้อนแตกต่างกันในอาหารแต่ละชนิด โดยอาศัยข้อมูลจากการสำรวจสถานการณ์การปนเปื้อนของโลหะหนักแต่ละชนิดในอาหารกลุ่มต่างๆ และการประเมินปริมาณการได้รับสัมผัส

      (2)  ค่า ML ของสารปนเปื้อนตามประกาศกระทรวงฯ ฉบับที่ 414 ส่วนใหญ่จะกำหนดไว้ในวัตถุดิบ เนื่องจากการควบคุมการปนเปื้อนตั้งแต่วัตถุดิบตามหลัก GMPs นั้นมีประสิทธิภาพมากกว่า ประกอบกับผลิตภัณฑ์อาหารสุดท้ายซึ่งมีสูตรส่วนประกอบและวิธีการผลิตที่หลากหลาย ต้องใช้ทรัพยากรในการศึกษาจำนวนมากเพื่อให้ได้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือสำหรับการกำหนดค่า

       

      link.png   มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน

      ตอบ  ค่า ML ของสารปนเปื้อนแต่ละชนิดจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารหรือวัตถุดิบ ซึ่งแตกต่างจากการกำหนดค่าตามประกาศเดิม ดังนี้

      (1)  อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (ป.สธ. ฉ. 355)

      ชนิดสารปนเปื้อน ค่า ML เดิมตาม ป.สธ. ฉ. 355 ค่า ML ใหม่ตาม ป.สธ. ฉ. 414 หมายเหตุ
      ดีบุก 250 mg/kg 50 - 250 mg/kg ขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารและภาชนะบรรจุ
      สังกะสี 100 mg/kg ไม่กำหนด -
      ทองแดง 20 mg/kg ไม่กำหนด -
      ตะกั่ว
      1 mg/kg 0.03-2 mg/kg ตามชนิดอาหารหรือวัตถุดิบ
      สารหนู
      2 mg/kg 0.1 - 2 mg/kg ตามชนิดอาหารหรือวัตถุดิบ
      ปรอท
      0.02 - 0.5 mg/kg 0.02-1.6 mg/kg ตามชนิดอาหารหรือวัตถุดิบ

      * กรณีที่ไม่มีค่า ML กำหนดในวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์อาหารไว้เป็นการเฉพาะ สามารถอ้างอิงค่า ML ได้จากค่าที่กำหนดไว้สำหรับอาหารอื่น หากมีข้อมูลทางวิชาการสนับสนุนว่าอาหารนั้นมีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อน

      (2)  เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (ป.สธ. ฉ. 356)

       

       

      ชนิดสารปนเปื้อน

      ค่า ML เดิม

      ตามป.สธ. ฉ. 356

      ค่า ML ใหม่

      ตาม ป.สธ. ฉ. 414

      หมายเหตุ

      สารหนู

      0.2 mg/kg

      0.1 - 2 mg/kg

      ตามชนิดอาหารหรือวัตถุดิบ

      ตะกั่ว

      0.5 mg/kg

      0.03 - 2 mg/kg

      ตามชนิดอาหารหรือวัตถุดิบ

      ทองแดง

      5 mg/kg

      ไม่กำหนด

       -

      สังกะสี

      5 mg/kg

      ไม่กำหนด

       -

      เหล็ก

      15 mg/kg

      ไม่กำหนด

       -

      ดีบุก

      250 mg/kg

      150 mg/kg

      กรณีบรรจุในกระป๋อง

      ซัลเฟอร์ไดออกไซด์

      10 mg/kg

      -

      ดูข้อกำหนดเงื่อนไขการใช้ FA (ป.สธ. ฉ. 389)

      * กรณีที่ไม่มีค่า ML กำหนดในวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์อาหารไว้เป็นการเฉพาะ สามารถอ้างอิงค่า ML ได้จากค่าที่กำหนดไว้สำหรับอาหารอื่น หากมีข้อมูลทางวิชาการสนับสนุนว่าอาหารนั้นมีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อน

       

      link.png   มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน

      คำตอบ การกำหนดค่า ML ของสารปนเปื้อนในอาหารตามประกาศฯ ฉบับที่ 414 มีหลักการ ดังนี้

        1. สารปนเปื้อนแต่ละชนิดมีค่า ML ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับชนิดหรือประเภทของอาหาร
        2. ประเภทหรือชนิดของอาหารที่มีการกำหนดค่า ML ไว้ เป็นอาหารซึ่งพบปัญหาการปนเปื้อนในระดับที่ส่งผลต่อสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญ โดยพิจารณาตามหลักการของ Codex ทั้งนี้อาหารที่ยังไม่ได้กำหนดค่า ML ไว้ อาจเพราะพบการปนเปื้อนในระดับต่ำมาก หรือกำลังอยู่ในระหว่างการศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดค่าเพิ่มเติม
        3. ค่า ML ที่กำหนดสำหรับอาหารแต่ละชนิดจะเป็นปริมาณต่ำที่สุดที่สามารถปฏิบัติได้ตามหลักการ As Low As Reasonably Achievable หรือ ALARA ซึ่งต้องสามารถลดปริมาณการได้รับสัมผัสของสารปนเปื้อนจากอาหารลงได้ โดยไม่ส่งผลให้ต้องมีการทำลายสินค้ามากจนส่งผลให้เกิดปัญหาการขาดแคลนอาหารหรือปัญหาความมั่นด้านอาหาร (Food Security)
        4. ไม่ได้กำหนดค่า ML ของสารปนเปื้อนในอาหารทุกชนิด ยกเว้นสารปนเปื้อน คือ ดีบุก ตะกั่ว ปรอท สารหนู และแอลฟลาทอกซิน ที่เคยมีค่า ML กำหนดไว้ในอาหารทุกชนิดอยู่เดิม คือ

      4.1 ดีบุก ไม่เกิน 250 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม

      4.2 ตะกั่ว ไม่เกิน 1 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม 

      4.3 ปรอท ไม่เกิน 0.02 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม 

      4.4 สารหนูทั้งหมดไม่เกิน 2 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม 

      4.5 แอลฟลาทอกซินทั้งหมด ไม่เกิน 20 ไมโครกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม 

                 ทั้งนี้ผู้ประกอบการไม่จำเป็นต้องตรวจวิเคราะห์สารปนเปื้อนทั้ง 5 ชนิดนี้ในอาหารทุกชนิด หากพิจารณาจากข้อมูลวิชาการแล้วเห็นว่าวัตถุดิบหรือกระบวนการผลิตอาหารนั้นไม่มีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อน ซึ่งค่าที่กำหนดไว้นี้เป็นเสมือนค่าระดับสูงสุดทั่วไปสำหรับอาหารที่ไม่มีค่า ML กำหนดไว้เป็นการเฉพาะ เพื่อป้องกันการนำวัตถุดิบที่ด้อยคุณภาพมาใช้เป็นส่วนประกอบ

       

      link.png   มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน

      คำตอบ ประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวกับสารปนเปื้อนที่จะบังคับใช้ใหม่ มี 2 ฉบับ ดังนี้

      1. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 413 ) พ.ศ. 2563 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกระทรวงสาธารณสุขหลายฉบับที่กำหนดมาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน  โดยประกาศฯ ฉบับนี้จะยกเลิกข้อกำหนดสารปนเปื้อนตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่บังคับใช้เฉพาะผลิตภัณฑ์ จำนวน 19 ประเภทหรือชนิดของอาหาร ได้แก่ 

        ประเภทหรือชนิดของอาหาร

        ประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง

        น้ำมันถั่วลิสง

        ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 23 (พ.ศ. 2522) เรื่อง กำหนดน้ำมันถั่วลิสงเป็นอาหารควบคุมเฉพาะและกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานวิธีการผลิตและฉลากสำหรับน้ำมันถั่วลิสง (ข้อ 6)

        น้ำมันปาล์ม

        ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 56 (พ.ศ. 2524) เรื่อง น้ำมันปาล์ม (ข้อ 6)

        น้ำมันมะพร้าว

        ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 57 (พ.ศ. 2524) เรื่อง น้ำมันมะพร้าว (ข้อ 4)

        ช็อกโกแลต

        ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 83 (พ.ศ. 2527) เรื่อง ช็อกโกแลต (ข้อ 3 (7))

        เครื่องดื่มเกลือแร่

        ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 195) พ.ศ. 2543 เรื่อง เครื่องดื่มเกลือแร่ (ข้อ 4 (6))

        ชา

        ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 196) พ.ศ. 2543 (ข้อ 6 (9))

        น้ำนมถั่วเหลือง

        ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 198) พ.ศ. 2543 เรื่อง น้ำนมถั่วเหลืองในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (ข้อ 5 (7) และ (12))

        น้ำส้มสายชู

        ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 204) พ.ศ. 2543 เรื่อง น้ำส้มสายชู (ข้อ 5(2))

        น้ำมันและไขมัน

        ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 205) พ.ศ. 2543 เรื่อง น้ำมันและไขมัน (ข้อ 6 (8))

        น้ำผึ้ง

        ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 211) พ.ศ. 2543 เรื่อง น้ำผึ้ง (ข้อ 4 (15))

        แยม เยลลี่ และมาร์มาเลด

        ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 213) พ.ศ. 2543 เรื่อง แยม เยลลี่ และมาร์มาเลดในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (ข้อ 4(8))

        เนย

        ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 227) พ.ศ. 2544 เรื่อง เนย (ข้อ 4(9))

        ไข่เยี่ยวม้า

        ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 236) พ.ศ. 2544 เรื่อง ไข่เยี่ยวม้า (ข้อ 4 (2))

        ชาสมุนไพร

        ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 280) พ.ศ. 2547 เรื่อง ชาสมุนไพร (ข้อ 4 (3))

        ผลิตภัณฑ์ปรุงรสที่ได้ จาก การย่อยโปรตีนของถั่วเหลือง

        ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ผลิตภัณฑ์ ปรุงรสที่ได้จากการย่อยโปรตีนของถั่วเหลือง (ข้อ 4(3))

        มาตรฐานอาหารที่ปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี

        ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง มาตรฐานอาหารที่ปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี (ข้อ 3)

        เนยเทียม เนยผสม ผลิตภัณฑ์เนยเทียม และผลิตภัณฑ์เนยผสม

        ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 348) พ.ศ. ๒๕๕๕ เรื่อง เนยเทียม เนยผสม ผลิตภัณฑ์เนยเทียม และผลิตภัณฑ์เนยผสม (ข้อ 4 (5) และ (6)) 

        อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท

        ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 355) พ.ศ. 2556 เรื่อง อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (ข้อ 4 (4))

        เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท

        ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 356) พ.ศ. 2556 เรื่อง เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (ข้อ 4(4))



      2. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 414) พ.ศ. 2563 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน โดยประกาศฯ ฉบับนี้ มีสาระสำคัญคือ
                 (2.1) ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่บังคับใช้เกี่ยวกับข้อกำหนดปริมาณสารปนเปื้อนที่ยอมให้พบได้กับอาหารทุกประเภท จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 (พ.ศ.2529) เรื่อง มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน และฉบับที่ 273 (พ.ศ.2546) เรื่อง มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน (ฉบับที่ 2)
                (2.2) กำหนดค่าปริมาณสูงสุดของสารปนเปื้อน (Maximum Level; ML) สำหรับสารปนเปื้อนต่างๆ ในอาหารแต่ละประเภทหรือแต่ละชนิดสอดคล้องตามแนวทางการกำหนดค่า ML ขององค์การมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ (Codex)

       

      link.png   มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน

      คำตอบ องค์การมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศไม่จัดโลหะหนักทั้ง 3 ชนิดนี้เป็นสารปนเปื้อนที่ เนื่องจากสังกะสี ทองแดงและเหล็กเป็นสารอาหารจำเป็นที่ร่างกายต้องการเพียงเล็กน้อย ประกอบกับยังมีความไม่แน่ชัดเกี่ยวกับการได้รับโลหะหนักเหล่านี้ต่อประชากรในระยะยาว

       

      link.png   มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน

      คำตอบ สารปนเปื้อน (contaminants) หมายความว่า สารที่ปนเปื้อนกับอาหารโดยไม่ได้ตั้งใจเติมลงไปในอาหาร แต่ปนเปื้อนโดยเป็นผลเนื่องจากการผลิต การเตรียม การแปรรูป การบรรจุ การขนส่งหรือการเก็บรักษา หรือปนเปื้อนจากสิ่งแวดล้อม ได้แก่

      • โลหะหนัก เช่น แคดเมียม ตะกั่ว ปรอท เมธิลเมอร์คิวรี่ สารหนูและสารหนูอนินทรีย์โดยไม่รวมถึงโลหะหนักที่มีผลกระทบด้านคุณลักษณะของอาหาร แต่ไม่มีข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่ามีผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภคอย่างมีนัยสำคัญ เช่น เหล็ก และทองแดง เป็นต้น
      • สารพิษจากเชื้อรา เช่น แอฟลาทอกซิน ดีออกซีนิวาลีนอล ฟูโมนิซินบี 1 และบี 2 โอคราทอกซินเอ และพาทูลิน เป็นต้น
      • สารพิษจากพืช (Phycotoxins) เช่น กรดไฮโดรไซยานิก เป็นต้น
      • สารปนเปื้อนอื่นๆ ซึ่งเกิดในระหว่างกระบวนการผลิต เช่น 3-เอ็มซีพีดี และแพร่กระจายจากภาชนะบรรจุอาหาร เช่น ไวนิลคลอไรด์มอนอเมอร์ และ อะคริโลไนไตรล์ เป็นต้น

      ทั้งนี้ไม่รวมถึง

      • สิ่งแปลกปลอมทางกายภาพ เช่น ชิ้นส่วนของแมลง และขนหนู เป็นต้น
      • สารพิษตกค้าง (pesticide residues) ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยสารพิษตกค้าง
      • ยาสัตว์ตกค้าง (veterinary drug residues) ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยยาสัตว์ตกค้าง
      • สารพิษที่สร้างโดยจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค (microbial toxin) เช่น สารพิษโบทูลินั่ม (Botulinum toxin) จากเชื้อคลอสตริเดียม โบทูลินั่ม (Clostridium botulinum) และสารพิษคอเลอเร (Cholera toxin) ซึ่งสร้างโดยวิบริโอ คอเลอเร (Vibrio cholera) โดยเชื้อจุลินทรีย์เหล่านี้จัดเป็นเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยมาตรฐานอาหารด้านจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค
      • อนุพันธ์หรือสารตกค้างจากการใช้สารช่วยในการผลิต (residues of processing aids) ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยวัตถุเจือปนอาหาร

       

      link.png   มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน

      ตอบ  “สารช่วยในการผลิต (Processing aids)” หมายถึง สารหรือวัตถุใดซึ่งมิได้ใช้บริโภคในลักษณะเป็นส่วนประกอบของอาหาร แต่ใช้ในกระบวนการผลิตวัตถุดิบหรือส่วนประกอบของอาหารเพื่อให้เป็นไปตามเทคโนโลยีระหว่างการปรับปรุงคุณภาพหรือการแปรรูป โดยอาจจะมีสารหรืออนุพันธ์ของสารนั้นเหลือตกค้างในผลิตภัณฑ์ได้โดยไม่ตั้งใจและไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ทั้งนี้ ไม่รวมถึงเครืองมือเครื่องใช้ในการผลิต ยกตัวอย่างเช่น

      สารช่วยในการผลิต

      หน้าที่

      ถ่านกัมมันต์ (Activated carbon)

      สารทำให้ใส (Clarifying agent)

      ไดอะตอมเมเชียส เอิร์ธ (Diatomaceous Earth)

      สารช่วยกรอง (Filtering aid)

      ทั้งนี้สารช่วยในการผลิตอาหารที่นำมาใช้ในกระบวนการผลิตอาหารจะต้องมีข้อกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน และข้อกำหนดเงื่อนไขการใช้ ดังต่อไปนี้

      ข้อกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน

      1. ตามที่กำหนดไว้ใน Codex Advisory Specification for the Identity and Purity of Food Additives หรือ
      2. ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการอาหาร หรือ
      3. ตามความเห็นชอบของคณะอนุกรรมการเพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและวินิจฉัยในเชิงวิชาการเกี่ยวกับอาหาร

      ทั้งนี้สารดังกล่าวต้องเป็นสารที่ระบุหน้าที่การใช้เป็นสารช่วยในกระบวนการผลิต (Processing aids) ตามบัญชีรายชื่อ Inventory of Substances used as Processing Aids (IPA) ที่กำหนดไว้โดย Codex Committee on Food Additive (CCFA)

      ข้อกำหนดเงื่อนไขการใช้

      1. ปริมาณการใช้สารช่วยในการผลิตอาหารจะต้องเป็นปริมาณที่เหมาะสมตามความจำเป็นทางเทคโนโลยีการผลิต
      2. ในกระบวนการผลิตมีขั้นตอนหรือวิธีการในการกำจัดหรือลดปริมาณของสารช่วยในการผลิตอาหารที่อาจเหลือตกค้างในผลิตภัณฑ์สุดท้าย หรือปริมาณที่ตกค้างของสารดังกล่าวจะต้องไม่ส่งผลต่อลักษณะหรือคุณภาพของผลิตภัณฑ์สุดท้าย และต้องไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ

               สำหรับสารช่วยในการผลิตอาหารในกลุ่มเอนไซม์สำหรับใช้ในการผลิตอาหาร และ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดหรือฆ่าเชื้อที่ใช้สำหรับอาหาร จะมีข้อกำหนดเฉพาะไว้ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

      • ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 409) พ.ศ. 2562 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง เอนไซม์สำหรับใช้ในการผลิตอาหาร
        • NOTIFICATION OF THE MINISTRY OF PUBLIC HEALTH (NO. 409), B.E. 2562 (2019) ISSUED UNDER THE FOOD ACT, B.E. 2522 (1979) RE: ENZYMES USED IN FOOD PRODUCTION
      • ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 412) พ.ศ. 2562 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดหรือฆ่าเชื้อที่ใช้สำหรับอาหาร
        • NOTIFICATION OF THE MINISTRY OF PUBLIC HEALTH (NO. 412), B.E. 2562 (2019) ISSUED UNDER THE FOOD ACT, B.E. 2522 (1979) RE: CLEANING OR SANITIZING PRODUCTS FOR FOOD

      แนวทางการขออนุญาต

      สารช่วยในการผลิต (Processing aids)

      แนวทางการขออนุญาต

      กลุ่มเอนไซม์สำหรับใช้ในการผลิตอาหาร

      ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร (อ.17) เพื่อขอรับใบสําคัญการขึ้นทะเบียนตํารับอาหาร (อ.18)

      กลุ่มผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดหรือฆ่าเชื้อ

      ที่ใช้สำหรับอาหาร

      ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร (อ.17) เพื่อขอรับใบสําคัญการขึ้นทะเบียนตํารับอาหาร (อ.18)

      กลุ่มหน้าที่อื่นๆ

      สำหรับวัตถุเจือปนอาหารที่มีหน้าที่เป็นสารช่วยในการผลิต หากมีความประสงค์จะขอรับเลขสารบบอาหารให้ดำเนินการยื่นคำขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร (อ.17) พร้อมแนบหนังสืออนุญาตการใช้จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เพื่อขอรับใบสําคัญการขึ้นทะเบียนตํารับอาหาร (อ.18)

       

      link.png   วัตถุเจือปนอาหาร

      ตอบ  มีเงื่อนไขในการพิจารณา ดังนี้

              1. วัตถุเจือปนอาหารนั้นจะต้องอนุญาตให้ใช้ในวัตถุดิบหรือส่วนประกอบอื่น โดยปริมาณที่ใช้จะต้องไม่เกินปริมาณสูงสุดของวัตถุเจือปนอาหารที่อนุญาตให้ใช้ในวัตถุดิบหรือส่วนประกอบนั้นๆ

              2. ปริมาณวัตถุเจือปนอาหารนั้นที่ปรากฏในผลิตภัณฑ์สุดท้าย ซึ่งเป็นผลมาจากการตกค้างมาจากวัตถุดิบหรือส่วนประกอบอื่นจะต้องมีปริมาณไม่เกินปริมาณสูงสุดของวัตถุเจือปนอาหารที่อนุญาตให้ใช้ในวัตถุดิบหรือส่วนประกอบนั้นๆ ทั้งนี้จะต้องพิจารณาโดยใช้สัดส่วนของวัตถุดิบหรือส่วนประกอบอื่นในสูตรส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์สุดท้าย

      ยกตัวอย่างเช่น ตรวจพบวัตถุกันเสียกรดเบนโซอิกในผลิตภัณฑ์โยเกิร์ต ทั้งนี้ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 353) พ.ศ. 2556 เรื่อง นมเปรี้ยว กำหนดให้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวต้องไม่ใช้วัตถุกันเสีย กรณีตรวจพบวัตถุกันเสียที่ตกค้างมาจากวัตถุที่ใช้ปรุงแตงกลิ่นรส สี หรือส่วนประกอบอื่นที่มิใช่ นมที่เป็นส่วนผสมอยู่ด้วย ปริมาณที่ตรวจพบจะต้องไม่เกินปริมาณที่อนุญาตให้ใช้ในวัตถุดิบเหล่านั้น แล้วแต่กรณี

      แนวทางการพิจารณา

               1. แยมที่นำมาใช้ในผลิตภัณฑ์จะต้องมีการใช้กรดเบนโซอิกเป็นวัตถุกันเสียเป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 213) พ.ศ. 2543 เรื่อง แยม เยลลี่ และมาร์มาเลด ในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ซึ่งจะต้องมีปริมาณไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม

              2. กรณีที่แยมมีการใช้กรดเบนโซอิกเป็นวัตถุกันเสียในปริมาณ 300 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม โดยในสูตรผลิตภัณฑ์โยเกิร์ตผสมแยม มีส่วนประกอบของแยม 20% ดังนั้นปริมาณกรดเบนโซอิกที่อาจจะปรากฏในผลิตภัณฑ์สุดท้าย (โยเกิร์ตผสมแยม)

      สามารถพิจารณาได้ ดังนี้

      faq_foodad2-1.jpg

          ในแยม 100%  มี กรดเบนโซอิก 300 มก./กก.

      ดังนั้น ในแยม  20% จะมี กรดเบนโซอิก (20 X 300)/100  = 60 มก./กก.*

       

              *ปริมาณดังกล่าวพิจารณาเฉพาะกรดเบนโซอิกที่ติดมากับแยมเท่านั้น ยังมิได้พิจารณารวมกับกรดเบนโซอิกที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการผลิตโยเกิร์ตตามธรรมชาติ

               ทั้งนี้สามารถยืนยันปริมาณกรดเบนโซอิกที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการผลิตโยเกิร์ตตามธรรมชาติโดยการตรวจวิเคราะห์โยเกิร์ตก่อนผสมแยม

       

      link.png   วัตถุเจือปนอาหาร

      6566676869
      แสดงผล รายการ
      อย
      กองอาหาร

      FOOD DIVISION

      สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา : 88/24 ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000

      จันทร์ – ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.30 น.

      • Website Policy
      • Privacy Policy
      • Disclaimer

      รองรับการทำงานบน Internet Explorer v9+, Firefox v.20+, Safari v.5+, Chrome v.25+, Opera v.10+

      Sitemap
      หน้าแรก
        กฎหมายอาหาร
        • ข่าวสารด้านกฎหมายอาหาร
        • กฎหมายอาหารและกฎหมายลำดับรอง
        • เอกสารเผยแพร่ด้านกฎหมายอาหาร
        คู่มือสำหรับประชาชน
        • สถานที่ติดต่อยื่นขออนุญาต
        • ระยะเวลาการพิจารณาอนุญาตแต่ละประเภทคำขอ
        บริการข้อมูล
        • ข้อมูลสำหรับผู้บริโภค
        • ข้อมูลสำหรับผู้ประกอบการ
        • คู่มือ / สื่อเผยแพร่
        • คำถามที่พบบ่อย
        ข่าวสารประชาสัมพันธ์
        • ข่าวสารการบริการ
        • ข่าวสารด้านกฎหมายอาหาร
        • ข่าวสารแจ้งเตือนผู้บริโภค
        • การอบรม / สัมมนา
        • รับสมัครงาน
        • ปฏิทินกิจกรรม
        เกี่ยวกับกองอาหาร
        • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
        • โครงสร้างหน่วยงาน
        สำหรับเจ้าหน้าที่
        • ความรู้ที่จำเป็นสำหรับพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ. อาหาร
        • ระบบ e-saraban
        • จองห้องประชุม

        ผู้ชมเว็บไซต์ :

        rss image ipv6 image w3c html image w3c css image
        • แบบสำรวจการให้บริการด้านข้อมูลเว็บไซต์
        • แบบสำรวจความพีงพอใจต่อเว็บไซต์
        Copyright 2020 | สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

        no-popup