อย
กองอาหาร

FOOD DIVISION
  • เว็บลิงก์
  • ติดต่อเรา
  • ร้องเรียน
  • คำถามที่พบบ่อย
EN
  • หน้าแรก
  • กฏหมายอาหาร
    • ข่าวสารด้านกฎหมายอาหาร
    • กฎหมายอาหารและกฎหมายลำดับรอง
      • พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522
      • กฎกระทรวงสาธารณสุข
      • ประกาศกระทรวงสาธารณสุข
      • ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
      • ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
      • คำสั่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
      • คำสั่งคณะกรรมการอาหาร
    • ผลิตภัณฑ์อาหาร
    • วัตถุเจือปนอาหาร
    • การใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติกในอาหาร
    • การแสดงฉลากอาหารและฉลากโภชนาการ
    • มาตรฐานอาหารด้านจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค
    • ภาชนะบรรจุ
    • มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน
    • มาตรฐานอาหารที่มีสารพิษ-ยาสัตว์ตกค้าง
    • อาหารจากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม
    • GMP (มาตรฐานระบบการผลิตอาหาร)
    • อาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย
    • เอกสารเผยแพร่ด้านกฎหมายอาหาร
  • บริการข้อมูลสำหรับผู้ประกอบการ
    • คู่มือสำหรับประชาชน
    • การยื่นขออนุญาตด้านอาหาร
    • หลักเกณฑ์ / ข้อกำหนด
    • ระบบ e-Submission
    • ระบบเลขเสมือน (FM,FG)
    • ระบบให้คำปรึกษาออนไลน์ (e-consult)
    • โปรแกรมสำหรับผู้ประกอบการ
    • หน่วยตรวจหรือหน่วยรับรองสถานที่ผลิตอาหาร
    • หน่วยตรวจวิเคราะห์อาหาร/ ภาชนะบรรจุอาหาร
    • หน่วยฝึกอบรมที่ขึ้นบัญชีกับ อย.
    • ข้อมูลการขออนุญาตผู้ประกอบการเศรษฐกิจฐานราก ให้ได้มาตรฐาน อย. และส่งออก
  • บริการข้อมูล
    • ตรวจสอบการอนุญาตผลิตภัณฑ์อาหาร
    • ข่าวสารด้านความปลอดภัยอาหาร
    • ผลิตภัณฑ์อาหารที่ผิดกฎหมาย และถูกถอนเลขสารบบ
    • ประกาศผลการตรวจพิสูจน์อาหาร
    • คู่มือ/สื่อเผยแพร่
    • คำถามที่พบบ่อย
    • ผู้เชี่ยวชาญ องค์กรผู้เชี่ยวชาญฯ ที่ขึ้นบัญชีกับ อย.
  • ประชาสัมพันธ์
    • ข่าวสารประชาสัมพันธ์
    • ข่าวสารด้านกฎหมายอาหาร
    • ข่าวสารด้านความปลอดภัยอาหาร
    • การอบรม / สัมมนา
    • รับสมัครงาน
    • ปฏิทินกิจกรรม
  • เกี่ยวกับกองอาหาร
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
    • โครงสร้างหน่วยงาน
    • สำหรับเจ้าหน้าที่
      • ความรู้ที่จำเป็นสำหรับพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ. อาหาร
      • ระบบ e-saraban
      • จองห้องประชุม
    • หน้าแรก
    • กฏหมายอาหาร
      • ข่าวสารด้านกฎหมายอาหาร
      • กฎหมายอาหารและกฎหมายลำดับรอง
        • พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522
        • กฎกระทรวงสาธารณสุข
        • ประกาศกระทรวงสาธารณสุข
        • ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
        • ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
        • คำสั่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
        • คำสั่งคณะกรรมการอาหาร
      • ผลิตภัณฑ์อาหาร
      • วัตถุเจือปนอาหาร
      • การใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติกในอาหาร
      • การแสดงฉลากอาหารและฉลากโภชนาการ
      • มาตรฐานอาหารด้านจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค
      • ภาชนะบรรจุ
      • มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน
      • มาตรฐานอาหารที่มีสารพิษ-ยาสัตว์ตกค้าง
      • อาหารจากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม
      • GMP (มาตรฐานระบบการผลิตอาหาร)
      • อาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย
      • เอกสารเผยแพร่ด้านกฎหมายอาหาร
    • บริการข้อมูลสำหรับผู้ประกอบการ
      • คู่มือสำหรับประชาชน
      • การยื่นขออนุญาตด้านอาหาร
      • หลักเกณฑ์ / ข้อกำหนด
      • ระบบ e-Submission
      • ระบบเลขเสมือน (FM,FG)
      • ระบบให้คำปรึกษาออนไลน์ (e-consult)
      • โปรแกรมสำหรับผู้ประกอบการ
      • หน่วยตรวจหรือหน่วยรับรองสถานที่ผลิตอาหาร
      • หน่วยตรวจวิเคราะห์อาหาร/ ภาชนะบรรจุอาหาร
      • หน่วยฝึกอบรมที่ขึ้นบัญชีกับ อย.
      • ข้อมูลการขออนุญาตผู้ประกอบการเศรษฐกิจฐานราก ให้ได้มาตรฐาน อย. และส่งออก
    • บริการข้อมูล
      • ตรวจสอบการอนุญาตผลิตภัณฑ์อาหาร
      • ข่าวสารด้านความปลอดภัยอาหาร
      • ผลิตภัณฑ์อาหารที่ผิดกฎหมาย และถูกถอนเลขสารบบ
      • ประกาศผลการตรวจพิสูจน์อาหาร
      • คู่มือ/สื่อเผยแพร่
      • คำถามที่พบบ่อย
      • ผู้เชี่ยวชาญ องค์กรผู้เชี่ยวชาญฯ ที่ขึ้นบัญชีกับ อย.
    • ประชาสัมพันธ์
      • ข่าวสารประชาสัมพันธ์
      • ข่าวสารด้านกฎหมายอาหาร
      • ข่าวสารด้านความปลอดภัยอาหาร
      • การอบรม / สัมมนา
      • รับสมัครงาน
      • ปฏิทินกิจกรรม
    • เกี่ยวกับกองอาหาร
      • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
      • โครงสร้างหน่วยงาน
      • สำหรับเจ้าหน้าที่
        • ความรู้ที่จำเป็นสำหรับพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ. อาหาร
        • ระบบ e-saraban
        • จองห้องประชุม
      • เว็บลิงก์
      • ติดต่อเรา
      • ร้องเรียน
      • คำถามที่พบบ่อย
      ภาษา
      EN
      image assembly
      การเข้าถึง
      close assembly
      • ขนาดตัวอักษร
        • ก
        • ก
        • ก
      • การเว้นระยะห่าง
        • icon space 1
        • icon space 2
        • icon space 3
      • ความตัดกันของสี
        • icon color 1สีปกติ
        • icon color 2ขาวดำ
        • icon color 3ดำ-เหลือง
      banner

      FAQs

      • หน้าแรก
      • คำถามที่พบบ่อย

      คำถามที่พบบ่อย


      คำถามที่พบบ่อย
      • การขออนุญาตด้านอาหาร
      • ระบบ e-submission
        • ระบบ e-Submission อาหาร (สำหรับผู้ประกอบการ)
      • การจัดประเภทอาหาร
      • กระบวนการผลิตอาหาร
        • หน่วยตรวจสอบและหน่วยรับรองสถานประกอบการอาหาร
        • การบังคับใช้ GMP กฎหมาย
        • GMP 420 สำหรับผู้ผลิตรายย่อยไม่ยากอย่างที่คิด
        • ผู้ควบคุมการผลิตน้ำฯ
      • ผลิตภัณฑ์อาหาร
        • ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนประกอบของกัญชา/กัญชง
          • สถานที่ผลิตอาหาร
          • ผลิตภัณฑ์อาหาร
          • โฆษณา
          • ฉบับประชาชน
        • ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนประกอบของพืชกระท่อม
        • เกลือบริโภคและผลิตภัณฑ์ปรุงรสที่เสริมไอโอดีน
        • ช็อกโกแลตและผลิตภัณฑ์ช็อกโกแลต
        • ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเมล็ดโกโก้
      • วัตถุเจือปนอาหาร
      • สารปนเปื้อน
        • มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน
      • จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค
        • การตรวจวิเคราะห์จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค ตาม ปสธ. (ฉบับที่ 416)
      • อาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย
        • ไขมันทรานส์ ตาม ปสธ. (ฉบับที่ 388)
      • อาหารที่ได้จากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม
        • อาหารที่ได้จากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมและการแสดงฉลาก
      • การแสดงฉลาก
        • การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ
        • การแสดงฉลาก GDA
        • ฉลากโภชนาการ
        • ทำฉลากอาหารอย่างไรไม่ให้ถูกดำเนินคดี
      • การโฆษณาอาหาร
        • โฆษณาอาหาร แต่ไม่อยากถูกจับ ทำอย่างไร
      • การยื่นประเมินความปลอดภัย
        • การยื่นประเมินความปลอดภัยอาหาร

      ตอบ  กรณีสารบางชนิดที่มีอยู่แล้วในวัตถุดิบหรือเกิดขึ้นระหว่างกระบวนการผลิตตามธรรมชาติ อาจมีโครงสร้างเดียวกับวัตถุเจือปนอาหารบางชนิด ยกตัวอย่างเช่น

      สารที่มีโครงสร้างเดียวกับวัตถุเจือปนอาหาร

      วัตถุดิบ

      กรดเบนโซอิก

      นม ชีส โยเกิร์ต ผลไม้บางชนิด1 

      ไนไทรต์-ไนเทรต

      เนื้อสัตว์ ผัก2

      ฟอสเฟต

      เนื้อสัตว์3

       

      หมายเหตุ : 1International Programme on Chemical Safety. Benzoic acid and Sodium benzoate. Concise International Chemical Assessment Document No.26 [Online].Geneva: WHO; 2000.

        2Hord NG, Tang Y, & Bryan NS (2009). Food sources of nitrates and nitrites: the physiologic context for potential health benefits. The American journal of clinical nutrition, 90 (1), 1-10

         3Codex Standard for Luncheon Meat (CODEX STAN 89-1981), Codex Standard for Cooked Cured Chopped Meat (CODEX STAN 98-1981)

      กรณีตรวจพบวัตถุเจือปนอาหารในผลิตภัณฑ์สุดท้ายซึ่งไม่สอดคล้องตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วย เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร แต่มิได้เกิดการเติมในสูตรส่วนประกอบหรือกระบวนการผลิต อาจมีแนวทางการพิจารณา ดังนี้

                   1. วัตถุเจือปนอาหาร ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วย เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร เป็นสารที่ตั้งใจเติมลงในอาหารเพื่อประโยชน์ทางด้านเทคโนโลยีการผลิต ดังนั้นสารที่มีอยู่ในวัตถุดิบตามธรรมชาติแต่มีโครงสร้างเดียวกับวัตถุเจือปนอาหาร จึงไม่เข้าข่ายเป็นวัตถุเจือปนอาหารตามนิยามของประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วย เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร

                    เว้นแต่จะมีข้อกำหนดไว้เป็นการเฉพาะซึ่งจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดดังกล่าว เช่น ข้อกำหนดเงื่อนไขการใช้วัตถุเจือปนอาหารกลุ่มฟอสเฟตในผลิตภัณฑ์ตาม Standard for Luncheon Meat (CODEX STAN 89-1981) และ Cooked Cured Chopped Meat (CODEX STAN 98-1981) ใช้ได้ในปริมาณไม่เกิน 1,320 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม คำนวณเป็นฟอสฟอรัส โดยปริมาณฟอสฟอรัสทั้งหมด (ทั้งที่พบตามธรรมชาติรวมกับที่เติมลงไปในปริมาณที่กำหนด) ของผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานดังกล่าวต้องมีปริมาณรวมกันไม่เกิน 3,520 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม คำนวณเป็นฟอสฟอรัส

                    2. ผลวิเคราะห์ปริมาณวัตถุเจือปนอาหารที่ปรากฏในผลิตภัณฑ์สุดท้ายซึ่งเป็นผลมาจากการตกค้างหรือติดมากับวัตถุดิบ จะต้องมีปริมาณไม่เกินปริมาณที่ตรวจพบในวัตถุดิบ ทั้งนี้จะต้องพิจารณาสัดส่วนของวัตถุดิบนั้นในสูตรส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์สุดท้ายร่วมด้วย

      ผู้ประกอบการสามารถชี้แจงข้อเท็จจริงได้ โดยอาจใช้ข้อมูลดังต่อไปนี้

      • ข้อมูลวิชาการสนับสนุนการมีอยู่ของสารที่มีโครงสร้างเดียวกับวัตถุเจือปนอาหารในวัตถุดิบตามธรรมชาติ จากเอกสารทางวิชาการที่น่าเชื่อถือ เช่น หนังสือ ตำราทางวิชาการ ฐานข้อมูลอื่นที่มีความน่าเชื่อถือ วารสารวิทยาศาสตร์ รายงานของคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ (expert committee) ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
      • รายงานผลการตรวจวิเคราะห์สารที่มีโครงสร้างเดียวกับวัตถุเจือปนอาหารในวัตถุดิบที่คาดว่าน่าจะเป็นที่มาของสารนั้น เพื่อพิจารณาปริมาณสารดังกล่าวที่อาจตรวจพบได้ในผลิตภัณฑ์สุดท้าย

       

      link.png   วัตถุเจือปนอาหาร

       

      ตอบ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 431 และ ฉบับที่ 432 ได้กำหนดนิยาม ดังนี้

      “อาหารที่ได้จากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม” หมายความว่า

      (1) พืช สัตว์ จุลินทรีย์ ที่มีการตัดต่อ ตัดแต่ง ดัดแปร หรือเปลี่ยนแปลงสารพันธุกรรมหรือผสมผสานสารพันธุกรรมใหม่จากวิธีการใช้เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่และใช้บริโภคเป็นอาหาร

      (2) ผลิตภัณฑ์อาหารที่ใช้ (1) เป็นส่วนประกอบของอาหาร หรือผลิตจาก (1)

      (3) ผลิตผลจาก (1) ที่ใช้เป็นส่วนประกอบของอาหาร หรือที่ใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหาร หรือที่ใช้เป็นสารอาหาร

      ตัวอย่างของอาหารจากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม ใน (1) (2)  และ (3) ดังแสดงในตาราง

       

      พืชดัดแปรพันธุกรรม

      สัตว์ดัดแปรพันธุกรรม

      จุลินทรีย์ดัดแปรพันธุกรรม

      (1)

      ส่วนของต้นข้าวโพด เช่น ข้าวโพดฝักอ่อน เมล็ดข้าวโพด  ที่บริโภคเป็นอาหาร เป็นต้น

      ส่วนของปลาแซลมอน รวมทั้งไข่ปลาที่บริโภคเป็นอาหาร  เป็นต้น

      เช่น จุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมักโดยบริโภคจุลินทรีย์ที่ยังมีชีวิตนั้นพร้อมกับอาหาร (Live starter culture)    เป็นต้น

      (2)

      เช่น ข้าวโพดกระป๋อง  ซุปข้าวโพด เป็นต้น

      เช่น เนื้อปลาแซลมอนรมควัน  หนังปลาแซลมอนทอดกรอบปรุงรส เป็นต้น

      เช่น ยีสต์สกัด (Yeast Extract) เป็นต้น

      (3)

      เช่น น้ำมันข้าวโพด, Sorbitol (ซอร์บิทอล) จากแป้งข้าวโพด, สตาร์ชดัดแปร (Corn Modified Starch) เป็นต้น

      เช่น น้ำมันจากปลาแซลมอน, คอลลาเจนจากปลาแซลมอน,สารสกัดจากกระดูกอ่อนของปลาแซลมอน เป็นต้น

      เช่น โอลิโกแซคคาร์ไรด์ (Oligosaccharides), วิตามิน บี 12 (Vitamin B12) , สตีวิออลไกลโคไซด์ (Steviol Glycoside), เอนไซม์สำหรับใช้ในการผลิตอาหาร เป็นต้น

       

      link.png   อาหารที่ได้จากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมและการแสดงฉลาก

      ตอบ ผู้ผลิต นำเข้าหรือจำหน่ายอาหารที่ได้จากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมต้องจัดเก็บหลักฐานตามระบบตามสอบสินค้า (traceability) พร้อมแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วแต่กรณี ดังต่อไปนี้

      2.1 ผลิตภัณฑ์อาหารจากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมที่ได้รับอนุญาตให้ผลิต นำเข้าหรือจำหน่ายก่อนวันที่ 4 ธันวาคม 2565 ไม่ต้องจัดเตรียมเอกสารหรือหลักฐานเพื่อการตรวจสอบ ณ ด่านอาหารและยา ทั้งนี้ด่านอาหารและยาจะมีการตรวจปล่อยตามแผนการปฏิบัติงานเดิม

      2.2 ผลิตภัณฑ์อาหารจากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมที่ได้รับอนุญาตให้ผลิต นำเข้าหรือจำหน่ายหลังวันที่ 4 ธันวาคม 2565 แบ่งเป็นกรณี ดังนี้

      (2.2.1) กรณีเป็นสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมซึ่งเป็นส่วนของพืช สัตว์หรือจุลินทรีย์ที่ผลิต นำเข้าหรือจำหน่ายเพื่อบริโภคโดยตรง หรือเป็นส่วนประกอบของอาหารพร้อมบริโภคหรืออาหารสำเร็จรูป (ผลิตภัณฑ์อาหาร) อาจจะมีเอกสารอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อประโยชน์ในการชี้แจงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เช่น

          • รายงานผลการตรวจวิเคราะห์ (Analytical Report) จากห้องปฏิบัติการที่ได้รับการยอมรับ หรือห้องปฏิบัติการของหน่วยงานภาครัฐ
          • หนังสือรับรองผลการตรวจวิเคราะห์ (COA for a specific Silo/batch) ซึ่งออกโดยหน่วยงานภาครัฐหรือจากห้องปฏิบัติการที่ได้รับการยอมรับ
          • หนังสือรับรองสุขอนามัยพืช (Phytosanitary Certification) ที่ระบุลักษณะสายพันธุ์หรือรหัสสายพันธุ์ (event) ของพืชดัดแปรพันธุกรรม
          • หนังสือรับรองสุขอนามัย หรือหนังสือรับรองความปลอดภัย (Health Certification) ที่ระบุลักษณะสายพันธุ์หรือรหัสสายพันธุ์ของสัตว์หรือพืชดัดแปรพันธุกรรม หรือระบุว่าไม่มีสายพันธุ์ดัดแปรพันธุกรรมที่ไม่อนุญาต (absence of any unauthorized GM)
          • หนังสือรับรองการคัดแยกสินค้าตั้งแต่ต้นทาง (identify Preservation: IP)
          • ใบกำกับสินค้า (Invoice) หรือ ใบแสดงรายละเอียดสินค้า (Packing List) ที่ระบุลักษณะสายพันธุ์หรือรหัสสายพันธุ์ (event) ของสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมที่เป็นอาหาร
          • หนังสือคำแถลงของผู้ผลิตหรือผู้ส่งออกที่ระบุลักษณะสายพันธุ์ (event) หรือรหัสสายพันธุ์ (unique identifier) ของสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมที่เป็นอาหาร เช่น "This shipment of xxxxxx (name of plant or animal or microorganism) may contain genetically modified events as following……" หรือคำแถลงอื่นที่มีความหมายทำนองเดียวกัน และระบุข้อมูลสำหรับการติดต่อผู้ที่เกี่ยวข้องกับสินค้า
          • หนังสือรับรองของผู้ผลิตหรือผู้ส่งออกที่ระบุว่าปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 431

      (2.2.2) กรณีเป็นผลิตผลจากพืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์ดัดแปรพันธุกรรม (สารสกัด สารสำคัญ หรือสารอาหาร) ที่ใช้เป็นส่วนประกอบของอาหาร หรือที่ใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหาร ซึ่งตรวจไม่พบสารพันธุกรรม อาจจะมีเอกสารเพื่อประโยชน์ในการชี้แจงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ได้แก่

          • รายงานผลการตรวจวิเคราะห์ (Analytical Report) จากห้องปฏิบัติการที่ได้รับการยอมรับ หรือห้องปฏิบัติการของหน่วยงานภาครัฐ หรือ
          • หนังสือรับรองผลการตรวจวิเคราะห์ (COA for a specific Silo/batch) ซึ่งออกโดยหน่วยงานภาครัฐหรือจากห้องปฏิบัติการที่ได้รับการยอมรับ

      สรุปแนวทางการจัดเตรียมเอกสารสำหรับอาหารจากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมกลุ่มต่างๆ

      2.1.jpg

      link.png   อาหารที่ได้จากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมและการแสดงฉลาก

      ตอบ อาหารจากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมซึ่งมีรายชื่อตามบัญชีหมายเลข 1 ไม่ต้องส่งมอบวัสดุอ้างอิง หรือรายละเอียดวิธีการตรวจวิเคราะห์ตามข้อกำหนดในข้อ 6 ของประกาศแล้ว เนื่องจากผ่านการประเมินความปลอดภัยและกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์มีวัสดุอ้างอิงหรือรายละเอียดวิธีการตรวจวิเคราะห์แล้ว ทั้งนี้การส่งมอบวัสดุอ้างอิงฯ กับกรมวิทยาศาตร์การแพทย์เป็นข้อกำหนดของอาหารจากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมที่อยู่นอกเหนือบัญชีหมายเลข 1 โดยดำเนินการเพียงครั้งเดียวในระหว่างที่รอรายงานผลการประเมินความปลอดภัยหรือหลังได้รับรายงานผลการประเมินความปลอดภัยจากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) แล้ว โดยต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จเพื่อให้ได้หลักฐานมายื่นต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเพื่อประกอบการพิจารณาอนุญาต

       

      link.png   อาหารที่ได้จากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมและการแสดงฉลาก

      ตอบ กรณีเป็นสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมตามรายการที่ระบุไว้ในบัญชีหมายเลข 6 แนบท้ายประกาศฯ  ซึ่งได้แก่ ถั่วเหลืองดัดแปรพันธุกรรม 42 สายพันธุ์ และข้าวโพดดัดแปรพันธุกรรม 7 สายพันธุ์ ได้รับการผ่อนผันให้ผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย เป็นระยะเวลา 5 ปี เมื่อครบกำหนดคือตั้งแต่วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2570 โดยในระหว่างนี้ต้องจัดเตรียมเอกสารหรือหลักฐานตามที่กำหนดในบัญชีแนบท้ายหมายเลข 2 เพื่อประเมินความปลอดภัยกับศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค; BIOTEC) และส่งมอบวัสดุอ้างอิงหรือรายละเอียดวิธีการตรวจวิเคราะห์แก่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ หากครบกำหนด 5 ปีแล้ว พืชดัดแปรพันธุกรรม ตามบัญชีหมายเลข 6 นี้ ไม่ผ่านการประเมินความปลอดภัยทางชีวภาพด้านอาหาร ถือว่าการอนุญาตสิ้นสุด ให้ห้ามผลิต นำเข้าหรือจำหน่าย

             กรณีเป็นสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมที่อยู่นอกเหนือจากบัญชีหมาย 6 แนบท้ายประกาศกระทรวงฯ ผู้ประกอบการต้องจัดเตรียมเอกสารหรือหลักฐานตามที่กำหนดในบัญชีแนบท้ายหมายเลข 2 หมายเลข 3 หรือหมายเลข 4 เพื่อยื่นประเมินความปลอดภัยกับศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) และส่งมอบวัสดุอ้างอิงหรือรายละเอียดวิธีการตรวจวิเคราะห์แก่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ให้แล้วเสร็จ ก่อนนำเอกสารหลักฐานมายื่นต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเพื่อประกอบการพิจารณาอนุญาตก่อนการผลิตหรือนำเข้าเพื่อจำหน่าย

      รูปที่ 1 แสดงแนวทางการยื่นเอกสารเพื่อประเมินความปลอดภัยทางชีวภาพด้านอาหารสำหรับอาหารจากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมตามรายชื่อในบัญชีแนบท้ายหมายเลข 6 และนอกเหนือจากบัญชีแบท้ายหมายเลข 6

      Slide1.jpg

       

      link.png   อาหารที่ได้จากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมและการแสดงฉลาก

      ตอบ เนื่องจากมีการอนุญาตนำเข้าข้าวโพดและถั่วเหลืองดัดแปรพันธุกรรมมาใช้เป็นวัตถุดิบหรือส่วนประกอบในอาหารอยู่ก่อนแล้วตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดังนั้นเพื่อลดผลกระทบกับผู้ผลิตหรือนำเข้าอาหารจากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม คณะอนุกรรมการฯ และคณะกรรมการอาหารจึงเห็นชอบให้ผ่อนผันการนำเข้าอาหารจากข้าวโพดและถั่วเหลืองดัดแปรพันธุกรรมซึ่งผ่านการประเมินความปลอดภัยทางชีวภาพด้านอาหารแล้ว ไม่น้อยกว่า 5 ประเทศ ซึ่งเป็นประเทศสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (The Organization for Economic Co-operation and Development: OECD) โดยให้ยังคงสามารถนำเข้าต่อไปได้อีก 5 ปี

       

      link.png   อาหารที่ได้จากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมและการแสดงฉลาก

      ตอบ  เอนไซม์สำหรับใช้ในการผลิตอาหารยังคงต้องดำเนินการต่างๆ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 431 ยกเว้นการประเมินความปลอดภัยซึ่งต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเอนไซม์สำหรับใช้ในการผลิตอาหาร

             สำหรับอาหารอื่นซึ่งอาจเป็นวัตถุเจือปนอาหารหรือสารสกัด สารสำคัญหรือสารอาหาร จากสิ่งมีชีวิตดัดแปร พันธุกรรมที่ผ่านการประเมินความปลอดภัยแล้วโดยคณะผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ของโครงการร่วม เอฟ เอ โอ/ดับบลิว เอช โอ (Joint WHO/FAO scientific advice bodies) หรือคณะผู้เชี่ยวชาญขององค์การอนามัยโลก (WHO Expert Advisory Panels and Committees) ต้องดำเนินการต่าง ๆ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 431 ยกเว้นการประเมินความปลอดภัย ซึ่งให้ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง

       

      link.png   อาหารที่ได้จากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมและการแสดงฉลาก

      ตอบ ​FAO GM Foods Platform เป็นเพียงพื้นที่สำหรับการแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมที่มีการอนุญาตเพาะปลูกหรือบริโภคเป็นอาหารหรืออาหารสัตว์ของประเทศสมาชิก แต่ยังไม่ได้ผ่านการพิจารณาโดยคณะผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ของโครงการร่วม เอฟ เอ โอ/ดับบลิว เอช โอ

       

      link.png   อาหารที่ได้จากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมและการแสดงฉลาก

      ตอบ ​อาหารจากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมจะต้องมีความปลอดภัยเทียบเท่ากับกับอาหารที่ได้จากสิ่งมีชีวิตเดียวกันซึ่งสายพันธุ์ดั้งเดิมตาม “หลักการเทียบเท่า (substantial equivalence)” เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดอันตรายกับร่างกายของผู้ที่บริโภค ดังนั้นก่อนจะมีการนำสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมมาใช้เป็นอาหารจึงต้องมีการทวนสอบข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยด้านต่างๆ ทั้งด้าน อณูชีวโมเลกุล โภชนาการ พิษวิทยา และการก่อภูมิแพ้ ซึ่งเรียกว่าการประเมินความปลอดภัยทางชีวภาพด้านอาหาร โดยมีหลักการตามรูปที่ 2

      รูปที่ 2 หลักการประเมินความปลอดภัยทางชีวภาพด้านอาหารของสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม

      Slide2.jpg

       

      link.png   อาหารที่ได้จากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมและการแสดงฉลาก

      ตอบ เมื่อได้รับรายงานผลการประเมินความปลอดภัยทางชีวภาพด้านอาหารจากไบโอเทคและหลักฐานการส่งมอบวัสดุอ้างอิงหรือรายละเอียดวิธีการตรวจวิเคราะห์จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์แล้ว ให้นำเอกสารหลักฐานทั้งหมดยื่นต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาผ่านระบบ e-submission ตามคู่มือต่าง ๆ แล้วแต่กรณี ดังนี้

            (1) กรณีเป็นสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมซึ่งเป็นส่วนของพืช สัตว์หรือจุลินทรีย์ที่ผลิต นำเข้าหรือจำหน่ายเพื่อการบริโภคโดยตรง หรือเป็นส่วนประกอบของอาหารพร้อมบริโภคหรืออาหารสำเร็จรูป (ผลิตภัณฑ์อาหาร) ให้ยื่นข้อมูลผ่านระบบ e-submission หัวข้อ การประเมินความปลอดภัยทางชีวภาพด้านอาหาร

            (2) กรณีเป็นผลิตผลจากพืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์ดัดแปรพันธุกรรม ที่ใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหาร ให้ยื่นข้อมูลผ่านระบบ e-submission หัวข้อ การประเมินความปลอดภัยวัตถุเจือปนอาหาร (เฉพาะกรณีเป็นวัตถุเจือปนอาหารชนิดใหม่ หรือมีการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดเงื่อนไขการใช้) เพื่อพิจารณากำหนดข้อกำหนดคุณภาพมาตรฐาน (specification) และหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการใช้ในอาหาร

            ทั้งนี้ในกรณีที่เป็นวัตถุเจือปนอาหารซึ่งมีข้อกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานและใช้ตามข้อกำหนดเงื่อนไขการใช้เดิมที่มีอยู่แล้วตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยวัตถุเจือปนอาหารให้ติดต่อกลุ่มกำกับดูแลก่อนออกสู่ตลาดเพื่อขอแก้ไขทะเบียนตำรับอาหาร

            (3) กรณีเป็นผลิตผลจากพืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์ดัดแปรพันธุกรรม ที่ใช้เป็นสารสกัด สารสำคัญ หรือสารอาหาร ให้ยื่นข้อมูลผ่านระบบ e-submission หัวข้อ การประเมินความปลอดภัยอาหาร เพื่อพิจารณากำหนดอัตราส่วนการใช้ในเป็นส่วนผสมในอาหาร

      รูปที่ 3 แสดงแนวทางการยื่นเอกสารและหลักฐาน

      Slide3.jpg

       

      link.png   อาหารที่ได้จากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมและการแสดงฉลาก

      6667686970
      แสดงผล รายการ
      อย
      กองอาหาร

      FOOD DIVISION

      สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา : 88/24 ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000

      จันทร์ – ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.30 น.

      • Website Policy
      • Privacy Policy
      • Disclaimer

      รองรับการทำงานบน Internet Explorer v9+, Firefox v.20+, Safari v.5+, Chrome v.25+, Opera v.10+

      Sitemap
      หน้าแรก
        กฎหมายอาหาร
        • ข่าวสารด้านกฎหมายอาหาร
        • กฎหมายอาหารและกฎหมายลำดับรอง
        • เอกสารเผยแพร่ด้านกฎหมายอาหาร
        คู่มือสำหรับประชาชน
        • สถานที่ติดต่อยื่นขออนุญาต
        • ระยะเวลาการพิจารณาอนุญาตแต่ละประเภทคำขอ
        บริการข้อมูล
        • ข้อมูลสำหรับผู้บริโภค
        • ข้อมูลสำหรับผู้ประกอบการ
        • คู่มือ / สื่อเผยแพร่
        • คำถามที่พบบ่อย
        ข่าวสารประชาสัมพันธ์
        • ข่าวสารการบริการ
        • ข่าวสารด้านกฎหมายอาหาร
        • ข่าวสารแจ้งเตือนผู้บริโภค
        • การอบรม / สัมมนา
        • รับสมัครงาน
        • ปฏิทินกิจกรรม
        เกี่ยวกับกองอาหาร
        • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
        • โครงสร้างหน่วยงาน
        สำหรับเจ้าหน้าที่
        • ความรู้ที่จำเป็นสำหรับพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ. อาหาร
        • ระบบ e-saraban
        • จองห้องประชุม

        ผู้ชมเว็บไซต์ :

        rss image ipv6 image w3c html image w3c css image
        • แบบสำรวจการให้บริการด้านข้อมูลเว็บไซต์
        • แบบสำรวจความพีงพอใจต่อเว็บไซต์
        Copyright 2020 | สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

        no-popup